รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 20, 2013 14:55 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนเมษายน 2556
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2556 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ18.7และลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนเมษายน 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.3 ลดลงจากร้อยละ 71.0 ในเดือนมีนาคม 2556

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนพฤษภาคม 2556

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
  • การผลิตและจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวจากคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดเอเซียและอาเซียนที่ขยายตัว เพื่อนำเข้าไปผลิตและส่งออกไปตลาดอื่น ๆ
  • การผลิตและจำหน่ายกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะมีโอกาสดีขึ้น เนื่องจากถึงฤดูกาลเปิดภาคเรียนใหม่ ผู้ปกครองจำเป็นต้องซื้อชุดนักเรียนใหม่ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นความต้องการภายในเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อที่มีแนวโน้มดีขึ้น ภายหลัง

ค่าเงินบาทได้เริ่มอ่อนค่าลง

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2556 เทียบกับเดือนก่อน คาดว่าการผลิตทั้งเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาวจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากราคาเหล็กมีแนวโน้มลดลงจึงทำให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าตามความต้องการใช้เท่านั้น จะไม่สต๊อกไว้ในปริมาณมากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
  • แนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามปริมาณการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จะทำให้บริษัทผู้ผลิตยังคงสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้นต่อไป
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

มี.ค. 56 = 195.7

เม.ย. 56 = 159.2 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • น้ำตาล
- อัตราการใช้กำลังการผลิต

มี.ค. 56 = 71.0

เม.ย. 56 = 60.3 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • ผลิตภัณฑ์ยาง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2556 มีค่า 159.2 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556(195.7) ร้อยละ 18.7 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนเมษายน 2555 (165.5) ร้อยละ 3.8

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2556 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive น้ำตาล เบียร์ เครื่องประดับเพชรพลอย เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนเมษายน 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.3 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 (ร้อยละ 71.0) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนเมษายน 2555 (ร้อยละ 59.4)
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สี เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เส้นใยสิ่งทอ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2556

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2556 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 361 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมีนาคม 2556 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 350 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 3.14 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 29,190.48 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ซึ่งมีการลงทุน 33,903.60 ล้านบาท ร้อยละ 13.9 มีการจ้างงานจำนวน 7,765 คน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,988 คน ร้อยละ 13.61 ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 298 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 21.14 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีการลงทุน 5,384.80 ล้านบาท ร้อยละ 442.09 และมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,011 คน ร้อยละ 54.96

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2556 คืออุตสาหกรรมขุดลอกดินสำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 45 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ท่อ เสาเข็ม จำนวน 38 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2556 คือ อุตสาหกรรม ผลิตส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า จำนวนเงินทุน 10,018 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนรถยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนเงินทุน 6,483.68 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2556 คืออุตสาหกรรมห้องเย็น ห้องแช่แข็ง จำนวนคนงาน 1,057 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ทำชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนรถยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวนคนงาน 804 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2556 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 63 ราย น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2556 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.0 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 502.33 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2556 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,318.61 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน
จำนวน 2,881 คน น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2556 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,587 คนภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 80 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 21.25 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนเมษายน 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,518.79 ล้านบาท แต่มีการเลิกจ้างมากกว่าเดือนเมษายน 2555 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,388 คน
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2556 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 8 โรงงานรองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดลอกดินสำหรับใช้ในการก่อสร้าง และ อุตสาหกรรมทำวงกบ
ขอบประตู ขอบหน้าต่าง บานประตู บานหน้าต่าง ทั้ง 2 อุตสาหกรรม จำนวน 4 โรงงานเท่ากัน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2556 คืออุตสาหกรรมทำน้ำตาลทรายแดง เงินทุน 90.0 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าหรือชิ้นส่วนรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง พลาสติก เงินทุน 55.0 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2556คือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าหรือชิ้นส่วนรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง พลาสติกจำนวนคนงาน 1,327 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม กระเป๋า และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้จากผ้า จำนวนคนงาน 278 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — เมษายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 747 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 593 โครงการ ร้อยละ 25.97 และมีเงินลงทุน 509,700 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 282,400 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 80.49

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — เมษายน 2556
การร่วมทุน                            จำนวน               มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)

(โครงการ)

1.โครงการคนไทย 100%                  296                   144,200
2.โครงการต่างชาติ 100%                 261                    80,000
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ           190                   285,600
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — เมษายน 2556 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 246,100 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม

124,100 ล้านบาท

1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เป็นผลจากคำ สั่งซื้อที่มีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนการจำ หน่ายในประเทศ คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น จากการที่ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเดือนก่อน

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายน 2556 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 28.5 และ 19.3 ตามลำดับ ตามฤดูกาลการผลิต แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 22.2 จากราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้น และหากพิจารณาสินค้าสำคัญโดยเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เช่น กุ้ง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 51.4 เป็นผลจากการเกิดโรคระบาดในแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง ส่งผลให้ต้องพักบ่อเพื่อกักกันโรค ซึ่งทำให้มีวัตถุดิบป้อนสู่โรงงานลดลงกลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 13.6 เนื่องจากสต็อกมีอยู่ในปริมาณมาก ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 88.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งผลิตในช่วงเดือนก่อน ส่วนอาหารไก่ การผลิตชะลอตัวลง เนื่องจากมีการชะลอการเลี้ยงไก่ และราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้น

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนเมษายน 2556 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 8.7 และ 17.7 ตามลำดับ

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายน 2556 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อน ร้อยละ 3.6 และ 19.4 ตามลำดับเนื่องจากคำสั่งซื้อที่ชะลอลงจากความผันผวนของเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้า และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับระดับราคาสินค้าหลายอย่างในตลาดโลกปรับตัวลดลง

3. แนวโน้ม

การผลิตและส่งออก คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ภายหลังค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการที่ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเดือนก่อน

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“การผลิตและจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มคาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งจากตลาดเอเซียและอาเซียนยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ประกอบกับค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง”

1. การผลิต

  • การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนเมษายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในผลิตภัณฑ์สำคัญ ๆ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืนผ้าขนหนูและเครื่องนอน และสิ่งทออื่น ๆ (ยางยืด) ร้อยละ 8.5 11.7 1.9 และ18.3 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอและสิ่งทออื่น ๆ (ยางยืด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 และ 25.1 ตามลำดับ เนื่องจากฐานการผลิตที่ต่ำในปีที่ผ่านมา ประกอบกับมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดเอเซียและอาเซียน โดยเฉพาะจากอินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และเวียดนาม ส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพิ่มสูงขึ้น
  • การผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนปริมาณการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักและผ้าทอ ลดลงร้อยละ 16.3 และ 10.8ตามลำดับ ซึ่งลดลงตามคำสั่งซื้อทั้งจากภายในและต่างประเทศ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักเพิ่มขึ้นร้อยละ2.1 ในขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอลดลงร้อยละ 5.7 จากคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกหลักทั้ง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ลดลง

2. การจำหน่าย

ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอในประเทศ ส่วนใหญ่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลง ประกอบกับปริมาณสินค้าในสต๊อกมีค่อนข้างมาก สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอลดลงเช่นกันร้อยละ 5.8 และ 16.4 ตามลำดับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวมมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสิ่งทอ และกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ลดลงร้อยละ 10.9 และ 14.9 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มูลค่ากลุ่มสิ่งทอขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน ในขณะที่การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากคำสั่งซื้อชะลอตัวจากความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าหลักในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

3. แนวโน้ม

  • การผลิตและจำหน่ายกลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวจากคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดเอเซียและอาเซียนที่ขยายตัว เพื่อนำเข้าไปผลิตและส่งออกไปตลาดอื่น ๆ
  • การผลิตและจำหน่ายกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะมีโอกาสดีขึ้นเนื่องจากถึงฤดูกาลเปิดภาคเรียนใหม่ ผู้ปกครองจำเป็นต้องซื้อชุดนักเรียนใหม่ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นความต้องการภายในเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อที่มีแนวโน้มดีขึ้น ภายหลังค่าเงินบาทได้เริ่มอ่อนค่าลง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

บริษัท Posco Coated & Color Steel ร่วมกับบริษัท Myanmar Economic Holdings Ltd. ซึ่งดำเนินการโดยทหารพม่า จัดตั้งโรงงานผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสี ชื่อว่า Myanmar-Posco C&C มีกำลังการผลิตประมาณ 50,000 - 60,000 ตันต่อปี โดยจะเริ่มดำเนินการผลิตใน เดือนตุลาคม 2014 โดยเป็นการผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้เหล็กแผ่นเคลือบสีสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศ

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2556 ชะลอตัวลง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 116.63 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 20.92 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 19.64 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 35.77 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 21.01 โดยเป็นผลมาจากลูกค้าชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากติดเทศกาลวันหยุดต่อเนื่อง ผู้ผลิตจึงวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อ สำหรับกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่าผลิตลดลง ร้อยละ 16.82 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ31.12 และเหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 17.67 ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 1.19 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตลดลง ร้อยละ 1.32 แต่เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.01

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนเมษายน 2556เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กทุกตัวมีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง โดยเหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 120.93 เป็น 111.62 ลดลง ร้อยละ 7.70 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 119.17 เป็น 115.79 ลดลง ร้อยละ 2.84 เหล็กแท่งเล็ก Billetลดลงจาก 124.70 เป็น 121.22 ลดลง ร้อยละ 2.79 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจา 127.10 เป็น 125.23 ลดลง ร้อยละ 1.47 เหล็กเส้น ลดลงจาก 122.34 เป็น 121.80 ลดลง ร้อยละ 0.44 เนื่องจากราคาเศษเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบขั้นต้นการผลิตในภูมิภาคสำคัญของโลกลดลง เช่น ในประเทศตุรกี ราคาเศษเหล็กนำเข้าปรับลดลง 8-10 เหรียญสหรัฐฯ และในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาปรับลดลงประมาณ 20-25 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นจากการที่ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้โรงเหล็กในประเทศพยายามส่งออกมากกว่าขายในประเทศ มีผลให้เศษเหล็กในตลาดโลกมากขึ้น สำหรับประเทศจีนเนื่องจากช่วงนี้ความต้องการเหล็กที่ใช้สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์น้อยลงโดยมีสาเหตุจากการลงทุนที่ชะลอตัวลงและโครงการสร้างรางรถไฟที่ล้าช้า

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2556 เทียบกับเดือนก่อน คาดว่าการผลิตทั้งเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาวจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากราคาเหล็กมีแนวโน้มลดลง จึงทำให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าตามความต้องการใช้เท่านั้น จะไม่สต๊อกไว้ในปริมาณมาก

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2556 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ทำการผลิตรถยนต์ เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าในโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับความนิยมอย่างต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัทรถยนต์ที่มีมาตั้งแต่ต้นปี 2556 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน ดังนี้

1. การผลิตรถยนต์

จำนวน 170,451 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีการผลิต 145,179 คัน ร้อยละ 17.41 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 33.48 เนื่องจากเดือนเมษายนมีเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน จึงมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลง ทั้งนี้เป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

2. การจำหน่ายรถยนต์

จำนวน 109,673 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 87,788 คัน ร้อยละ 24.93 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือน มีนาคม 2556 ร้อยละ 30.38 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV

3. การส่งออกรถยนต์

จำนวน 67,641 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีการส่งออก55,433 คัน ร้อยละ 22.02 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนียแอฟริกา ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้ แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 34.16 ซึ่งลดลงในประเทศแถบเอเชียโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2556 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2556 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 61 และส่งออกร้อยละ 39

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2556 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ เกษตรกรที่แท้จริง และดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่มีการปรับลดลง โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนเมษายน ดังนี้

1. การผลิตรถจักรยานยนต์

จำนวน 178,259 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีการผลิต 189,475 คัน ร้อยละ 5.92 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิต รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 14.03 เนื่องจากเดือนเมษายนมีเทศกาล วันหยุดยาวหลายวัน จึงมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลง ทั้งนี้เป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบ สปอร์ต

2. การจำหน่ายรถจักรยานยนต์

จำนวน 169,030 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 157,515 คัน ร้อยละ 7.31 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของ รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 11.54 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์และแบบสปอร์ต

3. การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU)จำนวน 20,709 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2555 ซึ่งมีการส่งออก 23,737 คัน ร้อยละ 12.76 ซึ่งลดลงในประเทศสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 27.11 ซึ่งลดลงในประเทศสหราชอาณาจักรญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2556 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2556 สำหรับการผลิต รถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 85 และส่งออกร้อยละ 15

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และภาคเอกชนมีการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องการส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อย และแนวโน้มความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่สูงขึ้น จะส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ยังคงลดปริมาณการส่งออกลง เพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศต่อไป”

การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนเมษายน 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ลดลงร้อยละ 3.13 และ 18.92 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.94 และ 8.94 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้ดีโดยปริมาณการผลิตและยอดการจำหน่ายในประเทศจะลดลงในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีอยู่แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวหลายวัน อย่างไรก็ตาม มาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องของภาคเอกชน โดยเฉพาะในธุรกิจคอนโดมิเนียม ซึ่งเน้นพื้นที่บริเวณแนว รถไฟฟ้าและเขตหัวเมืองใหญ่เป็นหลัก ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้นเรื่อยๆ

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนเมษายน 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 9.13 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อน ลดลงร้อยละ 5.30 เมื่อพิจารณาในภาพรวม การส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลดลง ประกอบกับการแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของค่าเงินบาทที่เริ่มมีผลกระทบ โดยไทยเสียตลาดบางส่วนไปเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันในเรื่องของราคาได้ นอกจากนี้ แนวโน้มความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่สูงขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของไทยหลายรายลดปริมาณการส่งออกลง ทั้งนี้ เพื่อสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศต่อไป

แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และภาคเอกชนมีการขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องสำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามปริมาณการผลิตที่จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จะทำให้บริษัทผู้ผลิตยังคงสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้นต่อไป

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนเมษายน มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการในตลาดอิเล็กทรอนิกส์เริ่มชะลอตัวลง โดยเฉพาะในตลาดจีน

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน เม.ย. 2556

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์                    มูลค่า (ล้านเหรียญฯ)          %MoM           %YoY
          อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์                 1,444.1               -15.8          -12.4
          วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี                        526.8               -23.8            0.4
          เครื่องปรับอากาศ                                  356.9               -20.8           14.5
          กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่งวีดีโออื่นๆ      188.6                34.8           -6.1
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์                  4,304.6               -14.1           -0.7

          1.การผลิต
          ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนเมษายน 2556 ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 13.1 ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 15.4เนื่องจากความต้องการในตลาดอิเล็กทรอนิกส์เริ่มชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากกลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีการปิดสายการผลิตโทรทัศน์จอ CRT ไปเกือบหมดแล้ว แต่ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์มีการขยายตัวมากถึงร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
          2. การส่งออก
          มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนเมษายน 2556 มีมูลค่า 4,304.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.7 โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,883.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ซึ่งมาจากตลาดสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับตลาดสหรัฐอเมริกา อยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 356.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รองลงมาคือ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ มีมูลค่าส่งออก 188.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,420.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 4.3 โดยตลาดหลักที่มีการปรับตัวลดลง เช่น สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น อาเซียน ขณะที่สหรัฐอเมริกามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.7 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าส่งออก 1,444.1ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 15.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 12.4 สำหรับวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลีมีมูลค่าส่งออก 526.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 23.8 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
          3. แนวโน้ม
          ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤษภาคม2556 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          --สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ