สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (มกราคม — มีนาคม 2556)(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 23, 2013 17:07 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีประมาณ 1,946,736 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.99 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.72 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.70 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ เหล็กแผ่นรีดร้อน มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.31 ซึ่งสาเหตุที่การเปลี่ยนแปลงการผลิตเหล็กชนิดนี้เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศใช้มาตรการปกป้องชั่วคราวจากการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจือ อื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่เพิ่มขึ้น พ.ศ.2556 (Safeguard) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าดังกล่าวลดลง และผู้ใช้หันมาใช้สินค้าในประเทศมากขึ้น เนื่องจากเกรงผลจากการเรียกเก็บอากรชั่วคราวในอัตราร้อยละ 33.11 ของราคา ซี ไอ เอฟ โดยประกาศนี้มี กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน สำหรับเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.35 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า การผลิตโดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.63 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.66 เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.71

ความต้องการใช้ในประเทศ

ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1ปี 2556 มีประมาณ 4,972,258 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็นเหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.14 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.27 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็ก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายการผลิตจากมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ซึ่งถึงแม้จะสิ้นสุดระยะเวลาแล้วแต่ก็ยังมีรถยนต์ที่ยังรอการส่งมอบอีก สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.59 เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมของเอกชน

การนำเข้า- การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 80,721 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 7.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรง ยาว ลดลง ร้อยละ 6.74 โดยเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 17.87 เนื่องจากเมื่อปีที่ผ่านมามีการนำเข้าเหล็กชนิดนี้ในปริมาณที่มาก ส่งผลให้ฐานการคำนวณสูง จึงมีผลทำให้การเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ลดลง สำหรับเหล็กทรงแบน มีการนำเข้าลดลง ร้อยละ 5.76 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 36.36 และ ท่อเหล็กมีตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 24.50 สำหรับเหล็กทรงแบนที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.49 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.98 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ส่งผลให้มีการนำเข้าเหล็กชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าทรงตัว ร้อยละ 0.27 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.81 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.48 ท่อเหล็กมีตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.68 รายละเอียดตามตารางที่ 2

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 7,496 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 22.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรง แบน ลดลง ร้อยละ 44.38 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 74.92 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ43.38 เหล็กแผ่นเคลือบ ลดลง ร้อยละ 37.00 แต่เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.33 โดยเหล็กเส้นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.88 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 4.05 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 53.35 เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 14.21 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 66.25 เหล็กแผ่นเคลือบ ลดลง ร้อยละ 10.23

2. สรุป

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีประมาณ 1,946,736 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.99 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ สำหรับเหล็กแผ่นรีดร้อน มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.31 ซึ่งสาเหตุที่การเปลี่ยนแปลงการผลิตเหล็กชนิดนี้เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศใช้มาตรการปกป้องชั่วคราวจากการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่เพิ่มขึ้น พ.ศ.2556 (Safeguard) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าดังกล่าวลดลง และผู้ใช้หันมาใช้สินค้าในประเทศมากขึ้น เนื่องจากเกรงผลจากการเรียกเก็บอากรชั่วคราวในอัตราร้อยละ 33.11 ของราคา ซี ไอ เอฟ โดยประกาศนี้มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน สำหรับเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.35 สำหรับปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีประมาณ 4,972,258 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.27 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็ก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายการผลิตจากมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ซึ่งถึงแม้จะสิ้นสุดระยะเวลาแล้วแต่ก็ยังมีรถยนต์ที่ยังรอการส่งมอบอีก สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.59 เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมของเอกชน มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 80,721 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 7.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 6.74 โดยเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 17.87 สำหรับเหล็กทรงแบน มีการนำเข้าลดลง ร้อยละ 5.76 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมลดลง ร้อยละ 36.36 และ ท่อเหล็กมีตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 24.50 สำหรับมูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 7,496 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 22.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออก ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 44.38 แต่เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.33

มาตรการของภาครัฐ

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศใช้มาตรการปกป้องชั่วคราวจากการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2556 โดยประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556 โดยเรียกเก็บอากรในอัตราร้อยละ 33.11 ของราคา ซี ไอเอฟ และมาตการนี้มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

3.แนวโน้ม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 2 ปี 2556 คาดการณ์ความต้องการใช้เหล็กปรับตัวสูงขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการขยายการผลิตเนื่องจากมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล ซึ่งถึงแม้จะ สิ้นสุดระยะเวลาแล้วแต่ก็ยังมีรถยนต์ที่ยังรอการส่งมอบอีก และอุตสาหกรรมก่อสร้างจากการที่โครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ขยายตัวอยู่ สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากประเทศจีนยังคงมีการผลิตส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ความต้องการใช้เหล็กของตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ นอกจากนี้ ราคาสินแร่เหล็กก็มีแนวโน้มลดลงด้วยซึ่งจะส่งผลให้แนวโน้มของราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ