สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2557 (มกราคม – มีนาคม 2557)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 8, 2014 15:25 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาส 1 ปี 2557 หดตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากในปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการเร่งผลิตรถยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศซึ่งเป็นผลจากนโยบายรถยนต์คันแรก ทำให้มีฐานที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค
  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2557 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 54 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 7,382.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2,740 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการที่มี เงินลงทุนไม่เกิน 250 ล้านบาท (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2557 จาก FOURIN)
  • อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในเดือนมกราคมของปี 2557 มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 6,681,010 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.23 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 5,071,120 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,609,890 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.26 และ 1.13 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2557 จำนวน 2,051,665 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.71 ของปริมาณ การผลิตรถยนต์ทั้งโลก สหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2557 จำนวน 900,867 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.48 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และญี่ปุ่นมีการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2557 จำนวน 860,854 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.89 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก
  • การจำหน่ายรถยนต์โลกในเดือนมกราคม ปี 2557 มีการจำหน่ายรถยนต์ 6,429,733 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.27 เป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,494,816 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.93 แต่การจำหน่ายรถยนต์นั่ง 4,933,425 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.25 เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญพบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม 2557 จำนวน 2,156,355 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.54 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก สหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม 2557 จำนวน 1,034,918 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.10 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และญี่ปุ่นมี การจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม 2557 จำนวน 496,105 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.72 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสองเดือน แรกของปี 2557 (ม.ค.-ก.พ.)จำนวน 3,689,162 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.40 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 3,049,362 คัน และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 639,800 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.85 และ 9.28 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-ก.พ.)มีจำนวน 3,752,769 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.73 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 3,159,043 คัน และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 593,276 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.34 และ 7.62 ตามลำดับ
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง สองเดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-ก.พ.) จำนวน 1,872,632 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.29 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 720,596 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.30 และการผลิตรถบรรทุก 1,152,036 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.88 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-ก.พ.) มีจำนวน 2,249,682 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.23 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 1,042,304 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.05 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,207,378 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.41
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศญี่ปุ่น มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสอง เดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-ก.พ.) จำนวน 1,724,251คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.69แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 1,479,352 คัน และการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ 244,899 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.25 และ 7.42 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ใน ช่วงสองเดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-ก.พ.) มีจำนวน 1,061,273 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 23.28 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 924,125 คัน และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จำนวน 137,148 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 24.05 และ 18.31 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 517,492 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณ การผลิตรถยนต์ 751,507 คัน ร้อยละ 28.28 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 205,041 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 306,432 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 6,019 คัน ลดลงร้อยละ 37.08, 19.77 และ 55.99 ตามลำดับ

สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสแรกของปี 2557 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 287,795 คัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 55.61 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 100,557 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.94 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 187,238 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.06 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 1.77 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99 แต่ปริมาณการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 33.60 และ 6.90 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 224,171 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 410,568 คัน ร้อยละ 45.40 โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 90,285 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 96,968 คัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 25,389 คัน ลดลงร้อยละ 54.81, 39.05 และ 15.54 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 11,529 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.74 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 24.28 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 32.30, 21.25 และ 28.34 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.20

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 291,509 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 287,918 คัน คิดเป็นร้อยละ 1.25 โดยมีมูลค่าการส่งออก 136,336.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 126,911.78 ล้านบาท ร้อยละ 7.43 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.81 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.09

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีมูลค่า 47,248.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.83 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.70, 16.21 และ 13.39 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.93 แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียและอินโดนีเซียมีมูลค่าลดลงร้อยละ 41.82 และ 38.55 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีมูลค่า 3,891.16 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 16.71 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 36.36, 28.12 และ 20.83 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 63.93 แต่การส่งออกรถแวนและรถปิคอัพไปออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.75 ส่วนมูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทย ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีมูลค่า 88,163.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 15.37 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.34, 12.54 และ 4.55 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลียและซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 และ 36.88 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 12.95

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 12,829.61 และ 3,752.89 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.33 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 41.12 หากพิจารณาใน ไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.01 และการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 22.24

แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 40.31, 17.84 และ 16.55 ตามลำดับ

โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.61และ 142.58 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 12.83 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.86, 14.81 และ 13.69 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.00 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 41.10 และ 28.48 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2557 มีปริมาณการผลิตหดตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติของตลาดในประเทศ ก่อนจะมีนโยบายรถยนต์คันแรก รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับการส่งออกรถยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย และยุโรป

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่สองของปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2557 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย ในประเทศร้อยละ 46 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 54

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 462,218 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณ การผลิตรถจักรยานยนต์ 587,766 คัน ร้อยละ 21.36 โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 366,242 คัน ลดลงร้อยละ 26.45 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 95,976 คัน เพิ่มขึ้น 6.88 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 2.01 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.41 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 6.25

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 431,795 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 549,068 คัน ร้อยละ 21.36 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 213,649 คัน ลดลงร้อยละ 19.05 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 170,097 คัน ลดลงร้อยละ 32.26 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 48,049 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.12 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.20 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.49 และ 26.64 ตามลำดับ แต่รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 2.21

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 220,598 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 74,765 คัน และ CKD จำนวน 145,833 ชุด) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณ การส่งออกรถจักรยานยนต์ 222,141 คัน ร้อยละ 0.69 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 11,971.03 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่า การส่งออก 12,069.14 ล้านบาท ร้อยละ 0.81 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 11.51 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 12.65

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีมูลค่า

9,748.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.03 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.86, 13.84 และ 12.13 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าลดลงร้อยละ 26.25 และ 14.16 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 882.01 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 1,946.71 ล้านบาท ร้อยละ 54.69 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.38 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 ได้แก่ เวียดนาม ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 49.54, 18.03 และ 8.19 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 69.70 และ 25.89 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.15

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2557 การผลิต การจำหน่าย การนำเข้าและการส่งออก หดตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่สองของปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2557 โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สองปี 2557 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 570,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 10-15

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 51,162.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 15.39 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 7,984.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 12.97 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,148.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 23.61 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 และ 0.66 ตามลำดับ ส่วนชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.65

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีมูลค่า 62,124.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 17.49 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 13.35, 13.10 และ 12.99 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไป ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.70 และ 21.50 ตามลำดับ แต่การส่งออกไปอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 4.30

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 1,447.71 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 31.93 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 240.19 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.01 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.59

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีมูลค่า 5,887.01 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 17.61 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ บราซิล กัมพูชา และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 15.73, 15.24 และ 11.77 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปบราซิล กัมพูชา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.30, 23.45 และ 167.47 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศ

ไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 77,336.70 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 25.39 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลง ร้อยละ 2.98 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 44.42, 14.08 และ 5.18 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และจีน ลดลงร้อยละ 36.97 และ 2.09 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.63

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 4,537.47 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 13.18 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2557 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.18 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 32.95, 16.99 และ 10.81 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น และจีน ลดลงร้อยละ 29.21 และ 0.75 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.41

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ