สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 19, 2013 14:31 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนมกราคม 2556 อยู่ที่ระดับ 175.97 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.1 โดยยังคงได้รับอานิสงค์จากฐานที่ต่ำในเดือนมกราคม 2555 ที่ภาคอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงฟื้นฟูการผลิตจากอุทกภัย สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งได้รับอานิสงค์จากฐานที่ต่ำเช่นกัน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 21.23 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 28.19

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) หรือ MPI เดือนมกราคม 2556 อยู่ที่ระดับ 175.97 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.1 โดยยังคงได้รับอานิสงค์จากฐานที่ต่ำในเดือนมกราคม 2555 ที่ภาคอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงฟื้นฟูการผลิตจากอุทกภัย

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนมกราคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 67.05 จากร้อยละ 63.5 ในเดือนธันวาคม 2555 และร้อยละ 58.57 ในเดือน

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งได้รับอานิสงค์จากฐานที่ต่ำเช่นกัน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 21.23 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 28.19

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(มกราคม 2556)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมกราคม 2556 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.8 กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2 และ 20.2 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อชะลอตัวลงจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป ประกอบกับเกิดโรคระบาดในแหล่งผลิตกุ้ง ทำให้ปริมาณวัตถุดิบลดลง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์สำคัญ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืนผ้าขนหนูและเครื่องนอน และผ้าลูกไม้ ร้อยละ 22.9, 17.2, 9.8 และ 10.6 ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดเอเซียและอาเซียน โดยเฉพาะจาก จีน อินเดียเวียดนาม บังคลาเทศ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นโอกาสให้การผลิตเพิ่มสูงขึ้น

การผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 แต่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอลดลงร้อยละ 8.5 ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็น

การผลิตเพื่อการส่งออก และได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของเครื่องนุ่งห่มไทย ประกอบกับธุรกิจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงาน

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.30 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.65 เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.91 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมกราคม 2556 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแท่งแบน เหล็กแผ่นรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งเล็ก Billet เหล็กเส้นโดยจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นจะเป็นในส่วนของเหล็กทรงแบนแต่ในส่วนของเหล็กทรงยาวจะมีราคาที่ลดลง

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำ นวน 236,025 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีการผลิต 140,534 คัน ร้อยละ 67.95 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555 ร้อยละ 6.63 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน สำหรับการส่งออก มีจำนวน 86,697 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม2555 ซึ่งมีการส่งออก 53,591 คัน ร้อยละ 61.78 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกายุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.72 ส่วนหนึ่งมาจากฐานการผลิตในเดือนมกราคมอยู่ในระดับต่ำ(จากผลกระทบอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554) ทั้งนี้ อีกปัจจัยหนึ่งมาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศทำให้การจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะจากภาวะการก่อสร้างทั้งของเอกชนในโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (บ้านคอนโดมิเนียม) และภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัวรวมถึงการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน และในส่วนของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์การผลิตเริ่มกลับมาผลิตได้มากขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับ Smart Phone/Tablet ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10

เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.94 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มในทุกกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ