สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 ปี 2555 (ตุลาคม — ธันวาคม 2555)(อุตสาหกรรมรถยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 28, 2013 14:35 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน ซึ่งได้แก่ นโยบายรถยนต์คันแรก การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้นและโรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มีการเร่งการผลิตเพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า เมื่อพิจารณาไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วขยายตัว และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 ขยายตัวเช่นเดียวกัน
  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 69 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 48,263.30 ล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 11,020 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ คือ 1) โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะ ของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,663 ล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 56 คน 2) โครงการผลิตเพลาข้อเหวี่ยง ก้านสูบ และเพลาลูกเบี้ยว ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 2,280.40 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 180 คน 3) โครงการตามมาตรการส่งเสริมการลทุนเพื่อฟื้นฟูการลงทุนช่วงวิกฤตอุทกภัยผลิตเสื้อสูบเครื่องยนต์, ชิ้นส่วนสำหรับ Cylinder Block และฝาสูบเครื่องยนต์ ของบริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 2,487.70 ล้านบาท 4) โครงการตามมาตรการส่งเสริมการลทุนเพื่อฟื้นฟูการลงทุนช่วงวิกฤตอุทกภัยผลิต Eco car ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 4,439.30 ล้านบาท 5) โครงการตามมาตรการส่งเสริมการลทุนเพื่อฟื้นฟูการลงทุนช่วงวิกฤตอุทกภัยผลิตเสื้อสูบเครื่องยนต์ และฝาสูบเครื่องยนต์ ของบริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,612.00 ล้านบาท 6) โครงการผลิตชุดเฝืองเกียร์ ของบริษัท ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 6,291.00 ล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 117 คน 7) โครงการผลิตยางยานพาหนะเรเดียล เช่น ยางรถยนต์ รถกระบะ รถเอสยูวี เป็นต้น ของบริษัท แม็สซิส อินเตอร์ เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 2,181.70 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 371 คน 8) โครงการผลิตยางยานพาหนะ ได้แก่ ยางรถบรรทุกเรเดียล ของบริษัท แม็สซิส อินเตอร์ เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,537.80 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 306 คน 9) โครงการผลิตยางยานพาหนะ ได้แก่ ยางรถบรรทุกเรเดียล ของบริษัท สยามมิชลิน จำกัด เงินลงทุน 2,700.80 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 250คน 10) โครงการผลิต Disc Brake Caliper ของ บริษัท แอดวิคส์ แมนูแฟคเจอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 2,032.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 153 คน 11) โครงการผลิตปีมน้ำไฮดรอลิคส์สำหรับเกียร์อัตโนมัติ ของ บริษัท เควายบี (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,277.30 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 107 คน 12) โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนยานพาหนะ ของบริษัท ไทยซัมมิท แหลมฉบัง โอโต้พาร์ท จำกัด เงินลงทุน 1,200.00 ล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 435 คน และ 13) โครงการผลิตชุดเพลาขับ ของ บริษัท เจเทตโตะ(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 22,605.30 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 160 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2555 มีจำนวน 2,437,247 คันเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.18 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.43, 60.61 และ 112.72 ตามลำดับ การผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,020,060 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.85 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็น การผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อการส่งออกร้อยละ 55.36 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 44.64 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซี.ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2555 (ต.ค.-ธ.ค.)มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 730,099 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 172,560 คัน ร้อยละ 323.10 โดยเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง 320,186 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 396,643 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 13,270 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 424.08 , 270.55 และ 199.95 เนื่องจากผู้ประกอบการมีการเร่งผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน ผู้ผลิตยานยนต์ประสบกับเหตุการณ์น้ำท่วมภายในประเทศทำให้ไม่สามารถทำการผลิตในช่วงดังกล่าวได้ หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.64 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.91 และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.81 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2555 มีจำนวน 1,425,186 คัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.47โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.56, 80.05, 67.76 และ 53.15 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของ ปี 2555 (ต.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 426,963 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 123,112 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 246.80 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 215,996 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 160,994 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 29,212 คัน และ รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 20,761 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 269.70, 280.96, 147.26 และ 95.60 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.71 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ รถยนต์นั่ง และ รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.96, 12.14 และ 3.87 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) ลดลงร้อยละ 0.21

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2555 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 1,020,060 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการส่งออกรถยนต์ปี2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.67 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 486,500.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 41.68 เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สี่ของ ปี 2555 (ต.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ จำนวน 284,806 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 95,955 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 196.81 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 134,473.57ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 44,373.66 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 203.04 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.30 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.34

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในปี 2555 มีมูลค่า 153,127.09 ล้านบาทตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30.79, 18.43 และ 11.58 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซียฟิลิปปินส์ และ ออสเตรเลีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.93, 39.12 และ 0.81 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในปี 2555 มีมูลค่า 18,095.12 ล้านบาท ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 84.71 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในปี 2555 มีมูลค่า 323,127.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1,114.29 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลียซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 23.95, 10.89 และ 5.21 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2,633.57, 399.24 และ 386.71 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2555 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 43,736.01 และ 29,353.66 ล้านบาท ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับการนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.81 และ 18.26 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 32.15, 31.30 และ 17.18 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 203.02 และ 136.67 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี ลดลงร้อยละ 13.28 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 53.52, 10.46 และ 8.52 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจาก สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 442.91 และ 0.35 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 2.28 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.18 เนื่องจากผู้ผลิตมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าและเพื่อชดเชยในช่วงที่ประสบอุทกภัยที่ไม่สามารถทำการผลิตได้ ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรถยนต์คันแรก และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ในส่วนการส่งออกมีการขยายตัวในประเทศแถบ เอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

หากพิจารณาอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่สามของปี 2555 อุตสาหกรรมรถยนต์มีการขยายตัว เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน ซึ่งได้แก่การขยายเวลานโยบายรถยนต์คันแรก การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า สำหรับการส่งออกขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนียตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่หนึ่งของปี 2556 คาดว่าการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาแต่การผลิตรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวเนื่องจากผู้ผลิตเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าตามคำสั่งซื้อในประเทศ ซึ่งมาจากการสั่งจองรถยนต์ตามนโยบายรถยนต์คันแรกในปี 2555

โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณการว่า ในปี 2556 คาดว่าการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,500,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 45-50 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์มีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าภายในประเทศเป็นหลักอย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบสภาวะเศรษฐกิจยุโรปและความผันผวนของราคาพลังงาน

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2555 มีจำนวน2,606,161 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 2,043,039 คัน ร้อยละ 27.56 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 2,348,642 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 257,519 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.57 และ 49.07 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2555 มีจำนวน 582,117 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 250,978 คัน ร้อยละ 131.93 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 516,920 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 65,197 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 138.78 และ 88.97 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 12.30 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 15.90 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยใน ปี 2555 มีจำนวน 2,130,067 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 2,007,384 คัน ร้อยละ 6.11 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 985,945 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.39 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 1,062,456 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 81,666 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ16.24 ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 มีจำนวน 485,679 คันเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 385,512 คัน ร้อยละ 25.98 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 218,877 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.82 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 246,010 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.80 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 20,792 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.89 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 9.78 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และ รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 11.87, 7.62 และ 12.13 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี2555 มีจำนวน 856,935 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 313,991 คัน และ CKD จำนวน 542,944 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 ลดลง ร้อยละ 24.36 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) มีมูลค่า 29,659.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 21.79 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU&CKD) มีจำนวน 237,910 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 76,685 คัน และ CKDจำนวน 161,225 ชุด) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 240,067 คัน ลดลงร้อยละ 0.89 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์มีมูลค่า 8,344.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 3,624.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 130.23 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.51 และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.00

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2555 มีมูลค่า 30,241.27 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 59.49 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.60, 13.08 และ 12.12 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.03, 46.36 และ 12.54 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2555 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 4,008.82 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 207.01 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 1,358.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 337.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 302.90 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.28 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในปี 2555 ได้แก่ เวียดนาม และ อินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 42.92 และ 15.40 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม และ อินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 404.22 และ 8,508.29 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2555 ค่าดว่าการผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ต้องการเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคประกอบกับมีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งนี้จากแรงกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีโอกาสเป็นเจ้าของรถได้ง่ายขึ้น โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในปี 2556 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 2,860,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 10-15

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในปี 2555 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มีมูลค่า 168,541.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 ร้อยละ 23.51 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 26,991.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 ร้อยละ 1.20และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 20,116.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 ร้อยละ 22.37 เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2555 มีมูลค่า 42,428.70 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 39.58 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 5,278.15 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 24.61 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 4,928.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.54 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) การส่งออกเครื่องยนต์และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ลดลง ร้อยละ 8.96, 26.58 และ11.38 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในปี 2555 มีมูลค่า 213,362.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 26.53 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.63, 16.61 และ 10.83 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.52, 21.25 และ 40.55 ตามลำดับการส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในปี 2555 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 10,908.83 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 ลดลงร้อยละ 23.51 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 747.90 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.48 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 2,993.52 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 28.98 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 177.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 19.97 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.41 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 13.57

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2555 มีมูลค่า 23,698.97 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.62 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.03, 12.33 และ 11.87 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.95 แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนาม และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 39.31 และ 29.27 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในปี 2555 มีมูลค่า 394,194.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 97.68 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 185,169.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 249.40หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่ามูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.31 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และ ฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 53.73, 9.72 และ 4.28 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น จีนและฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.11, 242.54 และ 71.37 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในปี 2555 มีมูลค่า 17,168.88 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.33 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 4,677.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 29.27 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่ามูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.07 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในปี 2555 ได้แก่ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 39.94, 16.26 และ10.99 ตามลำดับโดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากอินโดนีเซีย จีน และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.64, 18.10 และ 4.12 ตามลำดับ

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ