สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมกราคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 20, 2013 14:49 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 176.23 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.4 โดยยังคงได้รับอานิสงค์จากฐานที่ต่ำในเดือนธันวาคม 2554 ที่ภาคอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัวจากอุทกภัย ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4/55 ขยายตัวร้อยละ 44.0 และภาพรวมทั้งปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.5 สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่สี่ ซึ่งได้รับอานิสงค์จากฐานที่ต่ำเช่นกัน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 22.82 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 23.69 ทำให้ทั้งปี 2555 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.86 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 5.60

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) หรือ MPI เดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 176.23 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.4 โดยยังคงได้รับอานิสงค์จากฐานที่ต่ำในเดือนธันวาคม 2554 ที่ภาคอุตสาหกรรมเพิ่งเริ่มฟื้นตัวจากอุทกภัย ส่งผลให้ไตรมาสที่4/55 ขยายตัวร้อยละ 44.0 และภาพรวมทั้งปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.5

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนธันวาคม2555 อยู่ที่ร้อยละ 63.76 จากร้อยละ 68.95 ในเดือนพฤศจิกายน 2555 และร้อยละ 53.42 ในเดือนธันวาคม 2554

เมื่อพิจารณาในด้าน ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่สี่ ซึ่งได้รับอานิสงค์จากฐานที่ต่ำเช่นกัน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 22.82 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 23.69 ทำให้ทั้งปี 2555 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.86 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 5.60

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(ธันวาคม 2555)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนธันวาคม 2555 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.3 กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 20.1 และ7.6 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อชะลอตัวลงจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจประเทศผู้นำ เข้า เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ประกอบกับเกิดโรคระบาดในแหล่งผลิตกุ้ง ทำให้ปริมาณวัตถุดิบลดลง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน และผ้าลูกไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1, 10.0 และ 8.7 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากไทยในตลาดอาเซียนยังมีอยู่มาก ซึ่งจะเป็นโอกาสให้การผลิตเพิ่มสูงขึ้น สำ หรับการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ลดลงร้อยละ 10.0 และ 10.6 ตามลำ ดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.78 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.06 เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.01 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB)โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนธันวาคม 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เหล็กแท่งแบน เหล็กแผ่นรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งเล็ก Billet เหล็กเส้น โดยจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นจะเป็นในส่วนของเหล็กทรงแบน แต่ในส่วนของเหล็กทรงยาวจะมีราคาที่ลดลง

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำนวน 221,353 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งมีการผลิต 99,426 คัน ร้อยละ 122.63 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2555 ร้อยละ 13.73 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออก มีจำนวน จำนวน 86,297 คันเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 35,046 คัน ร้อยละ 146.24 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบ เอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.11เนื่องจากฐานการผลิตในเดือนธันวาคมอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.38 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มในทุกกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (ยกเว้น Printer ที่ปรับตัวลดลง) เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยทำให้ฐานการผลิตในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ในระดับต่ำ สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.67

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ