รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 20, 2013 16:34 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมิถุนายน 2556
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2556 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2556 ร้อยละ0.9 แต่ลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ โทรทัศน์สีและวิทยุ
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.1 ลดลงจากร้อยละ 65.8 ในเดือนพฤษภาคม 2556
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกรกฎาคม 2556
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2556 เทียบกับเดือนก่อนคาดว่าการผลิตทั้งเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาวจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย โดยในส่วนของเหล็กแผ่นรีดร้อนการผลิตอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลทางบวกจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด แต่แนวโน้มการผลิตโดยรวมจะขยายตัวเล็กน้อยเนื่องจากราคาในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง จึงเป็นการจูงใจให้ลูกค้านำเข้าเหล็กมาจากต่างประเทศ
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกรกฎาคม2556 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะปรับลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังไม่ฟื้นตัว และมีสัญญาณการชะลอตัวของการนำเข้าส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแสดงว่าการผลิตเพื่อการส่งออกในอนาคตจะยังไม่เพิ่มขึ้นขึ้น
ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2556

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 170.4 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (181.0) ร้อยละ 5.9 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 (179.8) ร้อยละ 5.2

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ น้ำตาล Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องประดับและเพชรพลอย เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป โทรทัศน์สีและวิทยุ เป็นต้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2555 ร้อยละ 1.1 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป โทรทัศน์สีและวิทยุ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.4 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 67.1) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 (ร้อยละ 65.2)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Hard Disk Drive อาหารสัตว์สำเร็จรูป โทรทัศน์สีและวิทยุ เป็นต้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2555 โดย อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สีและวิทยุ เส้นใยสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2556

ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมปี 2556 นั้น คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI จะขยายตัว ในช่วงร้อยละ 0.5 - 1.0 จากปัจจัยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยการประเมินครั้งนี้มาจากสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่บาร์เรลละ 100-110 เหรียญสหรัฐ และค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30-31 บาทต่อเหรียดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2556

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

(มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 170.4 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (181.0) ร้อยละ 5.9 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 (179.8) ร้อยละ 5.2

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ น้ำตาล Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องประดับและเพชรพลอย เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป โทรทัศน์สีและวิทยุ เป็นต้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2555 ร้อยละ 1.1 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป โทรทัศน์สีและวิทยุ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.4 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 67.1) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 (ร้อยละ 65.2)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2555 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Hard Disk Drive อาหารสัตว์สำเร็จรูป โทรทัศน์สีและวิทยุ เป็นต้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2555 โดย อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สีและวิทยุ เส้นใยสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2556

ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมปี 2556 นั้น คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI จะขยายตัว ในช่วงร้อยละ 0.5 - 1.0 จากปัจจัยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยการประเมินครั้งนี้มาจากสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่บาร์เรลละ 100-110 เหรียญสหรัฐ และค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30-31 บาทต่อเหรียญสหรัฐสหรัฐ

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

พ.ค. 56 = 175.2

มิ.ย. 56 = 176.8

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • เสื้อผ้าสำเร็จรูป
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

พ.ค. 56 = 65.8

มิ.ย. 56 = 64.1

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน
  • เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2556 มีค่า 176.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2556 (175.2) ร้อยละ 0.9 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมิถุนายน 2555 (183.3) ร้อยละ 3.5

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2556 ได้แก่ Hard Disk Drive เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก แปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ โทรทัศน์สีและวิทยุ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนมิถุนายน 2556 อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.1 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2556 (ร้อยละ 65.8) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมิถุนายน 2555 (ร้อยละ 66.8)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2556 ได้แก่ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เยื่อกระดาษ กระดาษและกระดาษแข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ โทรทัศน์สีและวิทยุ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง อาหารสัตว์สำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Hard Disk Drive เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2556

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2556 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 402 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2556 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 358 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากว่าร้อยละ 12.29 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 54,470.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2556 ซึ่งมีการลงทุน 30,198.98 ล้านบาท ร้อยละ 80.37 และมีการจ้างงานจำนวน 10,319 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2556 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,821 คน ร้อยละ 16.98

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 261 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 54.02 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีการลงทุน 8,499.14 ล้านบาท ร้อยละ 540.89 แต่มีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนมิถุนายน 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 13,109 คน ร้อยละ 21.28

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2556 คือ อุตสาหกรรมขุดตักดิน สำหรับใช้ในการก่อสร้างจำนวน 34 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ซ่อมรถยนต์และพ่นสีรถยนต์ จำนวน 29 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2556 คือ อุตสาหกรรม ผลิตส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า จำนวนเงินทุน 23,502.82 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตบุหรี่สำเร็จรูป จำนวนเงินทุน 15,270.00 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2556 คือ อุตสาหกรรม ผลิตบุหรี่สำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,800 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ซ่อมรถยนต์และพ่นสีรถยนต์ จำนวนคนงาน 609 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2556 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 88 ราย น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2556 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 110 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.0 มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 1,819 คน น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2556 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,645 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 6,631.8 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2556 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,677.45 ล้านบาท

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 102 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 13.73 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 16,067.41 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2555 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,767 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2556 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 11 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และพ่นสีรถยนต์ จำนวน 8 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2556 คือ อุตสาหกรรมทำนมข้น นมผง หรือนมระเหยน้ำ เงินทุน 5,650.0 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และพ่นสีรถยนต์ จำนวน 339.86 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2556 คือ อุตสาหกรรมเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือแปรรูปไม้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกัน จำนวนคนงาน 325 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม จำนวนคนงาน 186 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม - มิถุนายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.ทั้งสิ้น 1,055 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 997 โครงการ ร้อยละ 5.82 และมีเงินลงทุน 632,700 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 429,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.41

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม - มิถุนายน 2556
  การร่วมทุน                       จำนวน(โครงการ)           มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100%                   394                     206,700
2.โครงการต่างชาติ 100%                  386                     116,900
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ            275                     309,100
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม - มิถุนายน 2556 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 302,200 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 148,400 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าส่วนการจำหน่ายในประเทศ คาดว่าจะปรับตัวลดลง จากการที่ประชาชนมีภาระเพิ่มขึ้นในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้องปรับการจับจ่ายใช้สอย

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมิถุนายน2556 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 และ 14.1 ตามลำดับ แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตชะลอตัวลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 หลังจากที่ผลิตเพิ่มขึ้นในเดือนก่อนจากคำสั่งซื้อที่ดีขึ้น และหากพิจารณาสินค้าสำคัญโดยเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เช่น กุ้ง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 59.0 เป็นผลจากการเกิดโรคระบาดในแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง ส่งผลให้ต้องพักบ่อเพื่อกักกันโรค ซึ่งทำให้มีวัตถุดิบป้อนสู่โรงงานลดลง

กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีการผลิตชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 19.4 และ 18.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีสต็อกอยู่ในปริมาณสูง ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 22.4 เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่ลดลง ส่วนอาหารไก่ การผลิตชะลอตัวลง เนื่องจากมีการชะลอการเลี้ยงไก่ และราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงขึ้น

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนมิถุนายน 2556 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 26.3 และ 13.7 ตามลำดับ

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมิถุนายน 2556 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.8 และ 14.8 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ชะลอลงจากความผันผวนของเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้า และระดับราคาสินค้าหลายอย่างในตลาดโลกปรับตัวลดลง

3. แนวโน้ม

การผลิตและส่งออก คาดว่า จะปรับชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เนื่องจากข่าวการปรับลดการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลทางจิตวิทยาไปยังเศรษฐกิจโลก ประกอบกับเศรษฐกิจสหภาพยุโรปยังคงซบเซา ทำให้แนวโน้มของคำสั่งซื้อปรับชะลอตัวลง แม้ว่าค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวลดลง จากการที่ประชาชนมีภาระเพิ่มขึ้นในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้องปรับการจับจ่ายใช้สอย

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
" การผลิต การจำหน่าย และการส่งออกผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะปรับตัวในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะมีคำสั่งซื้อในช่วงไตรมาสที่ 3 สูงขึ้นเป็นประจำทุกปี เนื่องจากต่างประเทศจะมีการนำเข้าสินค้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่..."

1. การผลิต

  • การผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอเดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน ผ้าขนหนูและเครื่องนอน ผ้าลูกไม้ และสิ่งทออื่น ๆ (ยางยืด) ร้อยละ 0.2 5.4 3.3 12.4 และ 6.5 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงค่อนข้างมากจากอินโดนีเซีย อินเดีย และปากีสถาน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผ้าผืน ผ้าขนหนูและเครื่องนอน ผ้าลูกไม้ และสิ่งทออื่น ๆ (ยางยืด) ลดลงเช่นกันร้อยละ 12.9 14.5 16.1 และ 1.6 ตามลำดับ ยกเว้นเส้นใยสิ่งทอฯ ที่ตลาดยังมีความต้องการเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป ทำให้การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5
  • การผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 และ 17.3 ตามลำดับ จากความต้องการบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักลดลงร้อยละ 3.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกหลักทั้งญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปลดลง แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 โดยเพิ่มในตลาดสหรัฐอเมริกา และอาเซียน

2. การจำหน่าย

  • ปริมาณการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอในประเทศลดลงทุกผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเดือนเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับการผลิต ในส่วนการจำหน่ายกลุ่มเครื่องนุ่งห่มในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ผลิตจากผ้าถักเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.7 และจากผ้าทอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.9เมื่อเทียบกับเดือนก่อน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวมลดลง ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสิ่งทอลดลง ร้อยละ 6.5 ในขณะที่กลุ่มเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.8 แต่หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่มโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7 เป็นผลจากมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสิ่งทอขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ในขณะที่มูลค่าของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 5.9 จากคำสั่งซื้อชะลอตัวตามความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าหลักในกลุ่มสหภาพยุโรป และอาเซียน

3. แนวโน้ม

  • การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะมีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น การส่งออกในผลิตภัณฑ์หลัก ๆ จะขยายตัวดีขึ้น และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแม้ว่าตัวเลขการผลิต และการส่งออกจะยังติดลบแต่ติดลบในสัดส่วนที่ลดลง ประกอบกับเริ่มมีคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดเอเซีย และอาเซียนเข้ามา เพื่อเตรียมสินค้าไว้จำหน่าย ช่วงปลายปี
  • การผลิต การจำหน่าย และการส่งออกผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม คาดว่า จะปรับตัวในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะมีคำสั่งซื้อในช่วงไตรมาสที่ 3 สูงขึ้นเป็นประจำทุกปี เนื่องจากต่างประเทศจะมีการนำเข้าสินค้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

จากการประชุมคณะกรรมการเหล็กของ OECD ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2556 ทางเลขานุการฯ ของที่ประชุมได้ชี้ให้ที่ประชุมเห็นถึงประเด็นว่าการผลิตส่วนเกินของอุตสาหกรรมเหล็กโลกที่มีในปริมาณมากโดยในปี 2555 มีปริมาณการผลิตเหล็กดิบส่วนเกินอยู่ 542 ล้านตัน โดยมาจากจีน 200 ล้านตันและจากกลุ่มประเทศ OECD ประมาณ 112 ล้านตัน ที่เหลือมาจากประเทศอื่นๆ ดังนั้น จึงเป็นการลำบากที่ตลาดจะสามารถเติบโตได้ทันกับการผลิตส่วนเกินนี้ โดยเฉพาะช่วงนี้ตลาดประสบปัญหาการชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล็กต่อไป

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมิถุนายน 2556 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 128.57 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 1.32 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 6.75 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 18.43 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 17.64 สำหรับกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่าผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.63 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.79 รองลงมาคือ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.39 โดยเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองการขยายตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนและการก่อสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.51 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.13 แต่เหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 9.60

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมิถุนายน 2556 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง โดยเหล็กเส้น ลดลงจาก 120.21 เป็น 104.46 ลดลง ร้อยละ 13.10 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 117.75 เป็น 111.21 ลดลง ร้อยละ 5.55 เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 104.65 เป็น 101.16 ลดลง ร้อยละ 3.33 เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 117.88 เป็น 115.05 ลดลง ร้อยละ 2.40 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 110.56 เป็น 108.71 ลดลง ร้อยละ 1.67 เนื่องจากสภาวะตลาดเหล็กโลกยังคงชะลอตัวอยู่ ประกอบกับปัญหากำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังคงไม่ได้แก้ไข นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากปัญหาเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวและวิกฤตหนี้ในยุโรป ทำให้คาดว่าการชะลอตัวของตลาดเหล็กมีแนวโน้มว่าจะนาน ซึ่งส่งผลให้ราคาเหล็กอาจฟื้นตัวยาก

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2556 เทียบกับเดือนก่อนคาดว่าการผลิตทั้งเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาวจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย โดยในส่วนของเหล็กแผ่นรีดร้อนการผลิตอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลทางบวกจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด แต่แนวโน้มการผลิตโดยรวมจะขยายตัวเล็กน้อยเนื่องจากราคาในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง จึงเป็นการจูงใจให้ลูกค้านำเข้าเหล็กมาจากต่างประเทศ

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2556 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน ดังนี้

1.การผลิตรถยนต์ จำนวน 217,110 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีการผลิต 208,755 คัน ร้อยละ 4.00 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2556 ร้อยละ 6.37 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

2.การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 106,018 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 123,471 คัน ร้อยละ 14.14 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2556 ร้อยละ 3.85 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV

3.การส่งออกรถยนต์ จำนวน 96,182 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีการส่งออก 94,907 คัน ร้อยละ 1.34 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบโอเชียเนีย แอฟริกา และยุโรป และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2556 ร้อยละ 11.09 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้

4.แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2556 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2556 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 56 และส่งออกร้อยละ 44

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2556 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนมิถุนายน ดังนี้

1.การผลิตรถจักรยานยนต์

จำนวน 208,074 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีการผลิต 231,728 คัน ร้อยละ 10.21 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2556 ร้อยละ 4.15 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว

2.การจำหน่ายรถจักรยานยนต์

จำนวน 190,337 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีการจำหน่าย 214,109 คัน ร้อยละ 11.10 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์ แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม2556 ร้อยละ 0.42 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต

3.การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU)

จำนวน 29,273 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งมีการส่งออก 28,069 คัน ร้อยละ 4.29 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2556 ร้อยละ 4.02 ซึ่งลดลงในประเทศอินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย

4.แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2556 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2556 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกาคม 2556 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 84 และส่งออกร้อยละ 16

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
"อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากมาตรการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องของภาคเอกชน การส่งออกปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ชะลอการส่งออกลง เพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศต่อไป"

การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ลดลงร้อยละ 1.51 และ 4.57 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.40 และ 10.76 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้ดีโดยปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศปรับลดลงเพียงเล็กน้อยตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร รวมถึงต้นทุนการขนส่งและค่าแรงที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อราคาปูนซีเมนต์ในระยะต่อไป โดยในขณะนี้ บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์บางรายได้ปรับขึ้นราคาปูนซีเมนต์แล้ว โดยปรับขึ้นประมาณ 100-200 บาทต่อตัน

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 25.92 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 17.03

เมื่อพิจารณาในภาพรวม การส่งออกปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ถึงแม้ว่าประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย อาทิ เมียนมาร์ กัมพูชา บังคลาเทศและลาว จะมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของไทยหลายรายจึงมีนโยบายชะลอการส่งออกลง เพื่อสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศต่อไป

แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม มาตรการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของภาคเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจก่อสร้างในต่างจังหวัด ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ให้ขยายตัวดีขึ้นต่อไป

สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี อาจส่งผลทำให้บริษัทผู้ผลิตยังคงสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้นต่อไป

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของทั้งอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการในตลาดหลักชะลอตัวลง โดยเฉพาะจีน สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน มิ.ย. 2556

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์                    มูลค่า (ล้านเหรียญฯ)          %MoM           %YoY
          อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์                1,402.9                 -4.3          -26.1
          วงจรรวมและไมโครแอส แซมบลี                      723.7                 29.6           17.3
          เครื่องปรับอากาศ                                 346.9                 -2.8           -5.9
          กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ    161.1                -18.9          -28.2
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์                4,502.4                 -1.3          -11.0
          ที่มา สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2556 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 275.21 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.6 ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 โดยมาจาก Hard Disk Drive เป็นหลัก เนื่องจากเดือนนี้มีจำนวนวันทำงานมากกว่าเดือนที่ผ่านมาอยู่ 1 สัปดาห์ (ตามหลักการนับจำนวนวันทำงานของค่ายสหรัฐอเมริกา) ซึ่งจะ ส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นจากการใช้เงินล่วงหน้าไปแล้วกับนโยบายของภาครัฐและตลาดส่งออกชะลอตัวลง ยกเว้นสายไฟฟ้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการที่ภาครัฐมีการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในประเทศ

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมิถุนายน 2556 มีมูลค่า 4,502.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 11.0 โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,893.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 10.1 ซึ่งการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทุกตลาดปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 26.3 และ 26.0 ยกเว้นตลาดอาเซียนที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 346.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ มีมูลค่าส่งออก 161.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 28.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,608.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 11.7 ซึ่งตลาดหลักทั้งหมดมีการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจีนและสหภาพยุโรปซึ่งปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 43.4 และ 18.3 ตามลำดับ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าส่งออก 1,402.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 4.3 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 26.1 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็วจากการเติบโตของสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ทำให้ความต้องการใช้ HDD ลดลง สำหรับวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลีมีมูลค่าส่งออก 723.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 29.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกรกฎาคม2556 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะปรับลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังไม่ฟื้นตัว และมีสัญญาณการชะลอตัวของการนำเข้าส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแสดงว่าการผลิตเพื่อการส่งออกในอนาคตจะยังไม่เพิ่มขึ้น

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ