ในไตรมาส 1 ปี 2557 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป สำหรับประเทศจีนเศรษฐกิจชะลอตัว โดยที่บางประเทศมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ขณะที่สหภาพยุโรปยังคงมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ 104.4 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ 107.2 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิถุนายน (ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2557) อยู่ที่ 100.77 USD/Barrel ปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เช่น สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ลดลง ความขัดแย้งในลิเบียที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และในเยเมนมีการโจมตีท่อขนส่งน้ำมันทำให้เยเมนต้องหยุดขนส่งน้ำมันดิบลงชั่วคราว
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2557 ยังคงขยายตัว จากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องเข้าใกล้เป้าหมายที่ Fed กำหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 80.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 62.8
การผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 76.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 76.0 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 102.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.0
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่หดตัวร้อยละ 1.5
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.7 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 6.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.1 อัตราการว่างงานมีการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวตามที่ได้คาดการณ์ไว้
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 255 7 ชะลอตัว จากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัว รวมทั้งการส่งออกที่หดตัว นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อยังต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3.5
ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 7.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 12.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 12.6 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 17.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 104.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 105.1
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 8.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.4
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2557 หดตัวร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 18.9 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.4
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.4 อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 1 ของปี 2556
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 6.00 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบธนาคาร เพื่อเสริมสภาพคล่องก่อนถึงช่วงวันตรุษจีน และยังคงใช้นโยบายการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัว อันเป็นผลมาจากการบริโภคและการลงทุนในภาคก่อสร้าง และในไตรมาส 1 ปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 4 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 0.3 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 10.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 37.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 44.8
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 102.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.6
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 7.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 17.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.1
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.7 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากราคาที่ปรับเพิ่มในทุกหมวดสินค้า อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 เท่ากับไตรมาส 1 ของปี 2556
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2557) และยังคงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัวเล็กน้อย อีกทั้งมีแนวโน้มเกิดภาวะเงินฝืด อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงและในไตรมาส 1 ปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 4 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 0.7 การบริโภคไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 0.7
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 98.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 97.5
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 5.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3
อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 11.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 11.5 อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.25 (เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557) มีข้อตกลงจะดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น ทั้งมาตรการลดดอกเบี้ยและการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณเพื่อซื้อสินทรัพย์ ซึ่งหากเกิดภาวะเงินฝืดจะส่งผลกระทบต่อปัญหาการว่างงานที่ยังอยู่ในอัตราที่สูง
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาคครัวเรือน รวมทั้งการลงทุนที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่การส่งออกที่แท้จริงยังขยายตัวได้แต่เป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 4 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาคครัวเรือนที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งตัวขึ้นจากในไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.4 และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ขณะที่การส่งออกที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 5.8 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 100.0 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2557 มีมูลค่า 120,506 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.6 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) หดตัวร้อยละ 8.2 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปสหภาพยุโรป(27) และสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.9 และ 2.2 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2557 มีมูลค่า 143,469 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าฮ่องกงขาดดุลการค้า 22,963 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 จากราคาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสูบมีราคาสูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบ รวมถึงราคาค่าเช่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร และค่าสาธารณูปโภคก็ปรับตัวสูงขึ้น อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 คงที่ต่อเนื่องจากในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2557 สะท้อนถึงภาวะตึงตัวของตลาดแรงงาน
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทางด้านอุปทานมีแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคการเกษตร ขณะที่ทางด้านอุปสงค์มีการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการส่งออกเป็นแรงเกื้อหนุนที่สำคัญ
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 1 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.7 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ค่อยๆปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทางด้านอุปทานมีแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคการเกษตร ขณะที่ทางด้านอุปสงค์มีการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกเป็นแรงเกื้อหนุนที่สำคัญ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 105.9 ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีในเดือนมีนาคม 2557 ขยายตัวร้อยละ 2.8
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2557 มีมูลค่า 138,249 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.9 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) ขยายตัวร้อยละ 2.9 การส่งออกไปสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป(27) ขยายตัวร้อยละ 2.7 และ 16.1 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 1 ปี 2557 มีมูลค่า 132,399 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้เกินดุลการค้า 5,850 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 คงที่จากในไตรมาส 4 ปี 2556 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากค่าธรรมเนียมการให้บริการและราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.9
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.50 เพื่อให้เศรษฐกิจยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้
เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาส 1 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีภาคการผลิตและภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญ
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 1 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.8 จากภาคการบริการที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากในไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.9 อย่างไรก็ตามภาคการผลิตและภาคการก่อสร้างมีการขยายตัวเร่งขึ้น โดยภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 8.0 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.0 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มไบโอเมดิคอล และกลุ่มเคมีภัณฑ์ที่ขยายตัว ขณะที่ภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 6.5 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.8 จากกิจกรรมการก่อสร้างของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 103.0 ขยายตัวร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีในเดือนมีนาคม 2557 ขยายตัวร้อยละ 12.1 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มวิศวกรรมขนส่ง กลุ่มไบโอเมดิคอล กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 29.4 16.4 8.7 และ 5.2 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่า 105,388 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปจีน มาเลเซีย และฮ่องกง ขยายตัวร้อยละ 15.6 9.0 และ 3.5 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.6 และ 8.8 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่า 94,845 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2557 หดตัวร้อยละ 4.4 ขณะที่การนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ภาพรวมการค้าในช่วงมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2557 สิงคโปร์เกินดุลการค้า 6,506 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากราคาอาหาร และราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงค่าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาสูบที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ อย่างไรก็ตามต้นทุนค่าขนส่งมีการปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.8 อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ยังอยู่ในระดับต่ำ
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ในไตรมาส 1 ปี 255 7ขยายตัวร้อยละ 5.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.7 จากการหดตัวของภาคการส่งออกที่แท้จริง อย่างไรก็ตามการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนยังขยายตัวได้ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่ในระดับสูง
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เศรษฐกิจอินโดนีเซียส่งสัญญาณชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.7 จากภาคการส่งออกที่แท้จริงหดตัวตามการส่งออกสินค้าแร่ที่ลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการจำกัดการส่งออกสินค้าแร่ขั้นต้นที่ยังไม่ได้แปรรูปบางชนิด อย่างไรก็ตามการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนยังขยายตัวได้
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 117.2 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีฯ ในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 1.9 และ 3.8 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2557 มีมูลค่า 44,318 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2557 มีมูลค่า 43,245 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าอินโดนีเซียเกินดุลการค้า 1,073 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 7.8 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 7.3 ขยายตัวชะลอลงจากราคาอาหารที่ลดลง
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 7.5 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-5.5 ในปี 2557 และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีการปรับตัวดีขึ้น
เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.1เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทางด้านอุปทานมีแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคบริการ และภาคการผลิต ขณะที่ทางด้านอุปสงค์มีการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุน เป็นแรงเกื้อหนุนที่สำคัญ
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 4 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทางด้านอุปทานมีแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคบริการที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 และภาคการผลิตที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ขณะที่ทางด้านอุปสงค์มีการบริโภคของภาคเอกชน และการลงทุน ที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 และ 5.8 ตามลำดับ เป็นแรงเกื้อหนุนที่สำคัญ ขณะที่การส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 116.4 ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนมีนาคม 2557 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และกลุ่มอาหารและยาสูบที่ขยายตัว
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่า 60,857 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีน สิงคโปร์ และสหภาพยุโรป(27) ที่ขยายตัวร้อยละ 24.5 2.4 และ 9.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.1 และ 7.1 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 5.2 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่า 52,273 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2557 หดตัวร้อยละ 1.3 อย่างไรก็ตามการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 2.6 ภาพรวมการค้าในช่วงมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2557 มาเลเซียเกินดุลการค้า 5,080 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ รวมถึงราคาค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลลดการสนับสนุนราคาสาธารณูปโภค อัตราการว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ลดลงจากในเดือนมกราคม 2557 ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 3.3
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 เนื่องจากอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 11 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคของภาคเอกชน การลงทุน รวมถึงภาคการค้าระหว่างประเทศที่ขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 4 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากในไตรมาส 3 ปี 2556 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.9 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ยังขยายตัวได้แม้จะต้องเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคของภาคเอกชน การลงทุน รวมถึงภาคการค้าระหว่างประเทศที่ขยายตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 128.8 ขยายตัวร้อยละ 21.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีฯ ในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 5.0 และ 1.2 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่า 13,919 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญปรับขยายตัวได้ดีทั้งญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป(27) ขยายตัวร้อยละ 45.5 42.7 21.5 และ 21.5 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 9.2 และ 24.5 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่า 15,473 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 26.0 และ 1.7 ตามลำดับ ภาพรวมการค้าในช่วงมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2557 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 1,707 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากราคาอาหาร ราคาค่าน้ำ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย overnight RRP และ overnight RP ไว้ที่ร้อยละ 3.5 และ 5.5 ตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และอยู่ในกรอบเป้าหมายซึ่งในปี 2557 ตั้งไว้ที่ระดับร้อยละ 3 ถึง 5
เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาส 3 ปี 2556 จากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง ขณะที่การลงทุนหดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 4 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากในไตรมาส 3 ปี 2556 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.8 จากตัวขับเคลื่อนสำคัญอย่างการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.0 ด้านการส่งออกขยายตัวร้อยละ11.4 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 14.8 ขณะที่การลงทุนหดตัวร้อยละ 1.1
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 180.2 หดตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามดัชนีฯ ในเดือนมกราคม 2557 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีฯ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 หดตัวร้อยละ 3.7
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่า 77,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.8 สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2557 ขยายตัวร้อยละ 2.0 ด้านการนำเข้าใน ไตรมาส 4 ปี 2556 มีมูลค่า 108,107 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2557 หดตัวร้อยละ 19.3 ภาพรวมการค้าในช่วงมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2557 อินเดียขาดดุลการค้า 9,830 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 8.4 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557 ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo Rate) ไว้ที่ร้อยละ 8.00
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ
2556 2557 2555 2556 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 GDP (%YoY) สหรัฐอเมริกา 2.8 1.9 1.3 1.6 2.0 2.6 2.3 n.a. n.a. n.a. สหภาพยุโรป -0.4 0.0 -0.8 -0.1 0.1 0.9 n.a. n.a. n.a. n.a. ญี่ปุ่น -0.5 1.5 0.0 1.2 2.3 2.6 n.a. n.a. n.a. n.a. จีน 7.7 7.7 7.7 7.5 7.8 7.7 7.4 n.a. n.a. n.a. ฮ่องกง 1.5 2.9 2.9 3.1 2.8 3.0 n.a. n.a. n.a. n.a. เกาหลีใต้ 2.3 3.0 2.1 2.7 3.4 3.7 3.9 n.a. n.a. n.a. สิงคโปร์ 1.9 4.1 0.6 4.2 5.8 5.5 5.1 n.a. n.a. n.a. อินโดนีเซีย 6.3 5.8 6.0 5.8 5.6 5.7 5.2 n.a. n.a. n.a. มาเลเซีย 5.6 4.7 4.1 4.4 5.0 5.1 n.a. n.a. n.a. n.a. ฟิลิปปินส์ 6.8 7.2 7.7 7.6 6.9 6.5 n.a. n.a. n.a. n.a. อินเดีย 4.8 4.6 4.4 4.4 4.8 4.7 n.a. n.a. n.a. n.a. ไทย 6.5 2.9 5.4 2.9 2.7 0.6 n.a. n.a. n.a. n.a. MPI (%YoY) สหรัฐอเมริกา 3.8 2.9 3.0 2.5 2.7 3.3 3.4 n.a. n.a. n.a. สหภาพยุโรป -3.1 -0.1 -2.7 -1.5 -0.9 1.1 n.a. n.a. n.a. n.a. ญี่ปุ่น 0.2 -0.6 -6.6 -3.1 2.0 5.8 8.2 n.a. n.a. n.a. จีน 10.8 9.7 9.4 9.1 10.1 10.0 8.7 n.a. n.a. n.a. ฮ่องกง -0.8 0.08 0.5 0.3 -0.9 0.5 n.a. n.a. n.a. n.a. เกาหลีใต้ 1.4 0.2 -1.3 0.0 0.1 1.8 1.1 n.a. n.a. n.a. สิงคโปร์ 0.3 1.7 -6.3 0.8 5.2 7.1 9.8 n.a. n.a. n.a. อินโดนีเซีย 4.1 6.0 9.0 6.8 7.2 1.5 n.a. n.a. n.a. n.a. มาเลเซีย - 4.2 -0.1 5.2 6.9 4.9 6.9 n.a. n.a. n.a. ฟิลิปปินส์ 7.7 14.0 4.5 12.5 17.0 21.3 n.a. n.a. n.a. n.a. อินเดีย 0.6 0.5 3.1 -1.1 1.4 -1.7 n.a. n.a. n.a. n.a. ไทย 2.2 -3.2 3.0 -4.9 -3.5 -7.1 -7.0 n.a. n.a. n.a. ที่มา : CEIC *ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ของประเทศมาเลเซียมีการปรับปีฐานใหม่เป็นปี 2010
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--