การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมลดลงร้อยละ 12.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงถึงร้อยละ 41.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สำหรับปัจจัยค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ จะส่งผลทั้งด้านบวก คือ ทำให้ราคาวัตถุดิบ ในการนำเข้าถูกลง ส่วนผลด้านลบ คือ ทำให้ราคาสินค้าในการส่งออกแพงขึ้น
การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ตารางที่ 1 ) ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 0.60 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 1.10 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 12.53 แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37 เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้อในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่ปัญหาวิกฤตอุทกภัยเริ่มคลี่คลาย ในส่วนดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 6.45 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 9.03
การตลาด
การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (ตารางที่ 2 ) การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ(ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) มีมูลค่าการส่งออก 1,748.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากรวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้มูลค่าการส่งออกในภาพรวมลดลงถึงร้อยละ 12.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงมากถึงร้อยละ 41.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปลดลงมากถึงร้อยละ 87.39 อันเป็นผลจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงในช่วงปลายไตรมาส ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญ โดยผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 630.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอินเดีย คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 41.92 16.95 และ 9.25 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมี ดังนี้
1.1 เพชร ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 420.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.11 25.13 และ 11.48 ตามลำดับ
1.2 พลอย ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 205.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากความต้องการในตลาดส่งออกสำคัญสูงขึ้น และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.72 15.21 และ 5.01 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 963.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.16 19.26 และ 12.47 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมี ดังนี้
2.1 เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 376.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.88 21.40 และ 5.04 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 542.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 3.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.31 21.77 และ 13.54 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 88.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 7.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.99 22.37 และ 10.18 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 32.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น และลดลงร้อยละ 6.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง ออสเตรีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.82 12.22 และ 11.96 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 202.26ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 68.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 87.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณทองคำในตลาดโลกเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาทองคำใน ตลาดโลกปรับตัวลดลง โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.97 31.19 และ 20.53 ตามลำดับ
การนำเข้า
1. เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 932.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับมูลค่าการนำเข้าในภาพรวมอยู่ที่ 7,219.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วยวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่
1.1 เพชร ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 493.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 144.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากราคาเพชรในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมาก และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 10.74 โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และเบลเยี่ยม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.05 13.82 และ 13.29 ตามลำดับ
1.2 พลอย ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 111.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 125.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 18.74, 13.25 และ 11.53 ตามลำดับ
1.3 ทองคำ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 6,287.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 111.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงปลายไตรมาสจึงเป็นจังหวะของการเข้าซื้อ โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.61 14.78 และ 10.51 ตามลำดับ
1.4 เงิน ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 246.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเงินในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.60 23.52 และ 13.67 ตามลำดับ
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 33.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 150.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ประกอบกับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำในปี 2555 โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.15 20.56 และ 16.05 ตามลำดับ
ทั้งนี้ การนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.35 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด
2. เครื่องประดับอัญมณี ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าทั้งสิ้น 173.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 30.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สำคัญ ๆ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 159.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 33.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.84 5.14 และ 4.11 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 13.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.41 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำในปี 2555 โดยแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.95 13.97 และ 8.13 ตามลำดับ
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงพาณิชย์ โดยคณะกรรมการพัฒนาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทย (GCT) ได้จัดทำโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ (Buy with Confidence : BWC) ด้วยการออกใบรับรองมาตรฐานร้านค้าและตราสัญลักษณ์ให้แก่ร้านค้าทอง ร้านค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรมต่อลูกค้า โดยคัดเลือกร้านค้าและบริษัทที่ประกอบการกิจการอัญมณีและเครื่องประดับและร้านทองที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ ขณะนี้มีจำนวนกว่า 563 ราย ที่เข้าร่วมโครงการและมอบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานร้านค้าและตราสัญลักษณ์ BWC นอกจากนี้การดำเนินโครงการดังกล่าวยังได้ประสานกับชมรม (Jewel Fest Club : JFC) ซึ่งเป็นชมรมที่มีชื่อเสียงและได้รับความเชื่อถือจากการซื้อขายอัญมณีในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดังนั้น โครงการนี้จะส่งผลให้นักท่องเที่ยว รวมทั้งชาวไทยมั่นใจในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยมากยิ่งขึ้น
สรุปและแนวโน้ม
สรุป
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ 0.60 และการจำหน่ายหดตัวลดลงร้อยละ 1.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนด้านการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากรวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้มูลค่าการส่งออกในภาพรวม ลดลงถึงร้อยละ 12.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงมากถึงร้อยละ 41.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปลดลงมากถึงร้อยละ 87.39 อันเป็นผลจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงในช่วงปลายไตรมาส ประกอบกับการชะลอตัวขอเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญด้านการนำเข้า (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการนำเข้าวัตถุดิบเพชรขยายตัวร้อยละ 144.30 อันเป็นผลจากราคาเพชรในตลาดโลกปรับตัวลดลง และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการนำเข้าวัตถุดิบเพชรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.74 พลอยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.18 สำหรับมูลค่าการนำเข้าในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.57 เนื่องจากมีการขยายตัวของการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 65.78 อันเป็นผลจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงในช่วงปลายไตรมาส
แนวโน้ม
แนวโน้มการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 คาดว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) เมื่อพิจารณาจากปัจจัยบวก คือ ความสำเร็จจากการจัดงานบางกอกเจมส์ แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 51 ที่เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 2 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมาซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มคำสั่งซื้อให้กับภาคอุตสาหกรรม ในส่วนปัจจัยลบ คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ราคาสินค้าส่งออกแพงขึ้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญ จากปัจจัย บวกและปัจจัยลบดังกล่าว ปัจจัยบวกอาจส่งผลมากกว่า จึงคาดได้ว่าการส่งออกในไตรมาสหน้าจะขยายตัว สำหรับแนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมคาดว่า จะขยายตัวสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.63 ของมูลค่าการ ส่งออกทั้งหมด
ในส่วนแนวโน้มการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) จากปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ จะสง่ ผลให้ราคาวัตถุดิบซึ่งอุตสาหกรรมนี้นำเข้าวัตถุดิบกว่าร้อยละ 90 มีราคาถูกลง ดังนั้น คาดการณ์ได้ว่าการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ จะขยายตัวและส่งผลให้การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--