รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 19, 2013 17:24 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมกราคม 2556
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2556 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555 ร้อยละ0.1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์นม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 67.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.5 ในเดือนธันวาคม 2555
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ 2556

อุตสาหกรรมยานยนต์

  • การผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการผลิตรถยนต์นั่งประกาศแผนการลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่ที่จังหวัดปราจีนบุรี มีมูลค่าการลงทุน 17,150 ล้านบาท กำลังการผลิต 120,000 คันต่อปี โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2556 และจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในปี 2558 ในขณะเดียวกัน โรงงานผลิตรถยนต์ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีการเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 300,000 คันต่อปี ภายในต้นปี 2557

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกุมภาพันธ์ 2556 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ธ.ค. 55 = 175.76

ม.ค. 56 = 175.97

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • น้ำตาล
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ธ.ค. 55 = 63.5

ม.ค. 56 = 67.1

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลัง

การผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน
  • โทรทัศน์สี

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมกราคม 2556 มีค่า 175.97 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555(175.76) ร้อยละ 0.1 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมกราคม 2555 (159.8) ร้อยละ 10.1

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2555 ได้แก่ ยานยนต์ น้ำตาล เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์นม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนมกราคม 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 67.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555 (ร้อยละ 63.5) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมกราคม 2555 (ร้อยละ58.6)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555 ได้แก่ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน โทรทัศน์สี น้ำตาล ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สี Hard Disk Drive เส้นใยสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2556

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2555 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 328 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนธันวาคม 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 306 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 7.19 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 11,981.63 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2555 ซึ่งมีการลงทุน 68,305.05 ล้านบาท ร้อยละ 82.46 มีการจ้างงานจำนวน 6,318 คน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,838 คน ร้อยละ 35.78

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 244 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 34.43 มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,477 คน ร้อยละ 15.36 แต่มียอดเงิน ลงทุนรวมลดลงจากเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีการลงทุน 13,896.98 ล้านบาท ร้อยละ 13.41

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2556 คืออุตสาหกรรมขุดตักดินหรือทราย สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 29 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรม ทำอิฐบล๊อค ทำคอนกรีตอัดแรง ทำคอนกรีตผสมเสร็จ จำนวน 22 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2556 คืออุตสาหกรรม ทำอิฐบล๊อค ทำคอนกรีตอัดแรง ทำคอนกรีตผสมเสร็จ จำนวนเงินทุน 2,093.14 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จำนวนเงินทุน 949.44
ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2556 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จำนวนคนงาน 857 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 512 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2555 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 76 ราย มากกว่าเดือนธันวาคม 2555 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.1 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 665.82 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 934.69 ล้านบาท มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 4,857 คน น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2555 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 6,365 คน ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 93 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 18.28 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนมกราคม 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 737.29 ล้านบาท แต่มีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมกราคม 2555 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,522 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2556 คือ อุตสาหกรรมซ่อมและเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 6 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดตักดินหรือทรายสำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 5 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2556 คืออุตสาหกรรมทำเครื่องเขียนหรือเครื่องวาดภาพ เงินทุน 111 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำอิฐบล๊อค ทำคอนกรีตอัดแรง ทำคอนกรีตผสมเสร็จ เงินทุน 80.17 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2556 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำ เร็จรูป จำ นวนคนงาน 3,085 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผา จำนวนคนงาน 357 คน
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารเดือนกุมภาพันธ์ 2556 คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคม 2556 เป็นผลจากคำ สั่งซื้อจากต่างประเทศที่ปรับลดลงหลังเทศกาล และมีวันทำการน้อยกว่าส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ คาดว่าจะยังทรงตัว จากการที่ประชาชนจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน และเป็นผลด้านจิตวิทยาต่อค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าระดับราคาน้ำมันและราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มจะปรับเพิ่มขึ้น

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมกราคม 2556 ปรับตัวลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 1.8 และ 1.1 ตามลำดับ แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2 และ 20.2 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อชะลอตัวลงจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรปประกอบกับเกิดโรคระบาดในแหล่งผลิตกุ้ง ทำให้ปริมาณวัตถุดิบลดลง แต่หากพิจารณากลุ่มสินค้าสำคัญโดยเปรียบเทียบกับเดือนก่อน เช่น ทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากวัตถุดิบนำเข้าที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ส่วนการผลิตน้ำตาล มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 45.1 แต่ปรับลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.4 จากคุณภาพอ้อยที่ต่ำลงเมื่อพิจารณาจากค่า CCS. (หน่วยวัดความหวานของอ้อย) ที่ลดลง กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นโดย เปรียบเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 27.5 เป็นผลจากมีปริมาณวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากกว่าปกติ ประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเริ่มขยับตัว สูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตสามารถระบายสต็อกที่มีปริมาณสูงได้ และน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตเพิ่มขึ้นโดยเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 18.6 ภายหลังราคาวัตถุดิบ นำเข้าโดยเปรียบเทียบลดลงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนมกราคม 2556 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 8.3 และ 3.4 ตามลำดับ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและราคาน้ำมัน ทำให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมกราคม ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 9.5 เนื่องจากระดับราคาสินค้าส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 จากที่ช่วงเดียวกันปีก่อนเกิดอุทกภัยทำให้การขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือทำได้ลำบาก

3. แนวโน้ม

การผลิตและส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2556 คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคม 2556 ภายหลังเทศกาล ที่คำสั่งซื้อจะชะลอตัวลง ประกอบกับมีวันทำการที่น้อยลงด้วย สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะยังทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน จากการที่ประชาชนจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน และเป็นผลด้านจิตวิทยาต่อค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันและราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“การผลิตและจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอ คาดว่า มีแนวโน้มขยายตัวจากคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดเอเซียและอาเซียน โดยเฉพาะจากจีน และ อาเซียน นำเข้าไปผลิตเพื่อส่งออกไปตลาดอื่น ๆ สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม อาจจะชะลอตัวต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ EU”

1. การผลิต

การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์สำคัญ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน ผ้าขนหนูและเครื่องนอน และผ้าลูกไม้ร้อยละ 0.3, 6.6, 15.8 และ 1.7 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เดียวกัน ร้อยละ 22.9, 17.2, 9.8 และ 10.6 ตามลำดับเนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดเอเซียและอาเซียน โดยเฉพาะจาก จีน อินเดีย เวียดนาม บังคลาเทศ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นโอกาสให้การผลิตเพิ่มสูงขึ้น

การผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน โดยพิจารณาจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และ 3.5 ตามลำดับ จากคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 แต่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอลดลงร้อยละ 8.5 ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกและได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของเครื่องนุ่งห่มไทย ประกอบกับธุรกิจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงาน

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากความต้องการเส้นใยสังเคราะห์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเพิ่มขึ้น สำหรับในกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนตามกำลังซื้อของผู้บริโภคการส่งออกโดยรวม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และ 12.8 ตามลำดับ โดยกลุ่มสิ่งทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ 15.4 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผ้าผืนและด้าย เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อฯ และ สิ่งทออื่น ๆ เนื่องจากความต้องการในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 และ 9.1 ตามลำดับ โดยที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และ 10.6 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม แต่ลดลงในตลาดเยอรมนี สหราชอาณาจักร และ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

3. แนวโน้ม

การผลิตและจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวจากคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดเอเซียและอาเซียนที่ขยายตัว โดยเฉพาะจากจีน อาเซียน เพื่อนำเข้าไปผลิตและส่งออกไปตลาดอื่น ๆ

การผลิตและจำหน่ายกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะชะลอตัวต่อเนื่องจากการที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ชะลอตัว และวิกฤตเศรษฐกิจของตลาดคู่ค้าหลักในสหภาพยุโรป อาจส่งผลให้คำสั่งซื้อจากตลาดกลุ่มนี้เบาบางลง ประกอบกับธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นเพราะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ยกเว้นธุรกิจเครื่องนุ่งห่มที่เน้นคุณภาพหรือเทคนิคเฉพาะทาง

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

คณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้ใช้มาตรการปกป้องชั่วคราว สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน(พิกัด 7225) โดยเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าวจาก ทุกประเทศ เพิ่มขึ้นในอัตรา 33.11% จากอัตราภาษีนำเข้าปกติ โดยมีการยกเว้นให้กับผู้นำเข้าที่ได้รับสิทธิพิเศษสนับสนุนตามกฎหมายการนิคมแห่งประเทศไทยกฎหมายส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายศุลกากร ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 200 วันนับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามและออกประกาศลงราชกิจจานุเบกษา

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 135.48 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.91 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.67 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 102.98 เนื่องจาก เมื่อเดือนก่อนผู้ผลิตรายใหญ่ได้หยุดสายการผลิตประจำปี (Annual Shutdown)เป็นเวลา 14 วัน และในเดือนนี้ผู้ผลิตรายนั้นได้กลับมาผลิตตามปกติ จึงมีผลทำให้การผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนในเดือนนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.00 สำหรับกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่ามีการ ผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.41 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.64 เนื่องจากการขยายตัวของภาคก่อสร้างทั้งโครงการของภาครัฐและเอกชน รองลงมาคือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.59 ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.30 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.65 เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.91

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแท่งแบนเพิ่มขึ้นจาก 108.13 เป็น 115.69 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.99 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 112.92 เป็น 119.17 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.53 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 120.56 เป็น 125.23 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.87 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 125.44 เป็น 123.67 ลดลงร้อยละ 1.41 เหล็กเส้น ลดลงจาก 123.93 เป็น 121.59 ลดลง ร้อยละ 1.89 โดยจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นจะเป็นในส่วนของเหล็กทรงแบนแต่ในส่วนของเหล็กทรงยาวจะมีราคาที่ลดลง

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 คาดว่าการผลิตเหล็กทรงแบนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์นอกจากนี้จากการที่กระทรวงพาณิชย์จะประกาศใช้มาตรการเซฟการ์ดในส่วนของเหล็กแผ่น alloy จะมีผลทำให้การนำเข้าเหล็กดังกล่าวลดลงและส่งผลให้ผู้ผลิตของไทยมีการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของภาครัฐและโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมของภาคเอกชนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการที่ผู้ประกอบการผลิตรถยนต์นั่งประกาศแผนการลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่ที่จังหวัดปราจีนบุรี มีมูลค่าการลงทุน 17,150 ล้านบาท กำลังการผลิต 120,000 คันต่อปี โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ในเดือนกรกฎาคม 2556 และจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในปี 2558 ในขณะเดียวกัน โรงงานผลิตรถยนต์ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีการเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 300,000 คันต่อปีภายในต้นปี 2557

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 เนื่องจากในเดือนมกราคมของปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตยานยนต์ยังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมภายในประเทศ ประกอบกับผู้ประกอบการมีการเร่งผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันการส่งมอบรถยนต์ต่อลูกค้า โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม ดังนี้

1. การผลิตรถยนต์

จำนวน 236,025 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีการผลิต 140,534 คัน ร้อยละ 67.95 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555 ร้อยละ 6.63โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1ตัน

2. การจำหน่ายรถยนต์

จำนวน 124,649 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 77,019 คัน ร้อยละ 61.84 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจาก เดือนธันวาคม 2555 ร้อยละ 13.84 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และ รถยนต์ PPV รวมกับ SUV

3. การส่งออกรถยนต์

จำนวน 86,697 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีการส่งออก 53,591 คัน ร้อยละ 61.78 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนธันวาคม 2555 ร้อยละ 0.46 ซึ่งลดลงในประเทศแถบแอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2556 สำหรับการผลิต รถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 60 และส่งออกร้อยละ 40

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2556 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยมีข้อมูลสภาวะ อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม ดังนี้

1. การผลิตรถจักรยานยนต์

จำนวน 193,143 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีการผลิต 216,850 คัน ร้อยละ 10.93 โดยเป็นการปรับลดลงของการ ผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555 ร้อยละ 5.32 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต

2. การจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 180,253 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 150,036 คัน ร้อยละ 20.14 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2555 ร้อยละ 17.89 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต ทั้งนี้ตลาด ภายในประเทศมีอัตราการขยายสูง ส่วนหนึ่ง เนื่องจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของภาครัฐที่มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น

3. การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU)

จำนวน 23,445 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2555 ซึ่งมีการส่งออก 25,682 คัน ร้อยละ 8.71 และมีปริมาณการส่งออก รถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนธันวาคม 2555 ร้อยละ 11.36

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2556 สำหรับ การผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 87 และส่งออกร้อยละ 13

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน การส่งออกมีแนวโน้มที่ดีจากการขยายตัวของภาคก่อสร้างในบังคลาเทศ โตโก กัมพูชา เวียดนาม ศรีลังกา ลาว และเมียนมาร์”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศในเดือนมกราคม 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.89 และ 11.87 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 และ 17.80 ตามลำดับเมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบกับภาคเอกชนมีการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากทั้งในเขตกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคตะวันออกและ ตะวันออกเฉียงเหนือ

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนมกราคม 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.28 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.17 เมื่อพิจารณาในภาพรวม การส่งออกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศผู้นำเข้าปูนซีเมนต์จากไทยดี ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายประเทศดังกล่าว มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบังคลาเทศ โตโก กัมพูชา เวียดนาม ศรีลังกา ลาว และเมียนมาร์ อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของไทยบางรายจะยังคงลด ปริมาณการส่งออกลงเพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศต่อไป

3.แนวโน้ม

โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน จะทำให้อุปสงค์ต่อปูนซีเมนต์ สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงต้นปีซึ่งเป็นฤดูกาลก่อสร้าง ส่งผลให้แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์สูงขึ้นตามสำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ เนื่องจากตลาดหลักในภูมิภาคอาเซียนของไทย ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ลาวและเมียนมาร์ มีการขยายตัวของภาคก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง และตลาดอื่นๆ อาทิ บังคลาเทศและโตโก ก็กำลังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีส่งผลให้มีการลงทุนก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน และการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมกราคม มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากฐานผลิตในเดือนมกราคมอยู่ในระดับต่ำ(ผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554) และอีกปัจจัยหนึ่งมาจากอุปสงค์และการลงทุนภาครัฐ/เอกชนในประเทศ รวมถึงตลาดส่งออกหลักโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา/อาเซียนที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ม.ค. 2556

เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์               มูลค่า (ล้านเหรียญฯ)          %MoM           %YoY
เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ        1,393.72                -0.56          29.18
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี                  491.31               -25.75          45.81
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                345.28                 9.53          15.88
เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ            303.67                -6.61          34.78
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์            4,119.39                -3.60          25.73
ที่มา กรมศุลกากร
          1.การผลิต
          ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมกราคม 2556 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 244.83 ลดลงร้อยละ 7.78 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.72 ส่วนหนึ่งมาจากฐานการผลิตในเดือนมกราคมอยู่ในระดับต่ำ (จากผลกระทบอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554) ทั้งนี้ อีกปัจจัยหนึ่งมาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศทำให้การจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะจากภาวะการก่อสร้างทั้งของเอกชนในโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย(บ้าน คอนโดมิเนียม) และภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัว รวมถึงการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน และในส่วนของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์การผลิตเริ่มกลับมาผลิตได้มากขึ้น ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับ Smart Phone/Tablet ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.94 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ลดลงร้อยละ 11.82เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มในทุกกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
          2. การส่งออก
          มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมกราคม 2556 มีมูลค่า4,119.39 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.60 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.73 โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,734.62 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.74 ซึ่งตลาดหลักทุกตลาดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีนอาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดได้แก่เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 345.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.53 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนรองลงมาคือ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 303.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.61 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,384.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.11 เมื่อ
เทียบกับเดือนก่อนแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.82 โดยตลาดหลักส่วนใหญ่มีการขยายตัว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน ยกเว้นจีนและญี่ปุ่นที่มีการปรับตัวลดลง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 1,393.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.56 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.18 สำหรับวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลีมีมูลค่าส่งออก 491.31ล้านเหรียญสหรัฐฯมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 25.75 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.81
          3. แนวโน้ม
          ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกุมภาพันธ์ 2556 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 19เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          --สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ