สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2556 (กรกฎาคม – กันยายน 2556)(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 27, 2013 13:15 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 มีประมาณ 1,559,680 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) ลดลง ร้อยละ 4.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบนลดลง ร้อยละ 3.65 โดยเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 87.88 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 7.96 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 4.77 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 1.92 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า การผลิตโดยรวมลดลง ร้อยละ 12.43 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 27.90 สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.46 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.92 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.43

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2556 มีประมาณ 5,287,531 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.49 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ยังคงขยายตัวอยู่โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมที่สร้างติดแนวรถไฟฟ้ายังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 1.93 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 5.88 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 3.72 รายละเอียดตามตารางที่ 1

ความต้องการใช้ในประเทศ

ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 3,935,555 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.41 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.66 เนื่องจากความต้องการของธุรกิจก่อสร้าง แต่เหล็กทรงแบน กลับลดลง ร้อยละ 1.15 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน

ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 มีจำนวนประมาณ 13,674,388 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.43 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.62 เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.46 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้า- การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 94,226 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 38.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 64.89 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 81.94 ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 55.66 ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาเหล็กในกลุ่มทรงยาว ลดลง ร้อยละ 55.41 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 61.41 เหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 55.44 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 23.98

โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม(Tin free)ลดลง ร้อยละ 79.12 และท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) ลดลง ร้อยละ 74.25 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.08 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการ

นำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.47 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1,660.43 (ในช่วงนี้เหล็กชนิดนี้มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากเป็นผิดปกติ ซึ่งได้ตรวจสอบตัวเลขกับกรมศุลกากรแล้ว พบว่ามีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจริง โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศเบลเยียม) รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin Plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.53 สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.32 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 95.31 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหล็กส่วนใหญ่ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นนั้นเป็นเหล็กชนิดพิเศษซึ่งไทยผลิตไม่ได้ สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) กลับมีมูลค่าการนำเข้าที่ลดลง ร้อยละ 30.57 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 55.03

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2556 มีจำนวนประมาณ 256,822 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 16.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 31.95 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 50.75 เหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง ร้อยละ 22.47 เหล็กในกลุ่มทรงยาว ลดลง ร้อยละ 33.70 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC))ลดลง ร้อยละ 43.52 เหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 28.28 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 5.83 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม(Tin free)ลดลง ร้อยละ 60.82 และท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) ลดลง ร้อยละ 50.82 รายละเอียดตามตารางที่ 2

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 7,733 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 60.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 97.55 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 98.51 ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 93.18 เนื่องจากเมื่อปีก่อนมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ เหล็ก Ingot เพิ่มขึ้นมากอย่างผิดปกติ ทั้งที่เหล็กชนิดนี้ผลิตในประเทศน้อยมาก จึงทำให้มีการตรวจสอบการส่งออกเหล็กชนิดนี้และส่งผลให้ในช่วงนี้ตัวเลขการส่งออกเหล็กชนิดนี้เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 58.53 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 88.39 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 61.96 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 53.87 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ลดลง ร้อยละ 92.26 รองมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.Sheet (HDG))ลดลงร้อยละ 88.13 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 11.41 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 27.10 แต่เหล็กทรงแบนกลับมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.42 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 228.57 เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR Carbon Steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 99.69

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2556 มีจำนวนประมาณ 23,856 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 19.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 63.42 สำหรับ เหล็กแท่งแบน กลับมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 286.89 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 487.44 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR Sheet) เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.25 รายละเอียดตามตารางที่ 3

2. สรุป

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 มีประมาณ 1,559,680 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 4.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบนลดลง ร้อยละ 3.65 โดยเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลงร้อยละ 87.88 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 7.96 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 1.92 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า การผลิตโดยรวมลดลง ร้อยละ 12.43 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 27.90 สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.46 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.92 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.43 สำหรับความต้องการใช้เหล็กในประเทศ มีจำนวนประมาณ 3,935,555 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.41 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.66 เนื่องจากความต้องการของธุรกิจก่อสร้าง แต่เหล็กทรงแบน กลับลดลง ร้อยละ 1.15 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญ มีจำนวนประมาณ 94,226 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 38.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 64.89 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 81.94 ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 55.66 ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาเหล็กในกลุ่มทรงยาว ลดลง ร้อยละ 55.41 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 61.41 เหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 55.44 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 23.98 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม(Tin free)ลดลง ร้อยละ 79.12 และท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) ลดลง ร้อยละ 74.25 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.08 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.47 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1,660.43 (ในช่วงนี้เหล็กชนิดนี้มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากเป็นผิดปกติ ซึ่งได้ตรวจสอบตัวเลขกับกรมศุลกากรแล้ว พบว่ามีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจริง โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศเบลเยียม) รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin Plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.53 สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.32 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 95.31 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหล็กส่วนใหญ่ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นนั้นเป็นเหล็กชนิดพิเศษซึ่งไทยผลิตไม่ได้ สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semifinished products) กลับมีมูลค่าการนำเข้าที่ลดลง ร้อยละ 30.57 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 55.03 มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญมีจำนวนประมาณ 7,733 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 60.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 97.55 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 98.51 ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 93.18 เนื่องจากเมื่อปีก่อนมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ เหล็ก Ingot เพิ่มขึ้นมากอย่างผิดปกติ ทั้งที่เหล็กชนิดนี้ผลิตในประเทศน้อยมาก จึงทำให้มีการตรวจสอบการส่งออกเหล็กชนิดนี้และส่งผลให้ในช่วงนี้ตัวเลขการส่งออกเหล็กชนิดนี้เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 58.53 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 88.39 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 61.96 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 53.87 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ลดลง ร้อยละ 92.26 รองมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.Sheet (HDG)) ลดลง ร้อยละ 88.13 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 11.41 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 27.10 แต่เหล็กทรงแบนกลับมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.42 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 228.57 เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR Carbon Steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 99.69

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2556 มีประมาณ 5,287,531 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.49 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ยังคงขยายตัวอยู่โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมที่สร้างติดแนวรถไฟฟ้ายังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 1.93 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 5.88 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 3.72 สำหรับความต้องการใช้เหล็กในประเทศ มีจำนวนประมาณ 13,674,388 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.43 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.62 เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.46 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญมีจำนวนประมาณ 256,822 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 16.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 31.95 โดยเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง ร้อยละ 50.75 เหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง ร้อยละ 22.47 เหล็กในกลุ่มทรงยาว ลดลง ร้อยละ 33.70 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC))ลดลง ร้อยละ 43.52 เหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 28.28 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 5.83 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม(Tin free)ลดลง ร้อยละ 60.82 และท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) ลดลง ร้อยละ 50.82 มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญมีจำนวนประมาณ23,856 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 19.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 63.42 สำหรับ เหล็กแท่งแบน กลับมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 286.89 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 487.44 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR Sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 120.25

3.แนวโน้ม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในช่วง 3 เดือนหลังของปี 2556 คาดการณ์ว่าความต้องการบริโภคเหล็กโดยรวมของประเทศจะชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากช่วงปลายปีที่ผู้ซื้อจะชะลอการสั่งซื้อและจะไม่เก็บไว้เป็นสต๊อก นอกจากนี้เป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่กระทบกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังซึ่งถูกระบายจากช่วงครึ่งแรกของปีส่งผลให้ระดับการผลิตในประเทศชะลอตัวลงด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากจากปัญหาการผลิตส่วนเกินของประเทศจีน ทำให้จีนส่งเหล็กที่มีราคาถูกเข้ามายังหลายประเทศของโลก ซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นเป้าหมายในการส่งออก และถึงแม้ว่าไทยจะมีมาตรการทางการค้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรม เช่น Safeguard และ AD แต่ก็ยังไม่คุ้มครองได้ทั้งหมด เนื่องจากผู้ส่งออกจากจีนใช้กลยุทธ์ทางการค้า เช่น ส่งเหล็กที่สามารถนำไปใช้งานได้เหมือนกันแต่มีขนาดหน้ากว้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเหล็กประเภทนี้จะไม่อยู่ในขอบเขตที่ใช้มาตรการ AD ซึ่งถ้ามีการส่งออกเหล็กลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาก จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศเพราะไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ