สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2555 และแนวโน้มปี 2556(อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 17, 2013 15:01 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

Highlight

  • ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 265.87 ลดลงร้อยละ 16.51 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงมากถึงร้อยละ 20.11 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52 เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
  • การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 มีมูลค่า 55,610 ล้านเหรียญสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ทำให้การส่งออกมีการขยายตัวมากถึงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีก่อน
  • ในปี 2556 คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น

การผลิต

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 265.87 ลดลงร้อยละ 16.51 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทำให้ในช่วงต้นปี 2555 ต้องหยุดการผลิตหรือชะลอการผลิตออกไป เพราะอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการให้สามารถกลับมาผลิตได้เช่นเดิม โดยสามารถเริ่มกลับมาผลิตได้ในช่วงครึ่งหลังของปีอย่างไรก็ตามบริษัทบางรายได้ปิดกิจการ หรือย้ายบริษัทไปตั้งที่อื่นแทน รวมถึงบริษัทแม่ของบางรายยังไม่มีการเพิ่มยอดการผลิตให้กับฐานการผลิตในไทยเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว

อุตสาหกรรมไฟฟ้าในปี 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 123.71 เพิ่มขึ้น 7.52 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ สายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.12 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากภาวะการก่อสร้างทั้งของเอกชนในโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (บ้าน คอนโดมิเนียม) และภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัว เช่น รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ระบบจำหน่ายไฟฟ้า จึงทำให้ความต้องการใช้สายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รองลงมา คือ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.13 18.40ตามลำดับเมื่อเทียบกับปีก่อน มาจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนในปีนี้ ทำให้ความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 346.56 ลดลงร้อยละ 20.11 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการปรับลดลงในทุกกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดย ในกลุ่ม Monolithic Integrated Curcuits มีการปรับตัวลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 56.12 รองลงมาคือ Semiconductor Devices Transisters และ HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 49.27 20.01ตามลำดับเนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ทำให้ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ซึ่งในช่วงต้นปีอยู่ระหว่างการฟื้นฟูให้สามารถกลับมาผลิตได้นอกจากนี้ บริษัทบางรายปิดกิจการ หรือย้ายการผลิตไปอยู่ที่อื่นแทนทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงความไม่มั่นใจว่าจะประสบอุทกภัยในปีนี้หรือไม่ ทำให้บริษัทแม่โดยเฉพาะกลุ่ม HDDชะลอการผลิตในประเทศไทย แต่ไปเพิ่มยอดการผลิตฐานการผลิตในประเทศอื่นแทน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

การตลาดและการจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ

การจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในปี 2555 มีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 เพราะความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าทำการตลาดร่วมกับเจ้าของโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากขึ้น

การส่งออก

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 มีมูลค่า 55,610 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดส่งออกหลักเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 1613 และ 13 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งหมด ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2555 มีมูลค่า 23,430 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นผลจากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกามีขยายตัวมากถึงร้อยละ 10รองลงมา คือ จีน และญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 3 และ 2 ตามลำดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอ ภาพนิ่งวีดีโออื่นๆ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์ สวิตช์ ปลั๊ก socket)

การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 มีมูลค่า 32,180 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากในปี 2554 ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ทำให้มีฐานการส่งออกค่อนข้างต่ำ ซึ่งในปี 2555 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ และมีบริษัทบางรายปิดกิจการ หรือย้ายกิจการไปอยู่ที่อื่นแทน ทำให้มูลค่าการส่งออกไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนัก เนื่องจากในช่วงต้นปี 2555 ราคา HDD มีการปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก ทำให้มูลค่าการส่งออก HDD ยังขยายตัวได้ถึงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ราคาได้ปรับตัวลงมา ทำให้มูลค่าการส่งออก HDD เริ่มชะลอตัวลงมาด้วย สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ทั้งนี้ ตลาดส่งออกหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีก่อน

การนำเข้า

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 มีมูลค่า 45,583 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดนำเข้าหลักเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จีน อาเซียน และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 22 19 ของมูลค่าการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งหมด ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 4)การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2555 มีมูลค่า 19,759 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ9.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์ สวิตช์ ปลั๊กsocket) 2) เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ภาพ (Thumb Drive Smart Card) และ 3) ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไปการนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 มีมูลค่า 25,875 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2555

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 โดยภาพรวมอยู่ในช่วงของการปรับปรุงกิจการหลังจากประสบอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ทำให้การผลิตและการส่งออกอยู่ในภาวะชะลอตัว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงโดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าได้รับผลดีจากปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศในการกระตุ้นให้การจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศมีการขยายตัวได้เมื่อเทียบกับปี 2554

แนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2556

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2556 คาดว่าจะมีการขยายตัวร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยมาจากความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การส่งออกอยู่ในภาวะชะลอตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง

อุตสาหกรรมรถยนต์ใน 10 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ที่แล้ว เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน ซึ่งได้แก่ การขยายเวลานโยบายรถยนต์คันแรก การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น และโรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า

  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 (ม.ค.-ต.ค.) มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 148 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 103,868.5ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 20,844 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 19 โครงการ คือ 1) โครงการผลิตคอมเพรสเซอร์สำหรับยานพาหนะ ของบริษัท เอ็มเอชไอ ออโตโมทีฟ ไคลเมท คอนโทรล (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,309.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 192 คน 2) โครงการผลิตโคมไฟสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ไทยสแตนเลย์ การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) เงินลงทุน 2,504.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 324 คน 3) โครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เบาะรถยนต์ แผงบังแดด แผ่นฉนวนกันความร้อนและเสียง ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานพาหนะ ของบริษัท ซัมมิท โอโต ซีท อินอัสตรี จำกัด เงินลงทุน 1,067.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 413 คน และ 4) โครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น Torque Converter Assy, Pack Assy และ Plate Driven ของบริษัท เอ็กเซดี้ (ประเทศไทย) จำกัดเงินลงทุน 1,891.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 248 คน 5) โครงการผลิตท่อไอเสียและชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ ของบริษัท วาย เอส ภัณฑ์ จำกัด เงินลงทุน 4,000.00 ล้าน บาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,339 คน 6) โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะเช่น CVT HOUSING, CYLINDER BLOCK และ TRANSMISSION CASE เป็นต้น ของบริษัทเรียวบิ ได คาสติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 3,014.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 268 คน 7) โครงการผลิตชิ้นส่วนสำหรับยานพาหนะ เช่น Subframe Lower & Upper Arm, Axle Beam และ Arm Trailing เป็นต้น ของบริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,179.10 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 442 คน 8) โครงการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล, Eco car และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดเงินลงทุน 14,000.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 1,521 คน 9) โครงการผลิตโคมไฟรถยนต์และกระจกมองข้างรถยนต์ ของบริษัท อิจิโกห์ อินดัสตรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,400.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 390 คน 10) โครงการผลิตเครื่องยนต์แก๊สโซลีน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ของ บริษัท สยามโตโยต้า อุตสาหกรรม จำกัด เงินลงทุน 6,962.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 469 คน 11) โครงการผลิตยางเรเดียล off The Road Radial Tire ของ บริษัท บริดจสโตน สเปเชียลตี้ ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 20,568.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 683 คน 12) โครงการผลิตปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงสำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ของ บริษัท สยาม เด็นโซ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เงินลงทุน 2,665.40 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 797 คน 13) โครงการผลิตเพลาขับเคลื่อน ของบริษัท เอ็นทีเอ็น แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,128.10 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 81 คน 14) โครงการผลิต Agricultural Tire, Solid Tire Rubber Track ของ บริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 3,960.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 512 คน15) โครงการผลิตหม้อน้ำรถยนต์ และชิ้นส่วนหม้อน้ำรถยนต์ เช่น Core, Ture, Tank และ Blowerของ บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,147.70 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน190 คน 16) โครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานพาหนะ เบาะรถยนต์แผงบังแดด แผ่นกันร้อนและกันเสียง ของ บริษัท ซัมมิท โอโตซีท อินดัสตรี จำกัด เงินลงทุน 2,224.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 1,110 คน 17) โครงการผลิตชิ้นส่วนปั๊มขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะ ของ บริษัท โตโยโตมิ ออโต้ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 2,217.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 260 คน 18) โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะ ของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,663 ล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 56 คน และ 19) โครงการผลิตเพลาข้อเหวี่ยง ก้านสูบ และเพลาลูกเบี้ยว ของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 2,280.40 ล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 180 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555(ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 1,975,789 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.03 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งจำนวน 747,487 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน จำนวน 1,193,397 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ จำนวน 34,899 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.35, 44.92และ 101.01 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก840,149 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.52 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็น การผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อการส่งออกร้อยละ 75.00 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 25.00 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซี.ซี. ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 1,134,502 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.92 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.08, 61.02, 37.84 และ 63.45 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี2555 (ม.ค.-ต.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 840,149 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.00 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 402,787 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกปี 2554 ร้อยละ 24.55

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่า111,984.60 ล้านบาท ตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 32.31, 18.12 และ11.17 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.88 และ 5.73 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 24.98 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่า 15,478.79 ล้านบาท ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 85.05 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่า 267,160.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 996.21 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุกได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ23.80, 10.79 และ 5.07 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลียซาอุดิอาระเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2,237.97, 326.91 และ305.30 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรก 2555 (ม.ค.-ต.ค.)มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 37,016.99 และ 24,285.52 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรก 2554 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.24 และ 32.45 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนีคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.17, 30.56 และ 17.12 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 232.66 และ 140.58 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนีลดลงร้อยละ 8.72 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในช่วง 10เดือนแรก ของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 55.34, 12.64 และ 8.29 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.76 และ 451.24 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากเกาหลีใต้ ลดลง ร้อยละ 5.21 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ใน 10 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.03 เนื่องจากมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรถยนต์คันแรกและการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณการว่า ในปี 2555 คาดว่าการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,400,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 45-50 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์มีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าภายในประเทศเป็นหลักประกอบกับจะสิ้นสุดระยะเวลาการจองและยื่นเอกสารการขอใช้สิทธิ์สำหรับนโยบายรถยนต์คันแรก

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 2,226,162 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.78 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 2,010,984 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 215,178 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.27 และ 36.08 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยใน 10 เดือนแรกของปี 2555 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 1,811,394 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.11 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 838,910 คัน ลดลงร้อยละ 1.79 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 901,236 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.71 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 71,248 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.04

การส่งออก จากข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555(ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 689,381 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 263,489 คัน และ CKD จำนวน425,892 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกปี 2554 ลดลง ร้อยละ 29.24 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) มีมูลค่า 24,152.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 7.81

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่า 25,082.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 53.47 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.93, 12.76 และ 12.58 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.47, 31.41 และ 21.16 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555(ม.ค.-ต.ค.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 2,983.27 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง10 เดือนแรกปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 191.74 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555 ได้แก่ เวียดนาม และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 36.29 และ 14.31ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เวียดนาม และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 395.00 และ6,512.56 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 การผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ต้องการเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับมีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ประมาณการอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ของปี 2555คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในปี 2555 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 2,436,718 คันแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 10-15

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 ( ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 141,589.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554 ร้อยละ 20.88 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 23,290.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554 ร้อยละ 3.46 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 16,924.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกของ ปี 2554 ร้อยละ 28.12

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 179,770.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 28.20ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.40, 13.62 และ 10.66 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.66, 27.38และ 37.59 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2555 (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 8,953.19 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกปี 2554 ลดลงร้อยละ 20.47 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 630.37 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 19,494.40 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 13.86 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.00, 12.39 และ 11.51 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.24 แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนาม และ อินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 42.47 และ 29.92 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 240,855.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 45.79 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ59.63, 7.02 และ 4.53 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น จีนและอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.06, 92.96 และ 47.46 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 14,196.62 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.92 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 39.72, 16.33 และ 11.28 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากอินโดนีเซีย จีน และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.5819.04 และ 3.42 ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

  • เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงประเภทของหน่วยงานราชการที่ได้รับการยกเว้นภาษีประจำปีและนิรโทษกรรมภาษีประจำปีที่ค้างชำระของหน่วยงานราชการ) และร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงประเภทของหน่วยงานราชการที่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีประจำปีและนิรโทษกรรมค่าธรรมเนียมและภาษีประจำปีค้างชำระของหน่วยงานราชการ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigov.go.th)
  • เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงน้ำหนักของรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล) และร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดน้ำหนักรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.thaigov.go.th)
  • เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการงดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้ว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง คือ กำหนดให้งดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้วในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นทุกจังหวัด ดังนี้ 1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 12คน 3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 4. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigov.go.th)
  • เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ตัวถังของรถยนต์นั่งที่ใช้แล้วและโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้ว เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศ เป็นการกำหนดให้ตัวถังรถยนต์นั่งที่ใช้แล้วและโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรแต่มิให้ใช้บังคับในกรณีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเข้ามาเพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตหรือการศึกษาวิจัยในปริมาณ เท่าที่จำเป็น (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigov.go.th)
  • เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้

1) ให้ใช้บังคับร่างพระราชกฤษฎีกานี้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2) ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 และกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 2540-2554

  • เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้

1) ให้ใช้บังคับร่างพระราชกฤษฎีกานี้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2) ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 และกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.2550-2554

  • เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขยายเวลาการรับและส่งมอบรถยนต์รวมถึงเอกสารหลักฐานของราชการออกไปสำหรับโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

1) ผู้ขอใช้สิทธิในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกต้องทำการซื้อหรือจองรถยนต์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และต้องยื่นคำขอใช้สิทธิฯ และเอกสารประกอบการใช้สิทธิฯภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555

2) เนื่องจากในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ผู้ขอใช้สิทธิในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกอาจจะยังไม่ได้รับมอบรถยนต์หรือจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกไม่ทันตามกำหนดเวลาส่งผลให้ไม่สามารถยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ได้ภายในวันสิ้นสุดโครงการฯ (วันที่ 31 ธันวาคม2555) จึงผ่อนผันให้ผู้ขอใช้สิทธิฯ นำเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมมายื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา ภายในระยะเวลา 90 วันนับจากวันถัดจากวันรับมอบรถยนต์

3) หากผู้ขอใช้สิทธิในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกไม่ดำเนินการตามข้อ 1) และไม่นำเอาเอกสารเพิ่มเติมในข้อ 2) มายื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขอใช้สิทธิฯ ไม่ประสงค์จะขอรับเงินคืนตามโครงการฯ และจะเรียกร้องสิทธิฯ และค่าเสียหายใด ๆ กับทางราชการไม่ได้ ทั้งนี้ ให้กรมสรรพ สามิตสามารถกำหนดแนวปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไปได้

4) ผู้ขอใช้สิทธิในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกจะได้รับเงินคืนหลังจากครอบครองรถยนต์ใหม่คันแรกไปแล้ว 1 ปี ทั้งนี้ ชื่อผู้ซื้อที่ระบุในใบจองรถยนต์ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 จะต้องเป็นชื่อบุคคลเดียวกันกับผู้ซื้อรถยนต์ที่ยื่นขอใช้สิทธิฯดังกล่าวเท่านั้น (www.cabinet.thaigov.go.th)

  • เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้เห็นชอบด้วย และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ดังนี้

1) ร่างกฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

2) ปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตและการอนุญาตให้ส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ