สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2556 (ตุลาคม – ธันวาคม 2556)(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 28, 2014 14:15 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีจำนวน 1,728,637 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว (Long product) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.04 สำหรับเหล็กทรงแบน (Flat product) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.96 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot rolled flat)เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.20 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galvanized sheet )เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.41 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin plate, Tin free) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.02 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ก่อสร้าง ยานยนต์ และ บรรจุภัณฑ์ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า การผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ10.83 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ17.28 แต่เหล็กทรงแบนผลิตเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 1.0 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.91 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.63 ในขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลงถึง ร้อยละ17.78 และเหล็กแผ่นรีดเย็น (Cold rolled flat)ลดลง ร้อยละ 2.61 ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2556 มีจำนวน 7,016,168 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.40 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.83 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงขยายตัว โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ความต้องการที่อยู่อาศัยก็เริ่มมีภาวะชะลอตัวลงในเกือบทุกภูมิภาคในช่วงปลายปี จากภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนเหล็กทรงแบน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 1.0 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 3.49 ตามอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ชะลอตัวเพราะผลกระทบจากโครงการรถคันแรก รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ขยายตัวไม่มากนัก ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีการผลิตลดลงรองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 3.08 แต่เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ผลิต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.10 จากการที่อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องยังขยายตัวได้ดี โดยอาหารกระป๋องจากไทยเริ่มฟื้นตัวในตลาดยุโรป หลังพ้นจากภาวะช็อกจากปัญหาเศรษฐกิจ ประชาชนเริ่มกลับมาบริโภคสินค้าหมวดอาหารซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น มีการสั่งซื้อเพิ่ม ขณะที่ตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ก็ยังสั่งซื้อเช่นเดิม และ ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องของไทยก็มีลูกค้าเพิ่มในรัสเซีย จีน และประเทศในตะวันออกกลาง และพยายามเจาะเข้าไปในตลาดใหม่ ส่งผลให้เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระป๋องเพื่อบรรจุอาหารเติบโตตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตเหล็กของไทยก็ยังคงประสบปัญหาการทุ่มตลาดจากต่างประเทศ แม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศแล้วก็ตาม

ความต้องการใช้ในประเทศ

ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีประมาณ 3,643,733 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 20.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 21.60 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการขยายตัวในอัตราที่ลดลง เพราะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอมาตั้งแต่ไตรมาสที่2 ของปี 2556 ผนวกกับสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อ สำหรับเหล็กทรงยาว ปริมาณความต้องการใช้ในไตรมาสที่ 4 ก็ลดลงเช่นกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลดลง ร้อยละ 17.87 เนื่องจากการขยายตัวของภาคก่อสร้าง ทั้งการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมของเอกชน เริ่มชะลอตัวเช่นกัน

ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในปี 2556 มีประมาณ 17,318,121เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.24 เมื่อเทียบกับปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์พบว่า ความต้องการใช้เหล็กทรงยาวมีการขยายตัว ร้อยละ 7.89 ส่วนความต้องการใช้เหล็กทรงแบนมีการขยายตัว ร้อยละ 2.50 โดยปริมาณความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากการนำเข้าเหล็กแผ่นคุณภาพสูงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์

การนำเข้า- การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 67,626 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 21.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง ร้อยละ 40.48 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 16.0 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) ลดลง ร้อยละ 39.90 เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) ลดลง ร้อยละ 38.81 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม(Tin free) ลดลง ร้อยละ 33.26 ส่วนเหล็กทรงยาวมีมูลค่าการนำเข้า ลดลง ร้อยละ 12.80 โดยท่อไร้ตะเข็บ (Seamless pipe) ลดลง ร้อยละ 23.03 เหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 21.19 เหล็กลวด (Wire rod) ลดลง ร้อยละ 13.28 ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า ลดลง ร้อยละ 28.23 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นหนา (HR plate) ลดลง ร้อยละ 96.59 เหล็กแผ่นบาง (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 29.98 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 19.54

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2556 มีจำนวนประมาณ 324,452 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.15 เมื่อเทียบกับปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นเหล็กทรงแบน ซึ่งได้แก่ เหล็กแผ่นหนา (HR plate) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 563.43 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบาง (HR sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.97 ส่วนเหล็กทรงยาว มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ11.07 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากสุด ได้แก่ เหล็กลวด(Wire rod) ลดลง ร้อยละ 17.10 ท่อไร้ตะเข็บ(Seamless pipe) ลดลง ร้อยละ 13.81 เหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 11.51 ในขณะที่เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) กลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.76 ส่วนผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 19.39 โดยเหล็กแท่งเล็ก (Billet) ลดลง ร้อยละ 28.18 เหล็กแท่งแบน ( Slab) ลดลง ร้อยละ 20.12 รายละเอียดตามตารางที่ 2

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 8,111 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 16.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 12.95 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลง ร้อยละ 90.16 เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) ลดลง ร้อยละ 32.09 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชนิดจุ่มร้อน ( Galv.(HDG) ลดลง ร้อยละ 27.72 สำหรับเหล็กทรงยาวลดลง ร้อยละ 9.22 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 21.26 ส่วนท่อเหล็กลดลง ร้อยละ 37.65 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.93 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.24 ได้แก่เหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ135.0 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.67 ส่วนเหล็กทรงแบนมีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) ลดลง ร้อยละ 52.07 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลง ร้อยละ 35.71 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Galv.(EG) ลดลง ร้อยละ 31.68 ขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชนิดจุ่มร้อนGalv.(HDG) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80.7 และเหล็กแผ่นหนา ( HR Plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.17 สำหรับท่อเหล็ก(Pipe) ลดลง ร้อยละ 5.39

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2556 มีจำนวนประมาณ 31,964 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 14.31 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 27.31 เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 0.84 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 46.28 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 10.78 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 14.61 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลง ร้อยละ 76.22 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชนิดจุ่มร้อน ( Galv.(HDG) ลดลง ร้อยละ 45.55 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) ลดลง ร้อยละ 33.33 ในขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Galv.(EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 245.83 เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 84.44 เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.61 รายละเอียดตามตารางที่ 3

2. สรุป

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีประมาณ 1,728,637 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.04 สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.96 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.20 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.41 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.02 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ก่อสร้าง ยานยนต์ และ บรรจุภัณฑ์ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า การผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ10.83 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ17.28 แต่เหล็กทรงแบนผลิตเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 1.0 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.91 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.63 ในขณะที่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลงถึง ร้อยละ17.78 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 2.61 สำหรับปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีประมาณ 3,643,733 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 20.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 21.60 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็ก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการขยายตัวในอัตราที่ลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวมาตั้งแต่ไตรมาสที่2 ของปี 2556 ผนวกกับสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อ สำหรับเหล็กทรงยาว ปริมาณความต้องการใช้ในไตรมาสที่ 4 ก็ลดลงเช่นกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลดลง ร้อยละ 17.87 เนื่องจากการขยายตัวของภาคก่อสร้างทั้งการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของภาคเอกชน เริ่มชะลอตัวเช่นกัน ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 นั้น มีประมาณ 67,626 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 21.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง ร้อยละ 40.48 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 16.0 ส่วนเหล็กทรงยาวมีมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 12.80 ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า ลดลง ร้อยละ 28.23 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นหนา (HR plate) ลดลง ร้อยละ 96.59 เหล็กแผ่นบาง (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 29.98 การส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีมูลค่าประมาณ 8,111 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 16.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 12.95 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 9.22 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.93 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือเหล็กทรงยาว มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.24 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ135.0 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.67 ส่วนเหล็กทรงแบนมีมูลค่าการส่งออก ลดลง ร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) ลดลง ร้อยละ 52.07 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลง ร้อยละ 35.71

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2556 มีประมาณ 7,016,168 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.40 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.83 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงขยายตัว แต่เริ่มมีการชะลอตัวในช่วงปลายปีเพราะภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมือง ส่วนเหล็กทรงแบน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 1.0 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 3.49 ตามอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ชะลอตัวลง เพราะในปีก่อนหน้าได้มีการผลิตเป็นจำนวนมากในโครงการรถยนต์คันแรกที่ดึงความต้องการซื้อล่วงหน้าในอนาคตมาใช้ นอกจากนั้น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็มีการขยายตัวไม่มากนัก สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีการผลิตลดลงรองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 3.08 แต่เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.10 จากการที่อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องยังขยายตัวได้ดี สำหรับปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในปี 2556 มีประมาณ 17,318,121เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ความต้องการใช้เหล็กทรงยาวมีการขยายตัว ร้อยละ 7.89 ส่วนความต้องการใช้เหล็กทรงแบนมีการขยายตัว ร้อยละ 2.50 โดยปริมาณความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นนั้น มาจากการนำเข้าเหล็กแผ่นคุณภาพสูงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2556 มีมูลค่า 324,452 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.15 เมื่อเทียบกับปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับปีก่อนคือ เหล็กทรงแบน ซึ่งได้แก่ เหล็กแผ่นหนา (HR plate) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 563.43 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบาง (HR sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.97 ส่วนเหล็กทรงยาว มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ11.07 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากสุด ได้แก่ เหล็กลวด(Wire rod) ลดลง ร้อยละ 17.10 ท่อไร้ตะเข็บ(Seamless pipe) ลดลง ร้อยละ 13.81 ในขณะที่เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) กลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.76 ส่วนผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 19.39 การส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญของปี 2556 มีมูลค่าประมาณ 31,964 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 14.31 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 27.31 เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 0.84 เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 14.61โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลง ร้อยละ 76.22 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีชนิดจุ่มร้อน (Galv.(HDG) ลดลง ร้อยละ 45.55 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) ลดลง ร้อยละ 33.33 ในขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Galv.(EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 245.83 เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 84.44 ส่วนท่อเหล็ก ลดลง ร้อยละ 27.46

มาตรการของภาครัฐ

1. คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน ได้มีคำวินิจฉัยชั้นที่สุด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556 ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อขจัดความเสียหายที่เกิดจากการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อน ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลีและไต้หวัน

2. คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน ได้มีคำวินิจฉัยชั้นที่สุด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556 ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อขจัดความเสียหายที่เกิดจากการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลีและไต้หวัน

3.แนวโน้ม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กปี 2557 คาดว่าความต้องการใช้เหล็กจะทรงตัว เพราะอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็ก อย่างเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ปริมาณการผลิตจะขยายตัวเพียงเล็กน้อย เพราะตลาดในประเทศคาดว่าจะยังคงเผชิญกับภาวะหดตัวต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี 2556 แต่การส่งออกจะยังคงขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้ ซึ่งจะชดเชยตลาดรถยนต์ในประเทศที่หดตัวลงได้ แต่อุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งก็เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีการใช้เหล็กเป็นจำนวนมากนั้น คาดว่าจะชะลอตัว จากการที่โครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีแนวโน้มลดลง เพราะปัญหาทางการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้กำลังซื้อภายในประเทศลดลง ผู้บริโภคมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนสูงขึ้นรวมทั้งความไม่มั่นใจของนักลงทุน นอกจากนั้น ผู้ผลิตเหล็กในประเทศก็ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงกับสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศที่ยังคงมีการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศแล้วก็ตาม

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ