ในไตรมาส 3 ปี 2556 เศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ยังคงขยายตัว ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยของยุโรปยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ 106.3 USD/Barrel ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ 106.4 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มราคาลดลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม (ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556) อยู่ที่ 94.20 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากสต๊อกน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับสูง
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2556 ชะลอตัว อันเนื่องมาจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 81.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 65.0
การผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 99.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 97.1 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 99.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 97.1
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.7 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.1 อัตราการว่างงานมีการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 จนกว่าอัตราการว่างงานจะต่ำกว่าร้อยละ 6.5 และเพื่อกระตุ้นการกู้ยืมและการใช้จ่าย นอกจากนี้ Fed ยังคงใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไปเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากภาคการผลิตที่ขยายตัวดีขึ้นและการลงทุนของภาครัฐ สะท้อนถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน
ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 13.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 13.5 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัว ร้อยละ 20.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 98.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.5
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 10.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.1
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 8.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.7
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.1
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 6.00 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนจะใช้เครื่องมือด้านนโยบายเพื่อทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ และป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2556 ยังคงขยายตัว จากการลงทุนในภาคก่อสร้างและการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น และในไตรมาส 3 ปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 2 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 45.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 97.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.9
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 12.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 8.1 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 17.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 0.4
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.3 เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนส่งผลให้ต้นทุนพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคานำเข้าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบพุ่งสูงขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2556) และยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปไตรมาส 2 ปี 2556 ยังคงหดตัว และในไตรมาส 3 ปี 2556 คาดว่ายังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากภาคการผลิตที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 2 ปี 2556 GDP หดตัวร้อยละ 0.2 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 0.4 การบริโภคไตรมาส 2 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 0.1 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 0.8
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 97.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.3 สำหรับดัชนีการผลิต
ภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ระดับ 97.8 การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 4.2 การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2556 หดตัวร้อยละ 5.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม หดตัวร้อยละ 1.8
อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.5 อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 10.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.5 อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 0.25 (เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ จึงลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย การบริโภคของภาคเอกชน เพื่อให้อัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงปรับตัวลดลง
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาส 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาคครัวเรือน
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 2 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาคครัวเรือน
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 2 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 92.4 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2556 มีมูลค่า 138,246 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 11.1 ด้านการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2556 มีมูลค่า 163,926 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 คงที่ในระดับดังกล่าวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทางด้านอุปทานมีแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคอุตสาหกรรมผลิต ขณะที่ทางด้าน อุปสงค์ความต้องการบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนยังเป็นแรงเกื้อหนุนที่สำคัญ ด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 3 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทางด้านอุปทานมีแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่ทางด้านอุปสงค์ความต้องการบริโภคภายในประเทศ และการลงทุน ยังเป็นแรงเกื้อหนุนที่สำคัญ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 103.2 ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากหดตัวต่อเนื่องนานสี่ไตรมาส
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2556 มีมูลค่า 136,838 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.3 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) ขยายตัวร้อยละ 9.4 การส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.3 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดสำคัญอื่นอย่างสหภาพยุโรป(27) ญี่ปุ่น และฮ่องกง หดตัวร้อยละ 4.2 10.2 และ 7.3 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 3 ปี 2556 มีมูลค่า 125,825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ต่ำ จากราคาสินค้าเกษตร และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ลดลง อัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ลดลงจากในเดือนสิงหาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.50 เพื่อให้เศรษฐกิจยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้
เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.2 ในไตรมาส 2 ปี 2556 จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวดีตามการผลิตสินค้าในกลุ่มวิศวกรรมขนส่ง และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 3 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2556 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการผลิตสินค้าในกลุ่มวิศวกรรมขนส่ง และกลุ่มผลิตอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 103.4 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีในเดือนกันยายน 2556 ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 20.0 ตามความต้องการของตลาดโลกที่ปรับตัวดีขึ้น และการผลิตสินค้าในกลุ่มวิศวกรรมขนส่งที่ขยายตัวร้อยละ 14.4 ตามการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการต่อเรือ รวมถึงความต้องการบริการซ่อมบำรุงอากาศยานจากสหรัฐ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เพิ่มขึ้น
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 103,923 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากหดตัวต่อเนื่องนานสี่ไตรมาส โดยการส่งออกไปจีน และฮ่องกง ขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 2.3 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดสำคัญอันดับหนึ่งอย่างมาเลเซียหดตัวร้อยละ 8.3 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.5 และ 2.1 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 93,469 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามสำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.3 และ 1.1 ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากราคาที่อยู่อาศัย และราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาคครัวเรือนและภาครัฐที่ขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาคครัวเรือนและภาครัฐที่ขยายตัว อย่างไรก็ตามการลงทุนยังมีความอ่อนแอ ขณะที่การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นยังเป็นตัวฉุดรั้งการส่งออกสุทธิ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 114.6 ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนกันยายน 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.6
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 45,653 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้า โดยการส่งออกไปญี่ปุ่น จีน และ สหภาพยุโรป(27) หดตัวร้อยละ 5.2 4.4 และ 4.3 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2556 หดตัวร้อยละ 6.2 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 48,760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2556 กลับขยายตัวร้อยละ 6.5
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 8.6 เพิ่มขึ้นสูงจากในไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 8.4
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25 จากเดิมร้อยละ 7.0 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทางด้านอุปทานมีแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคบริการ ขณะที่ทางด้านอุปสงค์การบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนเป็นแรงเกื้อหนุนที่สำคัญ ด้านอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 2 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทางด้านอุปทานมีแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคบริการ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.8 ของมูลค่า GDP) ขยายตัวได้ร้อยละ 4.8 ขณะที่ทางด้านอุปสงค์การบริโภคของภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนเป็นแรงเกื้อหนุนที่สำคัญ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 2 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 127.1 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.2 และดัชนีในเดือนสิงหาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอุปกรณ์ขนส่งและอุตสาหกรรมการผลิตอื่น ที่ขยายตัว
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 54,845 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง จากการส่งออกไปตลาดสำคัญหดตัวในหลายตลาด โดยการส่งออกไปจีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(27) และสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.2 7.2 2.0 และ 3.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวได้ร้อยละ 3.6 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 52,178 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.3
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์รวมถึงราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นจากในเดือนกรกฎาคม 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 เนื่องจากอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคของภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงการลงทุนที่ขยายตัว ทั้งนี้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 2 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคของภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ รวมถึงการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 108.3 ขยายตัวร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 14.9 และ 18.3 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 13,505 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป(27) หดตัวร้อยละ 10.4 และ 6.5 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวได้ร้อยละ 2.3 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 15,259 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 10.6
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.7
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2556 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย overnight RRP และ overnight RP ไว้ที่ร้อยละ 3.5 และ 5.5 ตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะที่เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ดี
เศรษฐกิจอินเดีย ในไตรมาส 2 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 2 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 2 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 174.8 หดตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.2 แต่ในเดือนสิงหาคม 2556 กลับหดตัวที่ร้อยละ 0.1
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 72,435 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรสต์ หดตัวร้อยละ 25.1 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ร้อยละ 3.0 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 9.5 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2556 มีมูลค่า 122,728 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2556 หดตัวร้อยละ 6.5
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 9.7 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2556 อยู่ที่ร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 ธนาคารกลางอินเดียประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo Rate) มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.75 จากเดิมร้อยละ 7.50 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูปี
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--