อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาส 1 ปี 2557 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติก และดัชนีส่งสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 และ 3.78 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2) ทั้งนี้ เนื่องจากไตรมาส 1 ความต้องการบริโภคในประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะช่วงเทศกาล ปีใหม่ ตรุษจีน วาเลนไทน์ ประกอบกับในเดือนเมษายนมีเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันหยุดยาวทำให้ผู้ประกอบการเร่งผลิตและส่งสินค้าให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค
การตลาดและการจำหน่าย
ไตรมาส 1 ปี 2557 ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916-3926) เท่ากับ 276,016.94 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ใยยาวเดี่ยว หลอดหรือท่อ แผ่นฟิลม์ชนิดยึดติดในตัว และเครื่องประกอบของอาคาร โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.16 24.83 8.45 และ6.25 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ตารางที่ 3) โดยประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยัง ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ สหรัฐอเมริกา
ไตรมาส 1 ปี 2557 ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916-3926) เท่ากับ 140,498.80 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยสินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ หลอดหรือท่อ แผ่นฟิลม์ชนิดยึดติดในตัว และของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.68 11.92 และ 5.05 ตามลำดับ (ตารางที่ 4) โดยประเทศไทยนำเข้าสินค้าดังกล่าวจาก ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
เป้าหมายของอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่จะเพิ่มการผลิตเป็น 2.3 ล้านคันในปี 2557 และการตั้งเป้าในการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยผลักดันการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่เป็นพลาสติกให้สูงขึ้นตามด้วย
- สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเริ่มมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมพลาสติก เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ส่งออกสำคัญของไทย
- ปัญหาทางการเมืองที่จะทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลมากขึ้น ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยลดลง
- การพิจารณางบประมาณของภาครัฐในปี 2558 ที่ล่าช้าเนื่องจากยังไม่มีรัฐบาลชุด ใหม่ อาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นักลงทุนและประชาชนจะชะลอการลงทุนและการใช้จ่ายออกไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--