สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (เมษายน มิถุนายน 2556)(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 28, 2013 14:12 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 มีประมาณ 1,781,115 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.21 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.82 รองลงมาคือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.82 เนื่องจากทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวทั้งโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมสำหรับคนชั้นกลางที่ติดเส้นทางรถไฟฟ้าซึ่งยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และในจังหวัดใหญ่ เช่น นครราชสีมา และจังหวัดท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต พัทยา และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า การผลิตโดยรวมลดลง ร้อยละ 8.51 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 36.36 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 35.50 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 18.17

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในครึ่งแรกของปี 2556 มีจำนวน 3,727,851 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.29 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.17 เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.46 รายละเอียดตามตารางที่ 1

ความต้องการใช้ในประเทศ

ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 4,766,575 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.63 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งความต้องการใช้เหล็กที่ยังคงขยายตัวอยู่ส่วนหนึ่งมาจากการนำเข้าที่ยังคงมีอยู่ตั้งแต่ไตรมาส 1 เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง จึงเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ค้าและผู้ใช้นำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40.75 และเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.80 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน

ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงครึ่งแรกของปี 2556 มีจำนวนประมาณ 9,738,833 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.86 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.63 เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.63

การนำเข้า- การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 81,876 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 2.09 แต่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง จึงทำให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ กลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.21 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นบาง (HR Sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 97.18 เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ (Other coated steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.75 แต่เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) กลับลดลง ร้อยละ 49.88 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) ลดลง ร้อยละ 48.95 สำหรับเหล็กในกลุ่มทรงยาว ลดลง ร้อยละ 17.62 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 33.10 เหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 2.35 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กโครงสร้าง (HR section) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.42 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.43 โดยผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากที่สุด เหล็กแผ่นบาง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.90 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.46

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในครึ่งแรกของปี 2556 มีจำนวนประมาณ 162,596 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.77 แต่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ กลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.33 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นบาง (HR Sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.66 เหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.10 แต่เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) กลับลดลง ร้อยละ 42.22 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) ลดลง ร้อยละ 30.93 สำหรับเหล็กในกลุ่มทรงยาวมีมูลค่าการนำเข้าที่ลดลง ร้อยละ 11.98 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง คือ เหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 25.63 รายละเอียดตามตารางที่ 2

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 มีจำนวนประมาณ 8,693 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 13.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กโลกยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน นอกจากนี้จีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ประสบปัญหาการผลิตส่วนเกิน จึงทำให้ส่งออกสินค้าเข้ามายังตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ไทยส่งออกลดลง โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ กลุ่มเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 11.45 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมาก ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) ลดลง ร้อยละ 89.23 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) ลดลง ร้อยละ 56.96 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv. Sheet (HDG)) ลดลง ร้อยละ 43.02 สำหรับเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.10 โดยเหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 137.89 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.00 โดยผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 429.55 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนกัดกรดเคลือบน้ำมัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 350.00

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในครึ่งแรกของปี 2556 มีจำนวน 16,123 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 9.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 366.06 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.sheet (EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 454.70 เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ128.93 สำหรับเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 2.76 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.49 รายละเอียดตามตารางที่ 3

2. สรุป

สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้ามีประมาณ 1,781,115 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.21 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.82 รองลงมาคือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.82 เนื่องจากทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวอยู่ทั้งโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมสำหรับคนชั้นกลางที่ติดรถไฟฟ้าและจังหวัดใหญ่ เช่น นครราชสีมา และจังหวัดท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต พัทยา สำหรับความต้องการใช้เหล็กในประเทศ มีจำนวน 4,766,575 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.63 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งความต้องการใช้เหล็กที่ยังคงขยายตัวอยู่ส่วนหนึ่งมาจากการนำเข้าที่ยังคงมีอยู่ตั้งแต่ ไตรมาส 1 เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง จึงเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ค้าและผู้ใช้นำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ สำหรับมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญมีจำนวน 81,876 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 2.09 แต่ปริมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง จึงทำให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ กลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.21 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นบาง (HR Sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 97.18 เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ (Other coated steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.75 สำหรับเหล็กในกลุ่มทรงยาว ลดลง ร้อยละ 17.62 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 33.10 เหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 2.35 สำหรับมูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญมีจำนวน 8,693 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 13.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กโลกยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน นอกจากนี้จีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ประสบปัญหาการผลิตส่วนเกิน จึงทำให้ส่งออกสินค้าเข้ามายังตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ไทยส่งออกลดลง โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ กลุ่มเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 11.45 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมาก ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) ลดลง ร้อยละ 89.23 สำหรับเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.10 โดยเหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 137.89

สถานการณ์การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในครึ่งแรกของปี 2556 มีประมาณ 3,727,851 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.29 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.17 สำหรับความต้องการใช้เหล็กในประเทศ มีจำนวน 9,738,833 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.86 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.63 เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.63 มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญมีจำนวน 162,596 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.77 แต่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ กลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.33 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นบาง (HR Sheet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.66 สำหรับเหล็กในกลุ่มทรงยาวมีมูลค่าการนำเข้าที่ลดลง ร้อยละ 11.98 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง คือ เหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 25.63

สำหรับมูลค่าการส่งออกเหล็กมีจำนวน 16,123 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 9.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 366.06 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี(Galv.sheet (EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ454.70 สำหรับเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 2.76 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.49

3. แนวโน้ม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในครึ่งหลังของปี 2556 คาดการณ์ว่าความต้องการบริโภคเหล็กโดยรวมของประเทศจะชะลอตัวลง จากปัจจัยการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศซึ่งกระทบกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ตลอดจนการชะลอตัวลงของภาคการก่อสร้าง รวมถึงการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่จะชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ซึ่งโดยรวมจะส่งผลต่อความต้องการบริโภคเหล็กโดยรวมของประเทศที่จะชะลอตัวลง ประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังจากช่วงครึ่งแรกของปีที่จะถูกระบายในช่วงครึ่งหลังของปี หรืออาจขยายไปจนถึงต้นปี 2557 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อระดับการผลิตของผู้ผลิตภายในประเทศที่คาดว่าจะชะลอตัวลงอย่างชัดเจน

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ