การผลิตและการจำหน่าย
- การผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ (ISIC 1711) ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.73 เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 5.48 ดัชนีส่งสินค้าลดลงร้อยละ 5.45
- การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งหรือโครเชท์ (ISIC 1730) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10 ดัชนีส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.38 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 22.37 ดัชนีส่งสินค้าลดลงร้อยละ 16.81
- การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์ (ISIC 1810)เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 1.30 ดันชีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.25 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 9.49ดัชนีส่งสินค้าลดลงร้อยละ 4.85
การตลาด
การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 1,829.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 16.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เครื่องนุ่งห่ม ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 762.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 14.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 889.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกในปีนี้ชะลอตัว โดยเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดร้อยละ 86.75 ของการส่งออกเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 576.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 17.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกในปีนี้ชะลอตัว โดยผ้าผืนมีมูลค่าการส่งออก 366.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.55 และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์มีมูลค่าการส่งออก 210.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.45
3. เคหะสิ่งทอ ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 78.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
4. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 192.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 21.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย มีดังนี้
อาเซียน ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 373.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.39 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ สิ่งทออื่นๆ และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 266.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 29.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.55 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นเครื่องนุ่งห่ม ผ้าผืน และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น
สหรัฐอเมริกา ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 321.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 14.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.55 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเครื่องนุ่งห่ม เคหะสิ่งทอ สิ่งทออื่นๆ และเส้นใยประดิษฐ์ ตามลำดับ
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 177.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 13.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.71 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเครื่องนุ่งห่ม สิ่งทออื่นๆ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และผ้าผืน เป็นต้น
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยใช้ในการทอ ด้ายทอผ้า ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสิ่งทอ และ กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยมี
รายละเอียดดังนี้
1. กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอ (เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 1,018.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าถึงร้อยละ 87.66 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้ามีดังนี้
1.1 เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 217.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 43.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 26.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และบราซิล สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 29.35, 17.28 และ 14.52 ตามลำดับ
1.2 ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 191.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 27.20, 17.61 และ 12.52 ตามลำดับ
1.3 ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 435.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.32 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 47.74, 13.81และ 7.92 ตามลำดับ
1.4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 97.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนร้อยละ 12.90 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 49.46, 9.96 และ 4.31 ตามลำดับ
2. กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 143.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.34 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมดตลาดนำเข้าหลักในไตรมาสนี้ คือ จีน ตุรกี และเวียดนาม สัดส่วนร้อยละ 58.28, 3.99 และ 3.97ตามลำดับ
3. เครื่องจักรสิ่งทอ มีมูลค่านำเข้า 119.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และไต้หวัน สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 33.63, 16.79 และ 13.51 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
สรุป
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 การผลิตและการจำหน่ายของเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ และผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
ด้านการส่งออกในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 3.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและลดลงร้อยละ 16.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 ผ้าผืนและด้ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 เคหะสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.11 เส้นใยประดิษฐ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85
แนวโน้ม
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการส่งออกในไตรมาส 4 ปี 2555 พิจารณาจากปัจจัยลบ ได้แก่ ราคาฝ้ายในตลาดล่วงหน้าที่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงของการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหภาพยุโรปที่ยังไม่มีความชัดเจนในแก้ไขปัญหา และการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ปัจจัยบวก การจับจ่ายสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในช่วงปลายปีที่เป็นช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น จากปัจจัยลบและปัจจัยบวกที่กล่าวมา คาดว่าปัจจัยลบและปัจจัยบวกจะส่งผลพอๆ กัน ดังนั้นจึงคาดว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 จะทรงตัว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--