สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกันยายน 2557
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2557 ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 ร้อยละ 2.0 และลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ลดลงเนื่องจากการหดตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ หลังสิ้นสุดโครงการรถคันแรก
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ลดลงเนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ได้หยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นครั้งใหญ่ในเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
- อุตสาหกรรม Hard Disk Drive ลดลงเนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าที่ผู้ผลิตคาด ผู้ผลิตจึงปรับลดการผลิตและระบายสินค้าคงคลังแทน
- การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายนที่ยังคงหดตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง จากเศรษฐกิจของจีนที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจ ยูโรโซนอยู่ในภาวะอ่อนแอและเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยจากปัญหาการว่างงานสูงและเงินเฟ้อต่ำ แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะมีการเติบโตได้ต่อเนื่องก็ตาม ทำให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของการผลิตทั้งหมดถูกกระทบไปด้วย
- เช่นเดียวกับเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในภาวะค่อนข้างทรงตัว การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนยังไม่ฟื้นตัวโดยเฉพาะการซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ส่วนหนึ่งเพราะหนี้ครัวเรือนยังเป็นปัจจัยถ่วงการใช้จ่าย ประกอบกับกำลังซื้อของครัวเรือนในภูมิภาคได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2557
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 166.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (165.7) ร้อยละ 0.7 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2556 (173.6) ร้อยละ 3.9
อุตสาหกรรมยานยนต์ ลดลงร้อยละ 22.60 การหดตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ หลังสิ้นสุดโครงการรถคันแรก
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.75 เป็นไปตามภาวะตลาดโลกที่เติบโตต่อเนื่อง โดยตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเซียแปซิฟิคมีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำไปใช้ในการผลิตประกอบในสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น
อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ลดลงร้อยละ 4.93 เป็นผลจากการชะลอของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 85 ของการจำหน่ายทั้งหมด โดยในปีนี้ลดลงร้อยละ 9.70 ขณะที่ตลาดในประเทศยังคงเติบโตได้เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปีก่อน และผู้ประกอบการทำตลาดในประเทศมากขึ้น รวมถึงได้มีการชะลอการผลิตจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถใช้สารทำความเย็น R 32/R410
อุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น) ลดลงร้อยละ 3.32 เนื่องจากนโยบายลดการเลี้ยงไก่ของบางโรงงานในช่วงเทศกาลกินเจ เพื่อรักษาระดับปริมาณเนื้อไก่สดออกสู่ตลาดไม่ให้มากเกินไป ทำให้ตลาดในประเทศลดลงไปร้อยละ 8.15 แต่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.56 จากการที่ผู้ผลิตสามารถส่งออกเนื้อไก่สดไปยังตลาดญี่ปุ่นหลังจากที่อนุญาตให้นำเข้าได้ตั้งแต่ต้นปี รวมถึงมีการทำตลาดอื่นๆได้ เช่น รัสเซีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ ตะวันออกกลาง เป็นต้น
อุตสาหกรรมแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ 3.57 จากสินค้ากุ้งแช่แข็ง เนื่องจากยังได้รับผลกระทบด้านวัตถุดิบจากปัญหาโรคตายด่วนในกุ้ง แม้ว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมาก็ตาม
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 5.3
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ติดลบหรือหดตัวร้อยละ 3.9 อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้การผลิตลดลง คือ ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องประดับเพชรพลอย และผลิตภัณฑ์ยาสูบ
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 2.0
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศไต้หวันขยายตัวร้อยละ 11.0
อย่างไรก็ตามข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประจำเดือนกันยายน 2557 ยังไม่มีการเผยแพร่ แต่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนสิงหาคม 2557 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 7.4 และ 4.7 ตามลำดับ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ส.ค. 57 = 169.4
ก.ย. 57 = 166.0
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่
- Hard Disk Drive
- ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- กระเบื้องปูพื้น บุผนัง
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
ส.ค. 57 = 60.4
ก.ย. 57 = 61.1
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลัง การผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- ยานยนต์
- โทรทัศน์สี
- ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ที่มิใช่ยางรถยนต์
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกันยายน 2557 มีค่า 166.0 ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 (169.4) ร้อยละ 2.0 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกันยายน 2556 (172.8) ร้อยละ 3.9
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2557 ได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องประดับเพชรพลอย ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ระดับร้อยละ 61.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 (ร้อยละ 60.4) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกันยายน 2556 (ร้อยละ 63.6)
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สี ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆที่มิใช่ยางรถยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ซอส น้ำปลา และเครื่องปรุงรส เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาสูบ Hard Disk Drive เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2557
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2557 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 542 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 329 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่า ร้อยละ 64.7 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 32,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีการลงทุน 20,306 ล้านบาท ร้อยละ 60.4 แต่มีการจ้างงานจำนวน 10,360 คน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 11,689 คน ร้อยละ 11.4
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 408 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 32.9 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีการลงทุน 29,918 ล้านบาท ร้อยละ 8.9 และมีการ จ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2556 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,721 คน ร้อยละ 18.8
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกันยายน 2557 คือ อุตสาหกรรมขุดตักดินลูกรัง สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 85 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากไม้ จำนวน 46 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2557 คือ อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า จำนวนเงินทุน 10,768.58 ล้านบาทรองลงมาคือ อุตสาหกรรม บรรจุสินค้าในภาชนะโดยไม่มีการผลิต บรรจุสินค้าทั่วไป จำนวนเงินทุน 4,318.05 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกันยายน 2557 คือ อุตสาหกรรมผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ จำนวนคนงาน 860 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมบรรจุสินค้าในภาชนะโดยไม่มีการผลิต บรรจุสินค้าทั่วไป จำนวนคนงาน 757 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2557 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 126 ราย มากกว่าเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 99 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.3 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 9,927 ล้านบาท มากกว่าเดือนสิงหาคม 2557 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,323 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน จำนวน 5,124 คน มากกว่าเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 1,940 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 57 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 121.4 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนกันยายน 2556 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 672 ล้านบาท มีการเลิกจ้างมากกว่าเดือนกันยายน 2556 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,949 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกันยายน 2557 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากไม้และอุตสาหกรรม ซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ ทั้งสองอุตสาหกรรมจำนวน 21 โรงงานเท่ากัน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดตักดินลูกรัง สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 6 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2557 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องคำนวณ เครื่องทำบัญชี เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เงินทุน 6,726 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ เงินทุน 1,430 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกันยายน 2557 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ จำนวนคนงาน 1,198 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องคำนวณ เครื่องทำบัญชี เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 916 คน
ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม - กันยายน 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.ทั้งสิ้น 1,040 โครงการ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1,351 โครงการ ร้อยละ 23.02 และมีเงินลงทุน 592,000 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 716,800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.41
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม - กันยายน 2557
การร่วมทุน จำนวน มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
(โครงการ)
1.โครงการคนไทย 100% 377 268,800 2.โครงการต่างชาติ 100% 409 187,200 3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 254 136,000
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม - กันยายน 2557 คือ หมวดบริการ และ สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 250,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 197,000 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารเดือนตุลาคม คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เป็นผลจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนการจำหน่ายในประเทศ คาดว่าจะปรับชะลอตัวจากกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกันยายน 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.9 และจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 แบ่งเป็น
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก หากเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เช่น สับปะรดกระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 54.8 และ 23.0 ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเป็นสำคัญ ส่วนสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ แป้งมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 จากคำสั่งซื้อจากประเทศจีนเป็นหลัก
กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.1 และปรับลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.1 เนื่องจากสต็อกยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 28.9 สำหรับอาหารไก่ การผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.5 เนื่องจากบริษัทสหฟาร์มมีปัญหาขาดสภาพคล่อง จึงลดการผลิตไก่ ส่งผลทำให้ความต้องการใช้อาหารไก่ลดลงในปีก่อน
1) ตลาดในประเทศ เดือนกันยายน 2557 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 และปรับลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.9 แม้ว่าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคดีขึ้น แต่กำลังซื้อของประชาชนที่ยังประสบปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้การกระตุ้นยอดจำหน่ายยังทำได้ไม่มากนัก
2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกันยายน 2557 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.4 จากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนมูลค่าการส่งออกน้ำตาลแม้จะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน จากปริมาณคำสั่งซื้อที่ปรับตัวตัวดีขึ้น แต่สต๊อกน้ำตาลในตลาดโลกคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ราคามีแนวโน้มชะลอตัวลง
การผลิตและส่งออก คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เริ่มกระเตื้องขึ้นบ้าง และค่าเงินบาทที่ทรงตัวในระดับเดียวกันกับเดือนก่อน ประกอบกับข่าวการประกาศไม่ระงับการค้าของสหรัฐอเมริกากรณีที่ไทยถูกจัดเป็นประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษในเรื่องการค้ามนุษย์ ทำให้การตึงตัวของการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับชะลอตัวลงจากกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง
การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะกระเตื้องขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่วนกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตไว้ส่งมอบในช่วงปลายปี
ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน การผลิตเส้นใย สิ่งทอฯ ผ้าขนหนูและเครื่องนอน ผ้าลูกไม้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.4 5.8 และ 16.0 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ผ้าผืนลดลง ร้อยละ 3.5 และสิ่งทออื่น ๆ ลดลง ร้อยละ 1.6 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และผ้าขนหนูและเครื่องนอนลดลง ร้อยละ 2.3 2.8 และ 7.0 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.3 เป็นการเพิ่มขึ้นของเสื้อผ้าทอ ร้อยละ 3.0 และเสื้อผ้าถัก ร้อยละ 0.1 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.8 เป็นการเพิ่มขึ้นของเสื้อผ้าทอ ร้อยละ 8.0 และเสื้อผ้าถัก ร้อยละ 7.3 ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งมอบในช่วงปลายปี และคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดญี่ปุ่น และอาเซียน
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน กลุ่มสิ่งทอส่วนใหญ่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่มโดยรวมลดลงเช่นเดียวกัน
การส่งออก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.8 ได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และเคหะสิ่งทอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.2 7.3 1.9 และ 0.1 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 7.3 ซึ่งลดลงในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ถุงเท้าและถุงน่อง และถุงมือผ้าร้อยละ 7.1 7.6 9.4 และ 11.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มูลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป ร้อยละ 2.4 17.7 0.5 และ 0.4 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มสิ่งทอ ร้อยละ 5.7 และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.7
การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอ คาดว่า จะกระเตื้องขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่วนกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตไว้ส่งมอบในช่วงปลายปี ซึ่งคาดว่าการบริโภคในประเทศจะฟื้นตัวดีขึ้น และยังมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเริ่มทยอยเข้ามาต่อเนื่อง จากผู้บริโภคและผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ของประเทศไทย และมีการส่งเสริมการขายจากภาครัฐและเอกชน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป และชุดกีฬา ส่งผลให้คำสั่งซื้อขยายตัวเพิ่มขึ้น
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของเดือนกันยายน 2557 มีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.00 เป็นผลมาจากการปรับตัวที่เพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 55.26 แต่เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 17.31
สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกันยายน 2557 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 132.90 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 5.67 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 12.36 โดยเหล็กเส้นกลม ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 44.89 เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 13.52 เป็นผลมาจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างในส่วนโครงการของภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ นอกจากนี้เป็นผลมาจากผลกระทบจากปัญหาการนำเข้าเหล็กราคาถูกจากประเทศจีน ทำให้การผลิตในช่วงนี้ลดลง สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน พบว่าการผลิตลดลง ร้อยละ 4.07 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 12.15 และเมื่อเปรียบเทียบดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2557 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่าดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 4.34 โดยเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 17.31 แต่เหล็กทรงแบน กลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.00
จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในเดือนกันยายน 2557 เทียบกับเดือนก่อน พบว่า เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 111.7 เป็น 113.82 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.90 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 112.09 เป็น 112.79 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.62 แต่เหล็กแผ่นรีดร้อน มีดัชนีราคาเหล็กที่ทรงตัว คือ 113.84 แต่เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 117.75 เป็น 116.82 ลดลง ร้อยละ 0.79 เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 120.94 เป็น 117.64 ลดลง ร้อยละ 2.73
สถานการณ์การผลิตเหล็กของไทยในเดือนตุลาคม 2557 เทียบกับเดือนก่อน คาดว่าการผลิตเหล็กโดยรวมจะทรงตัว เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญ เช่น ก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยังคงมีสถานการณ์ที่ยังคงทรงตัวอยู่
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2557 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดในประเทศ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับหนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง และตลาดที่ปรับตัวสู่สมดุลหลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก สำหรับการส่งออกมีการปรับตัวลดลง อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน ดังนี้
จำนวน 164,299 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีการผลิต 194,744 คัน ร้อยละ 15.63 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ร้อยละ 16.69 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
จำนวน 69,137 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีการจำหน่าย 94,945 คัน ร้อยละ 27.18 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ร้อยละ 0.44 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
จำนวน 97,570 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีการส่งออก 118,253 คัน ร้อยละ 17.49 โดยเป็นการลดลงในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกากลางและอเมริกาใต้ และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ร้อยละ 8.96 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2557 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2557 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2557 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45 และส่งออกร้อยละ 55
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2557 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยเป็นการลดลงตามความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนกันยายน ดังนี้
จำนวน 143,990 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีการผลิต 171,654 คัน ร้อยละ 16.12 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2557 ร้อยละ 1.90 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
จำนวน 142,816 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีการจำหน่าย 151,701 คัน ร้อยละ 5.86 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 ร้อยละ0.29 โดยเป็นการลดลงของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
จำนวน 22,208 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2556 ซึ่งมีการส่งออก 24,268 คัน ร้อยละ 8.49 โดยเป็นการลดลงในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2557 ร้อยละ 4.65 โดยเป็นการลดลงในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม2557 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2557 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2557 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 85 และส่งออกร้อยละ 15
"อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในเดือนกันยายนหดตัวลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการเร่งลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และภาคเอกชนมีการขยายการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง การส่งออกปรับตัวลดลง เนื่องจากมียอดการสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าหลักลดลง อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจะส่งผลให้ไทยต้องสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้นต่อไป"
ในเดือนกันยายน 2557 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงร้อยละ 2.42 และร้อยละ 4.70 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงร้อยละ 7.31 และร้อยละ 2.80 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณการผลิตและจำหน่ายในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เนื่องจากมีแนวโน้มความต้องการใช้ในประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนกันยายน 2557 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.86 ในขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.04
เมื่อพิจารณาในภาพรวม การส่งออกปรับตัวลดลง เนื่องจากมียอดการสั่งซื้อจากตลาดคู่ค้าหลักของไทยลดลง โดยเฉพาะบังคลาเทศ เมียนมาร์และมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามนโยบาย ของภาครัฐ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยมีการสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้นต่อไป
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มหดตัวลงอีกเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล นอกจากนี้ ความล่าช้าของฤดูฝนของไทยในปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลให้ภาคก่อสร้างชะลอตัวลงเพิ่มเติมในเดือนถัดไป อย่างไรก็ตาม นโยบายที่ชัดเจนในการเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในช่วงครึ่งปีหลังของภาครัฐ และการขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่องของภาคเอกชน จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้นได้
สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยหรือทรงตัว เนื่องจากคาดว่าปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ของไทยจะลดลง โดยบริษัทผู้ผลิตบางแห่งอาจหยุดเดินเครื่องจักรบางส่วนเพื่อการซ่อมบำรุง ถึงแม้ว่าประเทศคู่ค้าหลักของไทยในอาเซียนจะยังคงมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในระดับที่สูง และตลาดภายในประเทศเองก็มีแนวโน้มจะขยายตัวจากนโยบายก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็ตาม
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนกันยายน 2557 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 2.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 3.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวลดลงของ HDD ขณะที่อุตสาหกรรมไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการที่เครื่องปรับอากาศกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น หลังจากในช่วงที่ผ่านมามีการปรับปรุงกระบวนการผลิต
เครื่องใช้ไฟฟ้า/ มูลค่า(ล้าน %MoM %YoY
อิเล็กทรอนิกส์ เหรียญสหรัฐฯ)
อุปกรณ์ประกอบของ 1,535.44 -5.07 5.47
เครื่องคอมพิวเตอร์
แผงวงจรไฟฟ้า 796.20 12.85 -0.32 เครื่องปรับอากาศ 275.94 10.44 1.29 กล้องถ่ายโทรทัศน์ 159.64 -7.42 -19.46
กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอ
ภาพนิ่ง
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,874.73 2.37 5.33
และอิเล็กทรอนิกส์
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนกันยายน 2557 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 271.10 ลดลงร้อยละ 10.77 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อยละ 2.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 133.02 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.33 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.77 และ 6.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการเครื่องปรับอากาศในตลาดอาเซียนมีการขยายตัวค่อนข้างมาก ประกอบกับในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาได้มีการชะลอการผลิตจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถใช้สารทำความเย็น R 32/R410 ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มอื่น ๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ พัดลม กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.32 41.72 1.30 และ 9.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 349.42 ลดลงร้อยละ 13.91 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อยละ 3.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลง คือ HDD ลดลงร้อยละ 9.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor Monolithic IC และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.12 19.92 และ 21.61 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น Smartphone Tablet Bluetooth หน้าจอ Touch Screen วีดีโอเกมส์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Consumer Electronics) ส่งผลให้ความต้องการใช้ IC ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ)
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกันยายน 2557 มีมูลค่า 4,874.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.37 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,950.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.67 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา และอาเซียนปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.51 และ 9.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามตลาดสหภาพยุโรปและจีนปรับตัวลดลงร้อยละ 5.61 และ 8.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 275.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการที่ตลาดอาเซียนและสหรัฐอเมริกามีความต้องการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.85 และ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 22.71 14.63 และ 5.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ รองลงมาคือ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่งวีดีโออื่น ๆ มีมูลค่า 159.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.42 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อยละ 19.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 25.13 3.70 16.45 และ 44.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,923.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.88 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักทุกตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกาและ ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 8.71 11.81 5.10 และ 14.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ โดยอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,535.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.07 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักทุกตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.55 3.53 8.05 3.38 และ 38.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ รองลงมา คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 796.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.85 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปอาเซียน และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 21.72 และ 12.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.24 14.13 และ 8.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนตุลาคม 2557 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากกลุ่ม IC และ HDD ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น และในส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปสหภาพยุโรป จีนและญี่ปุ่นที่มีการปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--