ดัชนีอุตฯเดือน พ.ย. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.3 ผลการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 15, 2013 14:12 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ขยายตัวร้อยละ 83.3 ผลอุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวจากนโยบายรถคันแรกของรัฐ ด้านส่งออกขยายตัว
ร้อยละ 37.1 เตือนผู้ประกอบการเฝ้าระวังปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ที่ส่งผลภาพรวมอุตสาหกรรมปี 56

ดร.ณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาพรวมดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index — MPI) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ระดับ 189.11 ขยายตัวจากเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ร้อยละ 83.3 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ได้รับแรงส่งจากโครงการรถคันแรกของภาครัฐ รวมทั้งฐานเปรียบ เทียบที่ต่ำในช่วงปลายปี 2554 ที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกาลดลงร้อย ละ 45.89 ส่วนการผลิตสินค้าในกลุ่มฮาร์ดดิสก์และอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัว ตั้งแต่ต้นปี 2555 เพิ่มสูงขึ้นจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ แต่ระดับการผลิตยัง ไม่กลับสู่ปกติ

ส่วนสถานการณ์การส่งออกอุตสากรรมในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 37.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ขณะที่การ ส่งออกอุตสาหกรรมไม่รวมทองคำแท่ง ขยายตัว 41.8 จากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงปี 2554 ทั้งนี้สินค้าอุตสาหกรรมไทยมีการส่งออกไปยังอาเซียน ร้อยละ 22 จีน ร้อยละ 11 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ร้อยละ 10 ตามลำดับ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า สถานการณ์ภาคอุตสาหกรรมโลก (Global Manufacturing PMI) ประจำ เดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ ระดับ 49.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ที่อยู่ที่ระดับ 48.8 แต่ยังคงต่ำกว่าระดับมาตรฐาน (ระดับ 50.0) ต่อ เนื่องเป็นเดือนที่ 6 ส่วนสถานการณ์ภาพรวมการผลิตโลก กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ และการจ้างงานยังคงหดตัวกว่าระดับ 50.0 แต่ในอัตราที่ชะลอลง

สำหรับแนวโน้มภาพรวมอุตสาหกรรม ในปี 2555 — 2556 มีปัจจัยบวก คือ การบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชน มีแนวโน้มที่จะ ขยายตัว จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของภาครัฐ การเติบโตประเทศเศรษฐกิจใหม่ ภูมิภาคเอเชีย และอาเซียน แรงกดดันด้านราคาน้ำมัน และอัตรา เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ นโยบายรถคันแรก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาพรวมอุตสาหกรรม คือการชะลอ ตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า การฟื้นตัวของบางอุตสาหกรรมอาจจะล่าช้าไปจนถึงสิ้นปี 2555 ต่อเนื่องปี 2556 การแข็งค่าของเงินบาทหลังธนาคาร กลางสหรัฐประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม (QE3) และต้นทุนการผลิตที่จะสูงขึ้นจากการปรับค่าแรง 300 บาท

ทั้งนี้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คาดการณ์ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ปี 2555 โดย GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัว 5.5 — 5.6 และ MPI ขยายตัวร้อยละ 2.5 — 3.0 และในปี 2556 GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัว 4.0 — 5.0 และ MPI ขยายตัวร้อยละ 3.5 — 4.5

นอกจากนี้สศอ. คาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาในปี 2556 ดังนี้

อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมยานยนต์

ปี 2556 คาดว่าจะผลิตรถยนต์ 2,500,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และตลาดส่งออกยัง คงขยายตัวได้ดีและทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยที่วิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปไม่ได้รับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้การเปิดตัวรถยนต์ รุ่นใหม่ โดยเฉพาะรถยนต์อีโคคาร์ ที่จะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และการผลิต เพื่อส่งมอบรถยนต์จากนโยบายรถคันแรก ที่จะมี การผลิตและส่งมอบ ในปี 2556 ประมาณร้อยละ 40 ยอดขอใช้สิทธิ์ทั้งหมด

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

มีอัตราการเติบโตจากการขยายตัวจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งโครงการขนาดใหญ่ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน ที่กระจายตัวตาม ภูมิภาค และส่งออกวัสดุก่อสร้าง อาทิ ปูนซีเมนต์ ได้รับแรงสนับสนุน จากการขยายตัวของภาคก่อสร้างในแต่ละประเทศของกลุ่มอาเซียน

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

การขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยาง มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ รวมถึงกรอบข้อ ตกลง FTA มีส่วนผลักดันให้การส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมเซรามิก

มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจก่อสร้าง ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและ หัวเมืองหลักในแต่ละภูมิภาค มีอัตราการเติบโต เพิ่มขึ้น และผู้บริโภคหันมาใช้เซรามิก ในการปูพื้นบ้านมากขึ้น และตลาดส่งออกยังมีการขยายตัว อาทิ ญี่ปุ่น อาเซียนและจีน เนื่องจากไม่ได้รับผล กระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกมากนัก

อุตสาหกรรมยา

ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมในการหาซื้อยาใช้เองมากขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของร้านขายยาเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการไทยและนักลงทุนต่าง ชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ให้ความสนใจที่จะร่วมทุนไทย เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตและการตลาดยา ในภูมิภาคอาเซียน รองรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

อุตสาหกรรมที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตคงที่

อุตสาหกรรมอาหาร

เป็นสินค้าจำเป็นและมีคุณภาพสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากต้นทุนการผลิต ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยภายใน ประเทศ เช่น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากที่สุด ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากภัยแล้งใน สหรัฐอเมริกาและภูมิภาคอื่นๆ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ความต้องการใช้เหล็กปรับตัวสูงขึ้น จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมก่อสร้าง ตลาดในอาเซียนยังมีความต้อง การใช้เหล็กเป็นจำนวนมาก จากโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการขยายการลงทุนภายในประเทศ ส่วนปัจจัยเสี่ยงคือตลาดเหล็กในประเทศ ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากเหล็กนำเข้าที่มีราคาถูก

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

Semiconductor Industry Association(SIA) ของสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกในปี 2556 จะมีการ ขยายตัวร้อยละ 4.5 ปัจจัยเสี่ยง วิกฤติหนี้ยุโรป ส่งผลกระทบต่อการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย และต้นทุนการดำเนินธุรกิจปรับ ตัวสูงขึ้นกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน อาทิกลุ่มที่โรงงานโดนน้ำท่วมจะมีต้นทุนในด้านของการฟื้นฟูโรงงานและค่าเบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้น การ ปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องไม้

กลุ่มสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างขยายตัวดี แต่ขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ จนไม่สามารถรองรับความต้องการในด้านปริมาณและคุณภาพ ได้จึงต้องเร่งหาแหล่งวัตถุดิบใหม่จากลาว พม่า อินโดนีเซีย และผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปและเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวทำให้ตลาดส่งออก ของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยลดลง

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

ปัญหาหนี้ของสหภาพยุโรป ไม่ได้ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ เนื่องจากตลาดหลักอยู่ในแถบประเทศเอเชียเป็นหลัก และ AEC จะเป็นโอกาสของการขยายตลาดที่ดี เพราะไทยมีศักยภาพของอุตสาหกรรมที่ดีกว่า แต่ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากยอดการใช้กระดาษ ในกลุ่มนี้มีการเติบโตที่ลดลง อันเป็นผลพวงจากสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กเข้ามาแทนที่ 50-60% แล้ว

อุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ

ตลาดที่น่าจับตามอง คือ ญี่ปุ่น กลุ่มตะวันออกกลางอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล และกลุ่มประเทศอาเซียนอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย คาดว่าจะเป็นตลาดแห่งความหวังที่เข้ามาช่วยทดแทนการส่งออกตลาดหลักที่กำลังซบเซา แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ของสหภาพยุโรปและ สหรัฐฯ จะส่งผลต่อกำลังซื้อภายในประเทศลดต่ำลง โดยเฉพาะการจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับ

อุตสาหกรรมที่น่าจับตามองอย่างใกล้ชิด

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ตลาดรองที่ไทยมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีอย่าง อาเซียน ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย พบว่า ตลาดกลุ่มนี้ยังคงให้ภาพตลาดที่มีทิศทางการเติบโต ที่เป็นบวก แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมดังกล่าวกำลังก้าวเข้าสู่ปัญหาเชิงโครงสร้างในการผลิตได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่สูง ในขณะที่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า บังกลาเทศ ศรีลังกา มีความความแข็งแกร่งด้านการผลิตเพิ่มขึ้น จากข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรง งาน/จำนวนแรงงานการได้สิทธิพิเศษทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น GSP และสิทธิพิเศษสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs)

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

สินค้าเครื่องหนังที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย เป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในด้านคุณภาพ และฝีมือการตัดเย็บที่ประณีต แต่ กลุ่มผู้ประกอบการ SME 20-30% ไม่สามารถปรับตัวกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบกับต้นทุนที่เพิ่มโดยเฉพาะจากปัจจัยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/ วัน และการขาดแคลน วัตถุดิบหนังโคและกระบือ เนื่องจากการเลี้ยงโค กระบือของไทยลดน้องลง ทำให้ต้องมีการนำเข้าจากจีน และประเทศเพื่อน บ้าน ซึ่งไม่เพียงพอและคุณภาพวัตถุดิบยังไม่ดีพอ

ดร.ณัฐพล กล่าวถึงการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ที่มีสัดส่วน ต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนรวมสูงที่สุดร้อยละ 19.17 ซึ่งหากปรับค่าแรงขั้นต่ำ จะทำให้สัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 24.44 โดยมี ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.73 รองลงมา คือ อุตสาหกรรมอาหารที่ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 ทั้งนี้แนวทางในการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม คือ การขึ้นราคาสินค้า (หรือคงราคาแต่ลดปริมาณต่อหน่วย) การย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่ค่าแรงถูกกว่า หรือลดการจ้างงาน หากไม่สามารถ แบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ หรือไม่สามารถปรับตัวดังที่กล่าวมาแล้วได้

ทั้งนี้ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน GDP จะลดลงร้อยละ 1.09 จากกรณีฐานอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57 การบริโภคภาคครัวเรือนลดลงร้อยละ 0.79 ส่งผลให้GDP ภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.97 และการจ้างงานรวมลดลงร้อยละ 3.8

ตารางแสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต

       INDEX            ---- 2554-----     ------------------------------------------------  2555   ----------------------------------------------
                         พ.ย.      ธ.ค.      ม.ค.      ก.พ.      มี.ค.     เม.ย.     พ.ค.      มิ.ย.     ก.ค.      ส.ค.      ก.ย.      ต.ค.      พ.ย.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม      103.17   142.86    159.83    172.01    193.29    165.35     189     182.39    178.7    174.42    173.39    173.75    189.11
อัตราการเปลี่ยนแปลง(MOM)%  -19.2     38.5      11.9      7.6       12.4     -14.5     14.3      -3.5       -2       -2.4      -0.6      0.2       8.8
อัตราการเปลี่ยนแปลง(YOY)%  -45.9    -24.3     -14.6      -3.3      -2.6         0        6      -9.6     -5.5      -11.2     -15.9       36      83.3
อัตราการใช้กำลังการผลิต%     41.84    53.42    58.57     62.23      67.2     58.82    68.22      65.81   66.49       65.4     64.16    67.73     68.56

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ