รายงานภาวะอุตสาหกรรมทองแดง ปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 19, 2013 14:54 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาวะตลาดโลก

การผลิต

การผลิตแร่ทองแดง (Copper Ore) ในปี 2554 ผลิตได้ 16,019,000 เมตริกตัน อัตราการใช้กาลังการผลิตประมาณร้อยละ 79 โดยภูมิภาคลาตินอเมริกาจะเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 6,848,000 เมตริกตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43 ของการผลิตทั้งโลก รองลงมาคือภูมิภาคเอเซีย 3,003,000 เมตริกตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 สาหรับการผลิตแร่ทองแดงในปี 2555 International Copper Study Group (ICSG) ได้มีการประมาณการไว้ที่ระดับ 16,524,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเพียงร้อยละ 3.15 ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาในกระบวนการผลิต หัวแร่คุณภาพต่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งปัญหาการหยุดงานและการเรียกร้องของกลุ่มสหภาพแรงงาน แต่ในปี 2556 ICSG ประมาณการว่าจะผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.82 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คืออยู่ที่ระดับ 18,147,000 เมตริกตัน

ในส่วนของการผลิตทองแดงบริสุทธิ์ (Refined Copper) ปี 2554 ผลิตได้ 19,651,000 เมตริกตัน ในขณะที่ปี 2555 คาดว่าผลิตได้ 20,166,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.62 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลน Copper Concentrates และการปิดโรงงานเพื่อซ่อมบารุงเครื่องจักร ภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นแหล่งผลิตสูงที่สุดโดยผลิตได้ 9,617,000 เมตริกตัน รองลงมาคือ ภูมิภาคลาตินอเมริกา ผลิตได้ 3,463,000 เมตริกตัน สาหรับปี 2556 ICSG ได้มีการประมาณการว่าทั่วโลกจะผลิตทองแดงบริสุทธิ์ได้ 21,620,000 เมตริกตัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 7.21 จากการผลิตของโรงงานที่มีอยู่เดิมและโรงงานที่ตั้งขึ้นใหม่รวมทั้งโรงงานที่มีการขยายกาลังการผลิตในแอฟริกาและจีน

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตแร่ทองแดงและทองแดงบริสุทธิ์ ปี 2554 และประมาณการผลิตปี 2555-2556

หน่วย : 1,000 เมตริกตัน

ปริมาณการผลิตและประมาณการ

          ภูมิภาค                            แร่ทองแดง                                ทองแดงบริสุทธิ์
                               2554          2555          2556          2554          2555          2556
-แอฟริกา                        1,306         1,396         1,712           961         1,064         1,326
-อเมริกาเหนือ                    2,150         2,244         2,536         1,706         1,701         1,886
-ลาตินอเมริกา                    6,848         6,993         7,209         3,717         3,463         3,606
-อาเซียน10 ประเทศ                 765           653           909           517           398           575
-เอเชีย ยกเว้นอาเซียนและ-
 กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)   1,768         1,977         2,298         8,048         8,772         9,367
-กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)     470           487           500           428           447           472
-สหภาพยุโรป 27 ประเทศ             788           804           814         2,716         2,768         2,790
-ยุโรปนอกเหนือจากกลุ่ม-
 สหภาพยุโรป 27 ประเทศ             832           853           870         1,080         1,049         1,095
-นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย            1,092         1,118         1,300           477           503           504
-รวมทั้งสิ้น                       16,019        16,524        18,147        19,651        20,166        21,620

ที่มา : International Copper Study Group

หมายเหตุ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ได้แก่ อาร์เมเนีย อาร์เซอร์ไบจัน เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มอลโดวา รัสเซีย ทาจิกิสถาน ยูเครน อุซเบกิสถาน

การบริโภคทองแดงบริสุทธิ์

จีนเป็นประเทศที่มีการบริโภคทองแดงบริสุทธิ์สูงมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมด ซึ่งปริมาณส่วนใหญ่จะใช้ในโรงงานผลิตไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า (Wires, Cables, Power grid) คิดเป็นร้อยละ 47 ของปริมาณทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ สาหรับการบริโภคในปี 2555 จีนมีการบริโภคทองแดงบริสุทธิ์ (Actual refined copper consumption) ในปริมาณ 5.6 ล้าน เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 8.5 ซึ่งเป็นการหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับจากปี 2551 ในส่วนอื่นๆของโลก การบริโภคก็ลดลงเช่นกัน สินค้าคงคลังลดในกลุ่มผู้ใช้รายใหญ่ เช่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ในกลุ่มของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่กลับมีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้น ในปี 2556 ICSG คาดว่าการบริโภคทองแดงบริสุทธิ์ของโลกจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยจีนจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 ในขณะที่ส่วนอื่นๆของโลกนั้นคาดว่าจะเพิ่มประมาณร้อยละ 3.4

ตารางที่ 2 ปริมาณการบริโภคทองแดงบริสุทธิ์ ปี 2554 และประมาณการบริโภคปี 2555-2556

หน่วย : 1,000 เมตริกตัน

ภูมิภาค                                                  2554          2555          2556
แอฟริกา                                                  281           256           262
อเมริกาเหนือ                                            2,202         2,241         2,340
ลาตินอเมริกา                                              600           608           641
อาเซียน10 ประเทศ                                         734           788           819
เอเชียยกเว้นอาเซียนและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)       11,331        12,005        12,014
กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)                              99           100           101
สหภาพยุโรป 27 ประเทศ                                   3,295         3,137         3,207
ยุโรปนอกเหนือจากกลุ่มสหภาพยุโรป 27 ประเทศ                  1,202         1,120         1,173
นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย                                     120           122           125
รวมทั้งสิ้น                                              19,865        20,376        20,682

ที่มา : International Copper Study Group

หมายเหตุ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ได้แก่ อาร์เมเนีย อาร์เซอร์ไบจัน เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มอลโดวา รัสเซีย ทาจิกิสถาน ยูเครน อุซเบกิสถาน

ราคาตลาดโลก

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 ราคาทองแดงบริสุทธิ์จะอยู่ในระดับค่อนข้างสูง คือประมาณ 8,000-8,600 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ( ราคาสูงสุดของปีอยู่ที่ 8,622 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555) อันเป็นผลมาจากมีสัญญานการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้บริโภคทองแดงมากเป็นอันดับ 2 ของโลก จึงเกิดการเก็งกาไรเพราะคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจากจีนจะถูกส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้จีนมีความต้องการใช้ทองแดงเพื่อการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นเศรษฐกิจของจีนก็มีการขยายตัวมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ แต่ในไตรมาสที่ 2 และ 3 (ยกเว้นเดือนกันยายน) ราคาได้ลดลงมาต่าที่สุดของปีอยู่ที่ 7,268 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2555 เนื่องจากความกังวลจากการที่ สเปน กรีซ และปอร์ตุเกส ประสบปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ และเศรษฐกิจจีนก็เกิดการชะลอตัวเพราะการส่งออกลดลง แต่ในเดือนกันยายน ราคาปรับตัวสูงขึ้นมากเพราะเกิดการเก็งกาไรจากการที่จีนพยายามกระตุ้นผลผลิตอุตสาหกรรมให้เพิ่มขึ้นหลังจากตัวเลขดุลการค้าของจีนผิดพลาดไปจากเป้าที่ตั้งไว้ และผลผลิตอุตสาหกรรมเติบโตน้อยที่สุดในช่วง 3 ปี แต่ในเดือนตุลาคมราคาได้ปรับลดลงอย่างมาก เนื่องจากความกังวลที่ธนาคารโลกได้ประกาศปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออก รวมทั้งการหารือในปัญหาหนี้ของกลุ่มผู้นายุโรป แต่ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ราคาเริ่มปรับเพิ่มขึ้นอีกจากการที่เห็นสัญญานที่ดีของเศรษฐกิจจีนซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้ทองแดงในปี 2556

สำหรับแนวโน้มราคาในปี 2556 ธนาคารโลกได้ประมาณการอยู่ที่ 7,800 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน โดยปัจจัยที่จะมีผลต่อราคาก็คืออุปสงค์ของจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคทองแดงมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งก็คาดว่าจะยังขยายตัวต่อไป นอกจากนั้นอุปสงค์ของประเทศที่พัฒนาและมีการบริโภคทองแดงเป็นปริมาณมาก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ก็จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เช่นกัน

ภาวะอุตสาหกรรมทองแดงภายในประเทศ

ปัจจุบันโครงสร้างอุตสาหกรรมทองแดงภายในประเทศแบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ อุตสาหกรรมกลางน้า และอุตสาหกรรมปลายน้า

อุตสาหกรรมกลางน้า คือการหล่อทองแดงให้เป็นแท่งหน้าตัดต่างๆ ขึ้นอยู่กับการนาไปผลิตต่อ เช่น ทองแดงแท่งหน้าตัดกลม (Billet) จะถูกนาไปใช้ผลิตทองแดงทรงยาว ทองแดงแท่งหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Slab) จะใช้ผลิตทองแดงแผ่นและ Foil ผู้ผลิตกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีการผลิตต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมปลายน้า

อุตสาหกรรมปลายน้า จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามชนิดผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1. ท่อทองแดง

2. สายไฟและเคเบิ้ล

3. ทองแดงแผ่นและ Foil

4. ลวดทองแดงและทองแดงเส้น

การใช้งาน : ผลิตภัณฑ์ทองแดงเหล่านี้จะถูกนาไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลักที่สาคัญ ได้แก่ โทรคมนาคม ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น อาคารและงานก่อสร้างต่างๆ

การผลิตและการจาหน่าย

ท่อทองแดง- เหตุการณ์น้าท่วมเมื่อปลายปี 2554 ยังส่งผลกระทบมาถึงปี 2555 เพราะในช่วงต้นปีบางโรงงานยังต้องปรับปรุงฟื้นฟูโรงงานทาให้ไม่สามารถดาเนินการผลิตได้ เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จะส่งต่อไปยังอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ทาให้ลูกค้าต่างประเทศหันไปซื้อจากประเทศอื่น นอกจากนั้น ปัญหาเศรษฐกิจซบเซาในกลุ่มยูโรโซนก็ทาให้ลูกค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยได้หายไปบางส่วน ส่งผลกระทบมาถึงผู้ผลิตท่อทองแดงภายในประเทศ อีกทั้งปัญหาคู่แข่ง คือ จีน ที่ส่งสินค้าราคาต่ากว่าของไทยเข้ามาตีตลาดเป็นจานวนมาก ทาให้การผลิตและจาหน่ายท่อทองแดงไม่ได้เติบโตไปกว่าปีก่อนหน้า

สายไฟและเคเบิ้ล- ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเพราะการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีโครงการเดินสายไฟฟ้า แรงสูงจากลาวไปยังทุกภูมิภาคของไทย โดยจะมีการดาเนินงานไปจนถึงปี 2557 การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพก็ยังคงดาเนินงานต่อเนื่องไปอีกหลายปี การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนก็ยังคงเติบโต รวมทั้งอุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ขยายตัวสูงมากในปี 2555 จากนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรก เหล่านี้ทาให้ผลิตภัณฑ์สายไฟและเคเบิ้ลมีการผลิตและจาหน่ายในระดับที่ดี

ทองแดงแผ่น & Foil- ในช่วงไตรมาสที่ 1 ได้รับผลกระทบจากการที่ลูกค้าถูกน้าท่วมเมื่อปลายปี 2554 แต่ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา คาสั่งซื้อก็กลับมาเป็นปกติแต่ไม่ได้เติบโตมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้า

ลวดทองแดงและทองแดงเส้น- ปี 2555 ผู้ผลิตไทยประสบปัญหาคู่แข่งคือ เกาหลี และมาเลเซีย ที่ส่งสินค้าเข้ามาทุ่มตลาดเป็นจานวนมาก ทาให้สภาพธุรกิจแย่ลงกว่าปี 2554 นอกจากนั้น โครงสร้างภาษีนาเข้าที่ลักลั่นก็ยังเป็นปัญหาที่สาคัญ ตัวอย่างเช่น ภาษีนาเข้าชิ้นส่วนที่จะนามาประกอบเป็นมอเตอร์พัดลมจะอยู่ที่ร้อยละ 5-17 ในขณะที่ภาษีนาเข้ามอเตอร์สาเร็จรูปถูกคิดเพียงร้อยละ 3 ทาให้ลูกค้าสั่งนาเข้าสินค้าสาเร็จรูป จากต่างประเทศมากกว่าที่จะซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศเพราะราคาสินค้านาเข้าจะถูกกว่า ผู้ผลิตในประเทศที่เป็นรายเล็กต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยการขยายกาลังการผลิตเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง ในขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่จะใช้วิธีหาลูกค้าในตลาดใหม่ๆ เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรป เพื่อจาหน่ายอุปกรณ์สาหรับแปลงไฟฟ้าในรถยนต์ เพราะคาดว่าตลาดภายในประเทศหลังจากการผลิตรถยนต์ได้ครบตามคาสั่งซื้อในโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรกของปี 2555 แล้วปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี2556 จะชะลอตัวลง

การนาเข้า : เนื่องจากไทยยังไม่มีการผลิตทองแดงบริสุทธิ์ ผู้ผลิตไทยจึงจาป็นต้องนาเข้าวัตถุดิบ เช่น Copper matt Copper anode และ Unwrought เข้ามาหลอมแล้วนาไปรีดเป็นผลิตภัณฑ์ทรงยาวและทรงแบน รวมทั้งยังมีการนาเข้าสินค้าสาเร็จรูปด้วย สาหรับปี 2555 วัตถุดิบที่มีการนาเข้าในปริมาณมาก ได้แก่ ทองแดงที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป (Unwrought) นาเข้ามาในปริมาณ 246,059 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.90 แหล่งนาเข้าที่สาคัญคือประเทศลาว ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น สาหรับผลิตภัณฑ์ทองแดงที่นาเข้ามามาก ได้แก่ ลวดทองแดง นาเข้ามา 55,777 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.15 โดยนาเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ไต้หวัน และออสเตรเลีย รองลงมาคือแผ่นทองแดงที่มีความหนาเกิน 0.15 มิลลิเมตร คิดเป็นปริมาณ 38,566 เมตริกตัน เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 6.01 ส่วนใหญ่นาเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน รายละเอียดปริมาณและมูลค่าการนาเข้าทองแดงปี 2555 ปรากฏตามตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ปริมาณและมูลค่าการนาเข้าทองแดง และของที่ทาด้วยทองแดง ปี 2555
          ผลิตภัณฑ์                                 ปริมาณ       อัตราการขยายตัว        มูลค่า       อัตราการขยายตัว
                                               (เมตริกตัน)     เทียบกับปีก่อน (%)     (ล้านบาท)     เทียบกับปีก่อน(%)
-คอปเปอร์แมตต์ รวมทั้งซีเมนต์คอปเปอร์                     1,806           8.30              15           -24.30
-ทองแดงไม่บริสุทธ์ รวมทั้งแอโนดทองแดง                      489          -9.66             133           -10.48
-ทองแดงบริสุทธ์ และทองแดงเจือที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป (Unwrought) 246,059           3.90          62,978            -5.30
-มาสเตอร์อัลลอยของทองแดง                               227          35.12             116             5.38
-ผงทองแดงและเกล็ดทองแดง                            12,304         361.62             425            -8.08
-ท่อน เส้น และโพรไฟล์ ทาด้วยทองแดง                    14,594         -15.88           3,274           -26.89
-ลวดทองแดง                                        55,777          35.15          14,999            21.60
-แผ่น แผ่นบาง และแถบ ทาด้วยทองแดง หนาเกิน 0.15 มม.    38,566           6.01          11,436           -37.17
-ฟอยล์ทองแดง                                       13,533         -19.66           4,308           -34.39
-หลอด หรือ ท่อ ทาด้วยทองแดง                          28,377          15.08           8,566             5.72
-อุปกรณ์ติดตั้ง ของหลอดหรือท่อทาด้วยทองแดง                 1,568          -3.07             927             2.18
-ลวดเกลียว เคเบิล แถบถัก ทาด้วยทองแดง ไม่หุ้มฉนวนไฟฟ้า       251          11.33             125             4.87
-ตะปู ตะปูสั้นหัวใหญ่ หมุดกด ตะปูสองขา ทาด้วยทองแดง-
 รวมทั้งตะปูควงและสลักเกลียว                              721          10.62             432            28.63
-ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว หรือ-
 ของใช้ตามบ้านเรือนอื่นๆ ทาด้วยทองแดง                    1,373          20.01             550            26.01
-ของอื่นๆทาด้วยทองแดง                                 6,974         -10.68           4,121            -0.27
-รวม                                             422,619           8.42         112,405            -8.50

การส่งออก : ในปี 2555 ไทยมีการส่งออกเศษทองแดงเป็นจานวนมากคิดเป็นปริมาณ 81,413 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.13 ตลาดส่งออกคือ ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น สาหรับผลิตภัณฑ์ทองแดงที่ส่งออกมาก ได้แก่ หลอดหรือท่อทองแดง (Pipes & Tubes) คิดเป็นปริมาณ 27,812 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.43 ตลาดที่สาคัญคือ ประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย และอียิปต์ รองลงมาคือ ท่อน เส้น และโพรไฟล์ (Bars Rods & Profiles) คิดเป็นปริมาณ 26,906 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ20.03 โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย ไต้หวัน และสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รายละเอียดปริมาณและมูลค่าส่งออกทองแดงของไทยปี 2555 ปรากฏตามตารางที่ 5

ตารางที่ 5 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกทองแดง และของที่ทาด้วยทองแดง ปี 2555
          ผลิตภัณฑ์                       ปริมาณ          อัตราการขยายตัว          มูลค่า      อัตราการขยายตัว
                                     (เมตริกตัน)        เทียบกับปีก่อน (%)       (ล้านบาท)    เทียบกับปีก่อน (%)
-คอปเปอร์แมตต์ รวมทั้งซีเมนต์คอปเปอร์           383              1,387.83            0.869        -87.19
-ทองแดงไม่บริสุทธ์ รวมทั้งแอโนดทองแดง           14                129.45            0.490        -76.45
-ทองแดงบริสุทธ์ และทองแดงเจือที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป   2,083                -57.91              203        -63.78
-เศษและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นทองแดง           81,413                  9.13           19,298         40.98
-มาสเตอร์อัลลอยของทองแดง                 0.069                -26.60            0.173        -65.88
-ผงทองแดงและเกล็ดทองแดง                   695                -50.17               39          1.06
-ท่อน เส้น และโพรไฟล์ ทาด้วยทองแดง        26,906                 20.03            7,173          9.79
-ลวดทองแดง                             5,807                 -8.16            1,611        -15.94
-แผ่น แผ่นบาง และแถบ ทาด้วยทองแดง
 หนาเกิน 0.15 มม.                       9,703                 -1.17            2,429         -5.91
-ฟอยล์ทองแดง                            7,538                 22.97            1,045          6.81
-หลอด หรือ ท่อ ทาด้วยทองแดง              27,812                  1.43            9,006         -5.01
-อุปกรณ์ติดตั้ง ของหลอดหรือท่อทาด้วยทองแดง     2,544                 36.20            1,057         20.71
-ลวดเกลียว เคเบิล แถบถัก ทาด้วยทองแดง-
 ไม่หุ้มฉนวนไฟฟ้า                          1,564                 18.69              492         14.34
-ตะปู ตะปูสั้นหัวใหญ่ หมุดกด ตะปูสองขา
 ทำด้วยทองแดง รวมทั้งตะปูควงและสลักเกลียว      783                161.82              133         48.04
-ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว หรือของใช้-
 ตามบ้านเรือนอื่นๆ ทาด้วยทองแดง             2,217                 16.32              877         16.48
-ของอื่นๆทาด้วยทองแดง                     2,553                 36.66            1,376         55.66
-รวม                                 172,015                  7.28           44,740         15.25

ที่มา : กรมศุลกากร

ปัญหาและอุปสรรค : ปัญหาของอุตสาหกรรมทองแดงยังคงเป็นปัญหาเดิมๆคือ ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก เช่น แร่ทองแดง และทองแดงบริสุทธิ์ มีความผันผวนมาก เพราะนอกจากราคาจะขึ้นลงตามความต้องการของตลาดแล้วยังเกิดจากการเก็งกาไรของนักลงทุนด้วย ทาให้บางครั้งราคามิได้สะท้อนถึงอุปสงค์ที่แท้จริงส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้าของไทยต้องประสบปัญหาในการวางแผนการผลิต และการคานวณต้นทุนการผลิต นอกจากนั้นยังประสบปัญหาคู่แข่งคือจีน ที่มีต้นทุนทางด้านค่าจ้างแรงงานต่ากว่าไทยมาก และมาตรการค่าจ้างขั้นต่า 300 บาทต่อวัน ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีความเสียเปรียบทางด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก ปัจจุบันผู้ประกอบการต้องพยายามหาแนวทางปรับตัวเพื่อการอยู่รอดโดยจะเป็นการปรับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ การลดของเสียในกระบวนการผลิต และการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน

แนวโน้มในปี 2556 : ตลาดภายในประเทศคาดว่าจะเติบโตกว่าปี 2555 เพราะโครงการเดินสายไฟฟ้าแรงสูงทั่วประเทศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยังดาเนินการต่อไป อีกทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้ทองแดงเป็นส่วนประกอบเช่น ยานยนต์ (แผงวงจรไฟฟ้าในรถยนต์) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ท่อทองแดง)และอิเล็กทรอนิกส์ (แผงวงจรไฟฟ้า) จะยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับผลจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลที่ต้องเร่งผลิตเพิ่มขึ้นตามคาสั่งซื้อในปี 2555

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ