รายงานภาวะอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม ปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 19, 2013 15:29 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อะลูมิเนียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 3 ในชั้นเปลือกโลก อะลูมิเนียมบริสุทธิ์จะเป็นโลหะสีขาวเงิน มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการคือ แข็งแรง ทนทาน ความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา ยืดตัวได้ง่าย มีความเหนียวมาก ทนทานต่อการเกิดสนิมและการกัดกร่อนในบรรยากาศการใช้งานทั่วไปได้ดีมาก (แต่ไม่ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดด่าง) มีความสามารถในการสะท้อนแสงสูงมาก เป็นโลหะที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ มีค่าการน้าความร้อนสูง และน้าไฟฟ้าได้ดี ปัจจุบันความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมมีมากขึ้นทุกปี และเป็นโลหะที่ถูกน้ามาใช้ประโยชน์มากเป็นที่สองรองจากโลหะเหล็ก ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติที่มีหลากหลายประการดังกล่าวข้างต้น ท้าให้เป็นทางเลือกส้าหรับนักออกแบบทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม นอกจากนั้น ข้อเด่นที่ท้าให้อะลูมิเนียมเป็นที่นิยมใช้กว้างขวาง คือสามารถน้าผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมที่ใช้แล้วกลับมารีไซเคิลได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด และไม่ท้าให้สูญเสียคุณสมบัติในตัวของมัน ปัจจุบันอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมทั่วโลกพยายามที่จะใช้วัตถุดิบที่เป็นผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมที่ใช้แล้วน้ากลับมาหลอมใหม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า และเป็นการช่วยลดพลังงานได้อย่างมากเพราะการหลอมอะลูมิเนียมที่ใช้แล้วจะใช้พลังงานเพียงร้อยละ 5 ของพลังงานที่ต้องใช้ในการผลิตโลหะอะลูมิเนียมจากวัตถุดิบที่เป็นสินแร่ ซึ่งจะเป็นการลดภาวะการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้เป็นอย่างดี

ภาวะตลาดโลก

การผลิต

การผลิตอะลูมิเนียมท้าได้ 2 วิธีการ คือผลิตจากสินแร่ (Primary Aluminium)และผลิตจากเศษอะลูมิเนียมหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (Scrap Recycling)

การผลิตจากสินแร่นั้นจะเริ่มจากน้าแร่บอกไซต์ ( Bauxite) มาท้าให้บริสุทธิ์กลายเป็นอะลูมินา (Alumina ) จากนั้นน้ามาหลอมเป็นอะลูมิเนียม โดยแร่บอกไซต์ ( Bauxite) 4 เมตริกตัน จะผลิตอะลูมินา (Alumina) ได้ 2 เมตริกตัน และน้ามาผลิตต่อเป็นอะลูมิเนียมได้ 1 เมตริกตัน

แหล่งแร่บอกไซต์ (Bauxite) ที่ดีของโลกมีอยู่ 7 แห่ง คือ

-แอฟริกากลางและตะวันตก (กินี)

-อเมริกาใต้ (บราซิล เวเนซุเอลา สุรินัม)

-แคริบเบียน (จาไมกา)

-โอเชียนเนียและเอเซียใต้ (ออสเตรเลีย อินเดีย)

-จีน

-เมดิเตอร์เรเนียน (กรีซ ตุรกี)

-อูราล (รัสเซีย)

จากรายงานสถิติข้อมูลของ International Aluminium Institute แจ้งว่าก้าลังการผลิตโลหะอะลูมิเนียมที่ใช้วัตถุดิบจากสินแร่ในปี 2555 จ้าแนกตามภูมิภาคเป็นดังนี้

ตารางที่ 1 ก้าลังการผลิตโลหะอะลูมิเนียม (Primary Aluminium Capacity) ปี 2555

หน่วย : 1,000 เมตริกตัน

          ภูมิภาค                                                            กำลังการผลิต
          แอฟริกา                                                              2,031
          อเมริกาเหนือ                                                          5,573
          อเมริกาใต้                                                            2,466

เอเชียตะวันออกและเอเซียใต้(ไม่รวมจีน เกาหลีเหนือ อาเซอร์ไบจัน และอิหร่าน)* 2,904

          ยุโรปตะวันตก                                                          4,372
          ยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง                                              4,083
          ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์                                                 2,342
          กลุ่มประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย                                              3,286
          รวมทั้งสิ้น                                                            27,057

ที่มา : International Aluminium Institute

หมายเหตุ : * จีน เกาหลีเหนือ อาเซอร์ไบจัน และอิหร่าน มิได้รายงานตัวเลขต่อ International Aluminium Institute และประมาณการในอีก 2 ปีข้างหน้าว่าจะมีก้าลังการผลิตดังนี้

ตารางที่ 2 ประมาณการก้าลังการผลิตโลหะอะลูมิเนียม (Primary Aluminium Capacity) ปี 2556-2557

หน่วย : 1,000 เมตริกตัน

          ภูมิภาค                                        ปี 2556         ปี 2557
          แอฟริกา                                        2,033          2,028
          อเมริกาเหนือ                                    5,634          5,872
          อเมริกาใต้                                      2,619          2,667


 ภูมิภาค                                                             ปี 2556         ปี 2557
 เอเชียตะวันออกและเอเซียใต้(ไม่รวมจีน เกาหลีเหนืออาเซอร์ไบจัน และอิหร่าน)*      3,186          3,196
 ยุโรปตะวันตก                                                         4,379          4,473
 ยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง                                             4,359          4,609
 ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์                                                2,354          2,374
 กลุ่มประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย                                             4,047          4,221
 รวมทั้งสิ้น                                                           28,611         29,440

ที่มา : International Aluminium Institute

หมายเหตุ : * จีน เกาหลีเหนือ อาเซอร์ไบจัน และอิหร่าน มิได้รายงานตัวเลขต่อ International Aluminium Institute

ตารางที่ 3 ปริมาณการผลิตโลหะอะลูมิเนียม (Primary Aluminium Production) ปี 2555

หน่วย : 1,000 เมตริกตัน

          ภูมิภาค                                        ปี 2555
          แอฟริกา                                        1,636
          อเมริกาเหนือ                                    4,851
          อเมริกาใต้                                      2,053
          เอเชีย (ไม่รวมจีน)                               2,535
          ยุโรปตะวันตก                                    3,605
          ยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง                        4,323
          ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์                           2,178

กลุ่มประเทศที่มีชายฝั่งติดอ่าวเปอร์เซีย (Gulf region) 3,658

          จีน                                           19,754
          รวมทั้งสิ้น                                      44,593

หากจำแนกผู้ผลิตรายใหญ่เป็นรายประเทศ ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลกจะเป็นประเทศที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะต่ำสุด (การผลิตอะลูมิเนียมใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก) ซึ่งได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหภาพยุโรป รองลงมาได้แก่ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ทาจิกิสถาน และนิวซีแลนด์

สำหรับบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ 10 อันดับของโลก ซึ่งจัดอันดับจากปริมาณการผลิตในปี 2554 มีดังนี้

 อันดับ   ชื่อบริษัท                                           ประเทศ              ปริมาณผลผลิต

(หน่วย : พันตัน)

 1.     United Co. Rusal                                 รัสเซีย                  4,127
 2.     Rio Tinto Group                              อังกฤษ-ออสเตรเลีย            3,829
 3.     Alcoa Inc.                                     สหรัฐอเมริกา               3,669
 4.     Aluminum Corp. of China                            จีน                   3,127
 5.     Norsk Hydro ASA                                  นอร์เวย์                 1,705
 6.     Dubai Aluminium Co.                         สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์            1,386
 7.     China Power Investment Co.                         จีน                   1,381
 8.     BHP Billiton Ltd.                               ออสเตรเลีย               1,249
 9.     Shandong Xinfa Aluminum and Electricity Group      จีน                   1,016
 10.    Aluminium Bahrain BSC                            บาห์เรน                   881

(รวบรวมโดย London-based researcher CRU)

การบริโภค

ปัจจุบันความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมมีมากขึ้นทุกปี และเป็นโลหะที่ถูกน้ามาใช้ประโยชน์มากเป็นที่สองรองจากโลหะเหล็ก ซึ่งเราจะพบได้ทั้งจากชิ้นส่วนของเครื่องบินซึ่งเป็นสินค้าราคาสูงลิบไปจนถึงกระป๋องเครื่องดื่มซึ่งเป็นสินค้าทั่วไปในท้องตลาด ภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค เป็นตลาดอะลูมิเนียมที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยจีนและอินเดีย เป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวในการบริโภคอะลูมิเนียม ตามด้วยสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยในสหรัฐอเมริกามีสัญญานบ่งชัดถึงการเริ่มฟื้นตัวจากอุตสาหกรรมยานยนต์ และการขนส่ง ส่วนประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ในเอเซียก็มีการฟื้นตัวจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวเมื่อปี 2554 โดยรัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณก่อสร้างเป็นจ้านวนมากเพื่อซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ก็มีการเติบโตจากความต้องการภายในประเทศ

ในอนาคตอะลูมิเนียมในตลาดโลกจะยังคงเติบโตได้จากอุปสงค์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งจากส่วนอื่นๆของโลก เช่น ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่ง Global Industry Analysts, Inc. ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2561 อุปสงค์อะลูมิเนียมของโลกจะมีปริมาณถึง 71.2 ล้านตัน ปัจจัยส้าคัญคือ การขยายตัวของอุปสงค์โลหะในประเทศที่พัฒนาแล้ว และปริมาณการบริโภคต่อหัวของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ปัจจุบันยังต่ำมากจึงท้าให้มีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกในอนาคต นอกจากนั้น การใช้อะลูมิเนียมในอุตสาหกรรมต่างๆก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมกระป๋อง ฯลฯ ในขณะที่ปัจจุบันอุปทานอะลูมิเนียมของโลกอยู่ที่ 48.0 ล้านตัน (โดยเป็นก้าลังการผลิตอะลูมิเนียมจากสินแร่ (Primary Aluminium Capacity) 28.6 ล้านตันและก้าลังการหลอมเศษอะลูมิเนียมที่ใช้แล้ว (Scrap Recycling) อีก 19.4 ล้านตัน) เพื่อให้เกิดการสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในอนาคต จ้าเป็นจะต้องมีการขยายก้าลังการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีแหล่งแร่Bauxite เป็นจ้านวนมาก และมีพลังงานไฟฟ้าราคาถูก

ราคาตลาดโลก

ในปี 2555 ราคาอะลูมิเนียมยังคงผันผวนอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากผู้บริโภคที่เป็นตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และยังมีปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซนที่ท้าให้นักลงทุนเกิดความกังวล รวมทั้งราคาพลังงานก็มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตรายใหญ่บางรายต้องประกาศตัดลดก้าลังการผลิตลง เพราะราคาพลังงานเพิ่มขึ้นแต่ราคาอะลูมิเนียมกลับลดลง

ในปี 2555 ราคาสูงสุดอยู่ที่ 2,335 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555 ส่วนราคาต่ำสุดอยู่ที่ 1,841 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2555

แนวโน้มราคาปี 2556

แม้ว่าราคาในปี 2555 จะลดลง แต่ด้วยพื้นฐานของตลาดอะลูมิเนียมที่ดูดีจากการที่ความต้องการของตลาดยังมีอยู่มากและปริมาณการผลิตยังค่อนข้างจ้ากัด ท้าให้ธนาคารโลกได้ประมาณการราคาโลหะอะลูมิเนียมในปี 2556 ไว้ที่ 2,200 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน โดยคาดว่าเศรษฐกิจของจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคอะลูมิเนียมรายใหญ่ที่สุดของโลกจะขยายตัวร้อยละ 8.4 ซึ่งมากกว่าปี 2555 (ร้อยละ 7.9) และสหรัฐอเมริกาจะสามารถแก้ไขปัญหาหน้าผาการคลัง (Fiscal Cliff) รวมทั้งสหภาพยุโรปก็น่าจะร่วมมือกันเพื่อหามาตรการที่จะท้าให้ยุโรปพ้นสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวได้

ภาวะอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมภายในประเทศ

โครงสร้างอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม แบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ การถลุงอะลูมิเนียมจากแร่ Bauxite ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทย อุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์กึ่งส้าเร็จรูปเพื่อใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมปลายน้ำ ส้าหรับอุตสาหกรรมปลายน้ำจะเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ส้าเร็จรูปที่มีรูปทรงต่างๆเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ ภาชนะเครื่องครัว เป็นต้น

การที่ประเทศไทยยังไม่มีการถลุงอะลูมิเนียม เนื่องจากขาดแหล่งแร่ Bauxite และราคาพลังงาน เช่น ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ มีราคาสูง ดังนั้นวัตถุดิบต้นทางของการผลิตในไทยจึงเริ่มจากการน้าเศษอะลูมิเนียมมาหลอมเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งส้าเร็จรูปในรูปของแท่งแบน (Slab) และแท่งยาว (Billet) รวมทั้งการหล่ออะลูมิเนียม เป็นรูปทรงต่างๆตามความต้องการ ส้าหรับผู้ผลิตที่ไม่มีเตาหลอมก็จะสั่งน้าเข้าวัตถุดิบในรูปของผลิตภัณฑ์ กึ่งส้าเร็จรูปเข้ามารีดร้อนและรีดเย็นเพื่อลดความหนาได้ตามความต้องการจนกระทั่งบางเป็นแผ่น Foil จากนั้นก็จะน้าไปขึ้นรูปต่อด้วยวิธีการต่างๆ

การผลิต

ภาวะอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมภายในประเทศในปี 2555 จัดว่าดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าโดยขยายตัวประมาณ 10% เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเช่น ยานยนต์ ก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และบรรจุภัณฑ์ ได้ฟื้นตัวจากน้ำท่วมกลับมาผลิตได้เป็นปกติ แต่อุตสาหกรรมอะลูมิเนียมก็ยังต้องประสบปัญหาคู่แข่ง เช่น จีน ที่ส่งสินค้าเข้ามาจ้าหน่ายในราคาที่ต่ำมาก เนื่องจากจีนมีแหล่งแร่ Bauxite ที่ใช้ผลิตโลหะอะลูมิเนียม การผลิตส่วนใหญ่ครบวงจร อีกทั้งยังได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลในด้านราคาพลังงาน และให้ผู้ส่งออกสามารถขอคืนภาษีส่งออก (Export tax rebate)ได้อีก 9 % ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของจีนต่ำกว่าไทยมาก ซึ่งผู้ผลิตภายในประเทศต้องหาทางแก้ไขด้วยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงกว่าของจีน และสร้างความแตกต่างหรือความหลากหลายในตัวผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น นอกจากปัญหาด้านการตลาดแล้ว ผู้ผลิตก็ยังประสบปัญหาราคาวัตถุดิบที่ต้องน้าเข้ามีความผันผวนตลอดทั้งปี ท้าให้เกิดปัญหาซื้อแพงขายถูก และต้องประสบภาวะขาดทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การนำเข้า

ปริมาณนำเข้าอะลูมิเนียมในปี 2555 ส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบ เช่น อะลูมิเนียมที่ยังไม่ขึ้นรูป (Unwrought) คิดเป็นปริมาณ 521,666 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.99 แหล่งน้าเข้าที่ส้าคัญคือประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย และกาตาร์ รองลงมาคือเศษอะลูมิเนียม (Scrap) คิดเป็นปริมาณ 71,343 เมตริกตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 30.55 ส่วนใหญ่น้าเข้ามาจากประเทศเบลเยี่ยม กัมพูชา และสหราชอาณาจักร

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่น้าเข้าปริมาณมากคือแผ่นอะลูมิเนียม (Plates Sheets & Strip) คิดเป็นปริมาณ 165,444 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.78 โดยส่วนมากน้าเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลีย รองลงมาคือ แผ่น Foil คิดเป็นปริมาณ 68,722 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.03 โดยน้าเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รายละเอียดการน้าเข้าปี 2555 ปรากฏตามตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ปริมาณและมูลค่าการน้าเข้าอะลูมิเนียม และของที่ท้าด้วยอะลูมิเนียม ปี 2555
 ผลิตภัณฑ์                              ปริมาณ       อัตราการขยายตัว       มูลค่า      อัตราการขยายตัว
                                   (เมตริกตัน)     เทียบกับปีก่อน(%)     (ล้านบาท)     เทียบกับปีก่อน(%)
-อะลูมิเนียมที่ยังไม่ขึ้นรูป (อันรอต)          521,666          11.99          37,270          0.55
-เศษและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นอะลูมิเนียม        71,343         -30.55           3,512        -39.10
-ผงอะลูมิเนียมและเกล็ดอะลูมิเนียม              518         -16.78              93        -18.59
-ท่อน เส้น และโพรไฟล์ ท้าด้วยอะลูมิเนียม     15,218          29.07           2,107         32.94
-ลวดอะลูมิเนียม                          4,685          15.50             519          3.19
-แผ่น แผ่นบาง และแถบ ท้าด้วยอะลูมิเนียม    165,444           7.78          18,789          5.31
-ฟอยล์อะลูมิเนียม ความหนาไม่เกิน 0.2 มม.   68,722          10.03          10,151          7.00
-หลอด หรือ ท่อ ท้าด้วยอะลูมิเนียม           11,200          11.78           2,501         13.38
-อุปกรณ์ติดตั้งที่ท้าด้วยอะลูมิเนียม ของหลอดหรือท่อ 1,256         117.99             533         52.01
-สิ่งก่อสร้าง                             7,373          77.12           1,111         43.12
-เรเซอร์วัวร์ แท้งก์ แว้ต และภาชนะที่คล้ายกัน
สำหรับใช้บรรจุวัตถุใดก็ตาม ท้าด้วยอะลูมิเนียม
 ที่มีความจุเกิน 300 ลิตร                     189         -40.19          42,048        -57.50
-คาสก์ ดรัม กระป๋อง หีบ และภาชนะคล้ายกัน
สำหรับใช้บรรจุวัตถุใดก็ตาม ท้าด้วยอะลูมิเนียม
 ที่มีความจุเกิน 300 ลิตร                  15,345         139.46           3,059        106.10
-ภาชนะอะลูมิเนียมส้าหรับบรรจุก๊าซอัดหรือก๊าซเหลว  507          36.28             174         17.57
-ลวดเกลียว เคเบิล แถบถัก ท้าด้วยอะลูมิเนียม
 ไม่หุ้มฉนวนไฟฟ้า                            72         -98.33              19        -96.72
-ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว
 หรือของใช้ตาม บ้านเรือนอื่นๆ ท้าด้วยอะลูมิเนียม 1,627          48.19             422         58.44
-ของอื่นๆท้าด้วยอะลูมิเนียม                 25,904          21.83          15,596         14.46
รวม                                 911,069           7.25          95,898          4.35

ที่มา : กรมศุลกากร

การส่งออก

ในปี 2555 การส่งออกในส่วนของวัตถุดิบที่มีปริมาณมากสูงสุดคือเศษอะลูมิเนียม (Scrap) คิดเป็นปริมาณ 50,673 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 49.33 ตลาดหลักคือ ประเทศเบลเยี่ยม กัมพูชา และสหราชอาณาจักร รองลงมาคืออะลูมิเนียมที่ยังไม่ขึ้นรูป (Unwrought) คิดเป็นปริมาณ 42,764 เมตริกตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 30.80 โดยส่วนใหญ่ส่งไปที่ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ส้าหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกที่น่าสนใจคือ สิ่งก่อสร้าง ( เช่น ประตู หน้าต่างและกรอบ หลังคา โครงหลังคา อะลูมิเนียมแท่งยาวหรือแผ่นหนาที่ใช้ในงานก่อสร้าง) มีปริมาณส่งออกที่ระดับ 67,910 เมตริกตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.09 ตลาดหลักได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ รองลงมาคือ ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว ปริมาณส่งออกอยู่ที่ 27,678 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.52 ตลาดหลักได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อีกผลิตภัณฑ์คือของอื่นๆท้าด้วยอะลูมิเนียม ส่งออกในปริมาณ 26,795 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 77.47 โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปจ้าหน่ายที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 5

ตารางที่ 5 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกอะลูมิเนียม และของที่ท้าด้วยอะลูมิเนียม ปี 2555
 ผลิตภัณฑ์                              ปริมาณ       อัตราการขยายตัว       มูลค่า      อัตราการขยายตัว
                                   (เมตริกตัน)     เทียบกับปีก่อน(%)     (ล้านบาท)     เทียบกับปีก่อน(%)
-อะลูมิเนียมที่ยังไม่ขึ้นรูป (อันรอต)            42,764         -30.80           3,116        -35.79
-เศษและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นอะลูมิเนียม         50,673          49.33           2,705         44.82
-ผงอะลูมิเนียมและเกล็ดอะลูมิเนียม             3,177      10,895.78               8        131.75
-ท่อน เส้น และโพรไฟล์ ท้าด้วยอะลูมิเนียม       4,394         -28.53             607        -21.71
-ลวดอะลูมิเนียม                             456          48.64              56         30.43
-แผ่น แผ่นบาง และแถบ ท้าด้วยอะลูมิเนียม      14,621         -45.99           1,446        -47.04
-ฟอยล์อะลูมิเนียม ความหนาไม่เกิน 0.2 มม.     8,926          -4.23           1,611         -3.60
-หลอด หรือ ท่อ ท้าด้วยอะลูมิเนียม             3,007           8.99             823         14.05
-อุปกรณ์ติดตั้งที่ท้าด้วยอะลูมิเนียม ของหลอดหรือท่อ    603          30.13             349         35.17
-สิ่งก่อสร้าง                             67,910          -9.09          12,947         -3.24
-เรเซอร์วัวร์ แท้งก์ แว้ต และภาชนะที่คล้ายกัน
สำหรับใช้บรรจุวัตถุใดก็ตาม ท้าด้วยอะลูมิเนียม
-ที่มีความจุเกิน 300 ลิตร                      105           7.16              52         18.42
-คาสก์ ดรัม กระป๋อง หีบ และภาชนะคล้ายกัน
สำหรับใช้บรรจุวัตถุใดก็ตาม ท้าด้วยอะลูมิเนียม
 ที่มีความจุเกิน 300 ลิตร                   13,127         -22.06           3,137        -14.74
-ภาชนะอะลูมิเนียมส้าหรับบรรจุก๊าซอัดหรือก๊าซเหลว   173          12.93              48        -14.44
-ลวดเกลียว เคเบิล แถบถัก ท้าด้วยอะลูมิเนียม
 ไม่หุ้มฉนวนไฟฟ้า                            597          92.41              75         70.72
-ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว หรือ
 ของใช้ตาม บ้านเรือนอื่นๆ ท้าด้วยอะลูมิเนียม    27,678           3.52           5,802          5.53
-ของอื่นๆท้าด้วยอะลูมิเนียม                  26,795          77.47           5,772         37.24
 รวม                                 265,006          -3.90          38,554         -3.21

ที่มา : กรมศุลกากร

แนวโน้มปี 2556

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2556 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีกว่าปีก่อนหน้า โดยการฟื้นตัวจะเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลต่อการฟื้นตัว เช่น ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศยูโรโซน แต่คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศหลักและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนน่าจะช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตขึ้นในปีนี้ ซึ่งก็จะเป็นปัจจัยส้าคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและท้าให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศรวมทั้งอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมจะสามารถขยายตัวได้ดีกว่าปี 2555

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ