สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 ปี 2555 (ตุลาคม — ธันวาคม 2555)(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 28, 2013 14:15 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 มีประมาณ 1,641,054 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.11 สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.88 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.12 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.57 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ ในขณะที่เหล็กแผ่นรีดร้อน กลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 7.70 เนื่องจากภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงมากจากการนำเข้าสินค้าที่ราคาถูกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งที่ผ่านมาสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจีนชะลอตัวและถึงแม้ว่าราคาเหล็กจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อน แต่ทิศทางยังคงไม่ชัดเจน ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของจีนที่ชะลอตัวลง จึงทำให้จีนส่งสินค้าเข้ามายังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยนั้นทำให้ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ในประเทศบางรายประสบกับปัญหาสภาพคล่องและการเพิ่มทุนและหยุดการผลิตลงทำให้ระดับการผลิตภายในประเทศลดลงและเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่าการผลิตโดยรวมทรงตัว ร้อยละ 0.24 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.55 แต่เหล็กทรงแบนกลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 4.54 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 11.64 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 8.15

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2555 มีประมาณ 6,720,605 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 3.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 21.46 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 1.15 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 9.91 เนื่องจากยังคงมีการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้นำเข้าเหล็กกล้าเจือจะใช้ช่องทางภาษีด้วยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีลักษณะของการนำไปใช้งานที่เหมือนกับกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอน โดยระบุว่าเป็นกลุ่มเหล็กกล้าเจือซึ่งจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าจากเดิมที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5%ซึ่งที่ผ่านมาการนำเข้าลักษณะเช่นนี้มีอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2553 ส่งผลให้ผู้ผลิตไทยต้องลดการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนลง แต่เหล็กทรงยาวกลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.01 เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมาโดยจะเห็นได้จากข้อมูลเครื่องชี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ส่งสัญญาณดีขึ้น เช่น จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ข้อมูลการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย การขออนุญาตจดทะเบียนอพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมรวมทั้งยอดขายปูนซีเมนต์ที่เพิ่มมากขึ้น

ความต้องการใช้ในประเทศ

ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 มีประมาณ 4,576,010 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็นเหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.94 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการขยายการผลิตเนื่องจากมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ซึ่งถึงแม้จะสิ้นสุดระยะเวลาแล้วแต่ก็ยังมีรถยนต์ที่ยังรอการส่งมอบอีก สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.99 เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมของเอกชน

ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในปี 2555 มีประมาณ 16,614,415 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.07 ซึ่งความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากการนำเข้าเหล็กชนิดพิเศษเพื่อใช้สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มียอดการผลิตที่ทำสถิติใหม่ เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.58

การนำเข้า- การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 มีจำนวนประมาณ 80,501 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.89 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.49 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(HDG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.36เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม(CR Stainless Steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.91 ประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุดคือ ญี่ปุ่น จีน โดยเหล็กที่นำเข้ามามีมูลค่ามากในช่วงนี้เป็นเหล็กชนิดคุณภาพพิเศษซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ แต่เหล็กทรงยาวมีมูลค่าการนำเข้าลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.39 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 6.96 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 18.21 เหล็กทรงยาวลดลง ร้อยละ 1.76 เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 0.41 โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก(Tin Plate) ลดลงร้อยละ 30.18 ท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) ลดลง ร้อยละ 28.33

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2555 มีจำนวนประมาณ 320,749 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.04 เหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.93 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O)เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.77 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(HDG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.66 สำหรับเหล็กทรงยาวมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.25 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.19

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 มีจำนวนประมาณ 7,812 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 15.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 23.23 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลง ร้อยละ 81.82 เหล็กแผ่นหนา(HR plate) ลดลง ร้อยละ 81.40 สำหรับเหล็กทรงยาวลดลง ร้อยละ 6.21 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 47.02 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 20.41 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออก ลดลง ร้อยละ 19.48 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 22.88 โดยเหล็กแผน่ รีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลง ร้อยละ 95.92 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin Plate) ลดลง ร้อยละ 67.86 ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ (Pipe-Seamless) ลดลง ร้อยละ 47.91 สำหรับเหล็กทรงยาว มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 17.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L))ลดลง ร้อยละ 33.52

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2555 มีจำนวนประมาณ 37,304 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 8.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 70.30 เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 9.97 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 51.23 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 11.89 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 4.96 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) ลดลง ร้อยละ 82.86 เหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) ลดลง ร้อยละ 56.29

2. สรุป

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 มีประมาณ 1,641,054 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.11 สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.88 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.12 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.57เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ ในขณะที่เหล็กแผ่นรีดร้อน กลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 7.70 เนื่องจากภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงมากจากการนำเข้าสินค้าที่ราคาถูกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งที่ผ่านมาสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจีนชะลอตัวและถึงแม้ว่าราคาเหล็กจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อน แต่ทิศทางยังคงไม่ชัดเจน ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของจีนที่ชะลอตัวลงนั้น จึงทำให้จีนส่งสินค้าเข้ามายังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยนั้นทำให้ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ในประเทศบางรายประสบกับปัญหาสภาพคล่องและการเพิ่มทุน และหยุดการผลิตลงทำให้ระดับการผลิตภายในประเทศลดลง สำหรับปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 มีประมาณ 4,576,010 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.94 เนื่องจากเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการขยายการผลิตเนื่องจากมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ซึ่งถึงแม้จะสิ้นสุดระยะเวลาแล้วแต่ก็ยังมีรถยนต์ที่ยังรอการส่งมอบอีก สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.99 เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สำหรบมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 มีจำนวนประมาณ 80,501 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.89 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.49 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(HDG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.36 เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม(CR Stainless Steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.91 มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4ปี 2555 มีจำนวนประมาณ 7,812 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 15.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 23.23 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลง ร้อยละ 81.82 เหล็กแผ่นหนา(HR plate) ลดลง ร้อยละ 81.40 เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 6.21 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 47.02เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 20.41

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2555 มีประมาณ 6,720,605 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 3.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 21.46 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 1.15 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 9.91 เนื่องจากยังคงมีการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้นำเข้าเหล็กกล้าเจือจะใช้ช่องทางภาษีด้วยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีลักษณะของการนำไปใช้งานที่เหมือนกับกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอน โดยระบุว่าเป็นกลุ่มเหล็กกล้าเจือซึ่งจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าจากเดิมที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5%ซึ่งที่ผ่านมาการนำเข้าลักษณะเช่นนี้มีอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2553 ส่งผลให้ผู้ผลิตไทยต้องลดการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนลง สำหรับเหล็กทรงยาวกลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.01 เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมาโดยจะเห็นได้จากข้อมูลเครื่องชี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ส่งสัญญาณดีขึ้น เช่น จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ข้อมูลการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย การขออนุญาตจดทะเบียนอพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมรวมทั้งยอดขายปูนซีเมนต์ที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2555 มีจำนวนประมาณ 320,749 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.04เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.93 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.77 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(HDG)) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.66 สำหรับเหล็กทรงยาวมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.25 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.19 มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2555 มีจำนวนประมาณ 37,304 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 8.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 70.30 เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 9.97 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 51.23 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน(HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 11.89 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 4.96 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) ลดลง ร้อยละ 82.86 เหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) ลดลง ร้อยละ 56.29

มาตรการของภาครัฐ

1.กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศเปิดการไต่สวนการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่เพิ่มขึ้น พ.ศ.2555 โดยประกาศ ณ วันที่22 พฤศจิกายน 2555

2. กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประกาศเปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กลวดคาร์บอนสูงรวมถึงเหล็กลวดคาร์บอนสูงที่เจือธาตุอื่นที่แหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องจากบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตในประเทศ ได้ยื่นคำขอให้พิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดในสินค้าดังกล่าว โดยประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555

3.คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนได้มีมติให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสีและเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลีและไต้หวัน

3.แนวโน้ม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กปี 2556 คาดการณ์ความต้องการใช้เหล็กปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการขยายการผลิตเนื่องจากมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ซึ่งถึงแม้จะสิ้นสุดระยะเวลาแล้วแต่ก็ยังมีรถยนต์ที่ยังรอการส่งมอบอีก และอุตสาหกรรมก่อสร้างจากการที่โครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ขยายตัวอยู่ สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่ดี สำหรับการกระจายสินค้าไปยังตลาดในภูมิภาคอาเซียน สำหรับการผลิตในประเทศจะเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเป็นหลัก สำหรับปัญหาการขยายตัวของการนำเข้าเหล็กประเภทกลุ่มที่เป็นเหล็กกล้าเจือ (Alloyed product) ที่มีอย่างต่อเนื่องนั้น กรมการค้าต่างประเทศได้ประกาศเปิดการไต่สวนการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่เพิ่มขึ้นพ.ศ.2555 ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มการนำเข้าเหล็กดังกล่าวลดลงและส่งผลให้คำสั่งซื้อของผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยกลับมาผลิตได้ตามเดิม

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ