สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 ปี 2555 (ตุลาคม — ธันวาคม 2555)(เศรษฐกิจไทย)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 28, 2013 13:47 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 คือ การหดตัวของอุปสงค์ระหว่างประเทศ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศโดยรวมยังขยายตัว ซึ่งประกอบด้วย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน เป็นการขยายตัวจากการบริโภคสินค้าคงทน โดยเฉพาะสินค้าหมวดยานยนต์ รวมทั้งหมวดสินค้าไม่คงทน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม น้ำประปา ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ยารักษาโรค การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวดีขึ้น ส่วนดุลการค้าและบริการเกินดุลเทียบกับที่ขาดดุลในไตรมาสที่แล้ว

ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 หดตัวร้อยละ 1.1 หดตัวจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 และหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 เป็นผลจากอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ในขณะที่การผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศยังขยายตัว

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 สำหรับการประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก

สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 พบว่า บางตัวมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554 เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต โดยอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เบียร์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ส่วนมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 (ม.ค.-ธ.ค.55) เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นไตรมาสเดียวกันของปี 2554

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) (ตารางที่ 1)ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 179.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (175.5) ร้อยละ 2.2 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (124.6) ร้อยละ 44.0เนื่องจากฐานที่ต่ำในปี 2554 ที่เกิดเหตุอุทกภัย

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ เบียร์ ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำตาล เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เบียร์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ในปี 2555 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 177.2 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 (172.9) ร้อยละ 2.5 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ เบียร์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 204.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (201.5) ร้อยละ 1.3 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (130.5) ร้อยละ 56.5

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องดื่มที่ไม่มี แอลกอฮอล์ เบียร์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Hard Disk Drive เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น

ในปี 2555 ดัชนีการส่งสินค้ามีค่า 196.5 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 (176.9) ร้อยละ 11.1 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เบียร์ เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 4ของปี 2555 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 187.9 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (184.5) ร้อยละ 1.8 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (168.5) ร้อยละ 11.5

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ เบียร์ แป้งมัน กลูโคส อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง Hard Disk Drive แป้งมัน กลูโคส เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ในปี 2555 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังมีค่า 185.9 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 (183.4) ร้อยละ 1.4 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ Hard Disk Drive เบียร์ ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ใช้ในงานอุตสาหกรรม ผลไม้และผักแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตเต็มที่ (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 4 ของปี2555 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 67.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ66.1) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (ร้อยละ 47.2)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ โทรทัศน์สี ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เบียร์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สี Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

ในปี 2555 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 65.2 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 (ร้อยละ58.7) โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สีผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์เลนส์ชนิดต่างๆ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเฉลี่ยรวมมีค่า 79.0เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา(77.5) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (72.1) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 4 ของปี2555 ทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554 นอกจากนี้

เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเป็นรายเดือน จะเห็นว่า ดัชนีในเดือนธันวาคม2555 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2555 ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.8 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.7 ส่วนในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.6 เช่นเดิม อันเป็นผลมาจากแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่เป็นการใช้จ่ายของภาคเอกชนตามนโยบายบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่มีผลกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ภาคเอกชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ยังจะมีการลงทุนเพิ่มเติม โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์และการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ รวมทั้งระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังอยู่ในระดับทรงตัวในระดับเดิมเช่นเดียวกับเดือนที่ผ่านมา การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 เป็นการเพิ่มรายได้และสร้างกำลังซื้อของประชาชนที่มีรายได้น้อย และการใช้จ่ายของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละดัชนี พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีค่า 69.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (67.9) แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากยังคงมีปัจจัยหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวล

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีค่า 70.9เพิ่มขึ้นจากไตรมาสผ่านมา (69.2) แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวการณ์จ้างงานโดยรวมยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ

ดัชนีความเชื่อมั่นในผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีค่า 96.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (95.3) แต่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตน แต่ระดับความมั่นยังคงสูงกว่าความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมและโอกาสหางานทำ

จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3)พบว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีค่าเท่ากับ 51.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (50.6) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (41.4) โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ดัชนีโดยรวมมีค่าสูงกว่า 50 แสดงว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจดี ผู้ประกอบการมองว่าภาวการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มที่ดี สำหรับดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554 คือผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุนของบริษัท และการผลิตของบริษัท

ในปี 2555 ดัชนีโดยรวมมีค่า 51.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีค่า 48.9 โดยดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากปี 2554 คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุนของบริษัท และการผลิตของบริษัท

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)

จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี2555 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 95.7 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.1) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (90.1) การที่ค่าดัชนียังอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอยู่ในระดับที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นเป็นรายเดือน จะเห็นว่าดัชนีในเดือนธันวาคม 2555 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 98.8 จากเดือนพฤศจิกายน 2555(95.2) โดยค่าดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น เกิดจากความต้องการสินค้าและบริการเป็นแรงขับเคลื่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ประกอบกับในเดือนธันวาคมมีกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าหลายรายการ โดยเฉพาะงานมหกรรมยานยนต์ (Motor Expo)และเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ขณะที่ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวดีสะท้อนดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนียังอยู่ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอยู่ในระดับที่ไม่ดี ทั้งนี้ผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่ ขอให้จัดงานแสดงสินค้าเพื่อสนับสนุนสินค้าของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชะลอการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) และราคาก๊าซ LPG เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านราคาพลังงานอย่างยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรม ชดเชยส่วนค่าจ้างแรงงาน 300 บามต่อวันเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้เป็นระยะเวลา 2 ปี ช่วยสนับสนุนหาแหล่งตลาดใหม่ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อทดแทนตลาดหลักที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ในปี 2555 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 99.5 ลดลงจากปี 2554 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 101.2

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 137.5 หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 137.7 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมันดิบ มูลค่าการส่งออก ณ ราคาคงที่

สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีค่าเฉลี่ย 137.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 136.9 และดัชนีในปี 2555 มีค่าเฉลี่ย 135.4 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีค่าเฉลี่ย 129.3

ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ

ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI)จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 124.8 หดตัวร้อยละ 1.5จากเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 126.7 ตามการลดลงของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์

สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีค่าเฉลี่ย 125.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่าเฉลี่ย 124.7 และดัชนีในปี 2555 มีค่าเฉลี่ย 124.8 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีค่า 120.1การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 5) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีค่า 146.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (146.1) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (136.0) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายหมวดเครื่องดื่ม และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง

ในปี 2555 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554 ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายหมวดเครื่องดื่ม และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์

การลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ พบว่า ไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมมีค่า 236.1 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา (236.7) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (192.0)

หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554

การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554

ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ (ณ ขณะจัดทำรายงานฉบับนี้ข้อมูลล่าสุดมีถึงเดือนพฤศจิกายน 2555 เท่านั้น) โดยเดือนพฤศจิกายน 2555ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่มีจำนวน 70,179.08ล้านบาท

ในปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ตามการเพิ่มขึ้นของปัจจัยหลักทั้ง 4 ประการข้างต้น

ภาวะราคาสินค้า

จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าเท่ากับ 116.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (116.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (113.1) การที่ราคาผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ปลาและสัตว์น้ำ ผักและผลไม้ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาไฟฟ้า เชื้อเพลิงในบ้าน น้ำประปา กลุ่มอาหารและพลังงาน

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีค่าเท่ากับ 139.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (138.6) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (138.3) โดยราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554 สำหรับราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2554

ในปี 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่า 115.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีค่า 112.1 สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตในปี 2555 มีค่า 139.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีค่า 137.9

แรงงานในภาคอุตสาหกรรม

จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 (ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 40.17 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 39.97 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.50 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.157 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.39)

สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่สี่ของปี 2555 มีจำนวน 5.409 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 13.53 ของผู้มีงานทำทั้งหมด

การค้าต่างประเทศ

การค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมูลค่าการส่งออกยังคงลดลงจากไตรมาสที่ 3 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจากฐานต่ำในปีก่อน สำหรับการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 นี้ ดุลการค้าขาดดุล 6,288.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สถานการณ์การค้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 การส่งออกมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2555 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักชะลอตัว โดยในไตรมาสที่ 4การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 120,652.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 57,181.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 63,470.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 นั้นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 4.83 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.87 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ดุลการค้าขาดดุล 6,288.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.47 จากฐานต่ำในปีก่อนที่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้น ส่วนมูลค่าการนำเข้านั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.44

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่าการส่งออกทั้ง 3 เดือนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการส่งออก 19,524.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.57เดือนพฤศจิกายน 2555 มีมูลค่า 19,555.9ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.86และในเดือนธันวาคมมีมูลค่าการส่งออก 18,101.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ13.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม43,194.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ75.54) สินค้าเกษตรกรรม 6,125.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 10.71) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 4,115.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.20) และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง 3,745.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.55) รูปที่ 2: สัดส่วนการส่งออกแยกตามหมวดสินค้า

เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะพบว่าการส่งออกของหมวดสินค้าหลักมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งหมดยกเว้นสินค้าเกษตรกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.97 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.95 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง และสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.39 และ 1.98 ตามลำดับ

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม 10 รายการหลัก ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 7,821.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.11) ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ 7,818.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.10) เครื่องใช้ไฟฟ้า 5,571.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 12.90) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 2,523.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.84) อัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าการส่งออก 2,216.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.13) เคมีภัณฑ์ 2,139.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.95)ผลิตภัณฑ์ยาง 2,129.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.93) เม็ดพลาสติก 2,124.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.92) สิ่งทอ 1,810.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.19) และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง 1,603.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.71) โดยมูลค่าการส่งออกทั้ง 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 35,758.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 82.78 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด

-ตลาดส่งออก

การส่งออกไปยังตลาดหลักในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ซึ่งได้แก่ อาเซียน(9 ประเทศ) จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ66.17 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกตลาดสำคัญทั้งหมดเพิ่มขึ้นโดยการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.22 สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.34 สหภาพยุโรปมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.02 ประเทศจีนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ9.91 และการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.99

-โครงสร้างการนำเข้า

การนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี2555 เป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำ เร็จรูปมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าการนำ เข้า 23,002.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 36.24) รองลงมาเป็นการนำเข้าสินค้าทุน โดยมีมูลค่า 18,716.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 29.49) สินค้าเชื้อเพลิง 11,123.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 17.52) สินค้าอุปโภคบริโภค 5,848.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.21) สินค้าหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง 4,610.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(คิดเป็นร้อยละ 7.26) และสินค้าอาวุธยุทธปัจจัยและสินค้าอื่นๆ 168.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.27) ตามลำดับ

โดยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 97.92 หมวดสินค้ายานพาหนะ และอุปกรณ์ขนส่ง มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.65 หมวดสินค้าทุนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.70 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคและหมวดสินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.38 และ 4.69 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าลดลงเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 0.74

  • แหล่งนำเข้า

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 แหล่งนำ เข้าที่สำ คัญได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน (9ประเทศ) สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 51.68 เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการนำเข้าสินค้าจากทุกแหล่งนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้าจากสหภาพยุโรปมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.31ญี่ปุ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.01 กลุ่มประเทศอาเซียน และสหรัฐอเมริกามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.09 และ 2.01 ตามลำดับ

-การลงทุนจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนมีมูลค่ารวม 77,130.15 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนตุลาคมมีมูลค่า 47,407.36 ล้านบาทสำหรับเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 29,722.79 ล้านบาท เมื่อพิจารณาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้ง 2 เดือนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 นั้นพบว่ามูลค่าการลงทุนในเดือนตุลาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 19,791.12 ล้านบาท และในเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 13,251.49 ล้านบาท โดยการลงทุนรวมในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนของสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าการลงทุนลดลงร้อยละ 2.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุดเป็นเงินลงทุน 33,042.61 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์มากที่สุดซึ่งมีมูลค่าลงทุนสุทธิ 7,431.74 ล้านบาท รองลงมาคือการผลิตอาหารซึ่งมีเงินลงทุนเป็นจำนวน 3,779.12 ล้านบาท การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นจำนวน 3,479.88 ล้านบาท และการผลิตเครื่องจักรและเครื่องมือ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นซึ่งมีเงินลงทุน 3,352.19 ล้านบาท

ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2555 คือประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีเงินลงทุนสุทธิ 25,921.59 ล้านบาท รองลงมาคือประเทศสิงคโปร์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์โดยมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 18,239.23 ล้านบาท และ 8,466.45 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 616 โครงการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนโครงการ 478 โครงการ โดยในไตรมาสที่ 4 นี้การลงทุนในกิจการต่างๆ มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 283,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากในปีก่อนเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรม โดยโครงการลงทุนในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ประกอบด้วยโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 289 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 103,000 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 155 โครงการ เป็นเงินลงทุน 103,600 ล้านบาท และโครงการที่ลงทุนจากไทย 100% จำนวน 172 โครงการ เป็นเงินลงทุน 77,100 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาตามหมวดของการเข้ามาลงทุนในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 116,800 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีเงินลงทุน 67,900 ล้านบาท และหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีเงินลงทุน 40,300 ล้านบาท

สำหรับแหล่งทุนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าการลงทุนมากที่สุด โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 228 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 99,535 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศออสเตรเลียได้รับการอนุมัติลงทุนจำนวน 9โครงการ มีเงินลงทุน 12,054 ล้านบาท ประเทศไต้หวันมีจำนวน 13 โครงการที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งมีเงินลงทุน 7,511 ล้านบาท และประเทศเนเธอร์แลนด์มีจำนวนโครงการได้รับอนุมัติ 9 โครงการโดยคิดเป็นเงินลงทุน 5,544 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ