อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอเพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งมอบ ในช่วงปลายปี ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศและการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึง มาตรการกระตุ้นของภาครัฐ เช่น การให้ข้าราชการทั่วประเทศแต่งเครื่องแบบข้าราชการ การรณรงค์ให้ประชาชนองค์กรต่าง ๆ ใส่เสื้อเหลืองในเดือนธันวาคมเพื่อถวายเป็นราชกุศล เป็นต้น
อุตสาหกรรมรถยนต์เดือนธันวาคม 2557 การผลิตลดลงจากเดือนธันวาคม 2556 ร้อยละ 3.29 แม้ว่ายังคง ติดลบอยู่ แต่อัตราการหดตัวน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 ที่การผลิตรถยนต์เริ่มหดตัว
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวดีต่อเนื่อง เนื่องจากทิศทางตลาดโลกที่เติบโตต่อเนื่อง โดยยังมี คำสั่งซื้อล่วงหน้าเพื่อสต๊อกสินค้าสำหรับปี 2558 โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับมือถือ อุปกรณ์สื่อสารและ Tablet ที่เพิ่มขึ้นมาก
การเปิดปิดโรงาน เดือนธันวาคม 2557 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 355 ราย ลดลงจากเดือน พฤศจิกายน 2557 ร้อยละ 20.58 โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ มีจำนวน 33 โรง จำนวนเงินทุน 12,873.62 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ เริ่มประกอบกิจการลดลงจากเดือนธันวาคม 2556 ร้อยละ 6.08 สำหรับโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมีจำนวน 51 ราย น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2557 ร้อยละ 59.2 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่ามีโรงงานที่ปิด ดำเนินกิจการน้อยกว่าร้อยละ 7.27
การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ปี 2557 มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ทั้งสิ้น 3,469 โครงการ เงินลงทุน 2,192,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 73.28 และ 117.12 ตามลำดับ โดยประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมมากที่สุดในปี 2557 คือ หมวดบริการ และ สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุน คิดเป็นร้อยละ 37.5
ทั้งนี้ เดือนธันวาคม 2557 มีการยื่นขอรับส่งเสริมมากถึง 2,092 โครงการ เงินลงทุน 1,428,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.3 และ 65.1 ของทั้งปีตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่มีแผนที่จะลงทุนหรือขยาย การลงทุนในอนาคตอยู่แล้ว จึงเร่งยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเร็วขึ้น เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามนโยบายเดิม ก่อนที่นโยบายใหม่ที่สิทธิประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมบางกลุ่มลดลง จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2558
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ติดลบหรือ หดตัวร้อยละ 0.3 อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้การผลิตลดลง คือ Hard Disk Drive รถยนต์ ปิโตรเลียม และน้ำตาล
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศเกาหลีใต้กลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยร้อยละ 0.2 หลังจากหดตัวในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2557
ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศไต้หวันขยายตัวดีต่อเนื่องร้อยละ 7.3
อย่างไรก็ตามข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประจำเดือนธันวาคม 2557 ยังไม่มีการเผยแพร่ แต่มีแนวโน้มขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องจากเดือน ก่อนหน้า โดยในเดือนพฤศจิกายน 2557 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 3.7 และ 7.8 ตามลำดับ
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2557
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2557 เมื่อ เปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2557 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 355 ราย ลดลงจากเดือน พฤศจิกายน 2557 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 447 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20.58 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 47,953 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งมีการลงทุน 36,531 ล้านบาท ร้อยละ 31.27 มีการจ้างงานจำนวน 8,670 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2557 ที่มีจำนวนการ จ้างงาน 8,526 คน ร้อยละ 1.69
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2557 เมื่อ เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งมี โรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 378 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 6.08 มีการจ้างงานรวมลดลง จากเดือนธันวาคม 2556 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 11,627 คน ร้อยละ 25.43 แต่มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจาก เดือนธันวาคม 2556 ซึ่งมีการลงทุน 24,273 ล้านบาท ร้อยละ 97.55
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2557 คือ อุตสาหกรรมขุดตักดินลูกรัง สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 37 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จ จำนวน 30 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2557 คือ อุตสาหกรรมผลิตน้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จำนวนเงินทุน 13,785.50 ล้านบาท ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ผลิตและจำ หน่าย กระแสไฟฟ้า จำนวนเงินทุน 12,873.62 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2557 คือ อุตสาหกรรม ผลิตน้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จำนวนคนงาน 912 คน รองลงมา คือ อุตสาหกรรม ผลิตเครื่องเรือนหรือเครื่องตกแต่งภายในอาคาร จำนวนคนงาน 433 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2557 เมื่อ เปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2557 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 51 ราย น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 125 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.2 มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 2,264 คน น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,132 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,697.81 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2557 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,585.88 ล้านบาท
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2557 เมื่อเปรียบเทียบ กับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนิน กิจการจำนวน 55 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 7.27แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือน ธันวาคม 2556 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 307.22 ล้านบาท มีการเลิกจ้างมากกว่าเดือนธันวาคม 2556 ที่ การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,323 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2557 คือ อุตสาหกรรม กลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 5 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 4 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2557 คือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง เงินทุน 303 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม หมัก คาร์บอไนซ์ สาง หวี รีด ปั่น อบ ควบ บิดเกลียว กรอ ฟอก ย้อมสีเส้นใย เงินทุน 280 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2557 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ นอกจากตู้เย็นและโทรทัศน์ จำนวน คนงาน 505 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนหรือเครื่องตกแต่งภายในอาคาร จำนวนคนงาน 394 คน
ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม – ธันวาคม 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการ ลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 3,469 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 2,002 โครงการ ร้อยละ 73.28 และมีเงินลงทุน 2,192,700 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 1,009,900 ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 117.12
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมในเดือนมกราคม – ธันวาคม 2557
การร่วมทุน จำนวน มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
(โครงการ)
1.โครงการคนไทย 100% 1,802 1,063,600 2.โครงการต่างชาติ 100% 898 427,800 3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 769 701,200
- ประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมมากที่สุดในเดือนมกราคม – ธันวาคม 2557 คือ หมวด บริการ และ สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 822,200 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวด เคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 430,100 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ปรับตัวลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปริมาณวัตถุดิบออกสู่ ตลาดลดลง การส่งออกปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน จากค่าเงิน บาทที่อ่อนค่าลง ส่วนการจำหน่ายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น และการจัดแคมเปญลดราคา สินค้า
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือน ธันวาคม 2557 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.8 และจากเดือน เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.3 แบ่งเป็น
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก หากเปรียบเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เช่น สับปะรดกระป๋อง และ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 34.7 และ 16.0 ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเป็นสำคัญ
กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบใน ประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ16.5 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนสินค้าที่ ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบ กับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 0.8 และ 31.4 หลังจากผลิตไว้มากในช่วงเดือนก่อน สำหรับอาหารไก่ การผลิตเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 เนื่องจากมีการปรับลดการผลิต ไก่ของบริษัทสหฟาร์มที่เกิดปัญหาทางการเงินในปีก่อน 2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนธันวาคม 2557 ปริมาณการจำหน่าย สินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 4.0 จากปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงปีก่อน คลี่คลาย และจากการจัดแคมเปญลดราคาสินค้า ทำให้ผู้บริโภคมีการ ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 12.9 และจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.5 จากค่าเงินบาทที่ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนมูลค่าการส่งออกน้ำตาลปรับตัว ดีขึ้นจากปีก่อน จากปริมาณคำสั่งซื้อที่ปรับตัวดีขึ้น แต่จากสต๊อก น้ำตาลในตลาดโลกคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ราคามีแนวโน้มยังทรงตัวใน ระดับเดียวกันของปีก่อน 3. แนวโน้ม
การผลิตและส่งออก คาดว่า จะปรับตัวชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการผลิตและส่งออกตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศจะลดลง หลังเทศกาล สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวดี ขึ้นจากการจัดแคมเปญลดราคาสินค้า เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายของ ประชาชนให้เพิ่มขึ้น
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การผลิตสิ่งทอเพิ่มขึ้นในกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าลูกไม้ และยางยืด เนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศโดยเฉพาะตลาด อินโดนีเซีย จีน อินเดีย ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ส่วนการผลิต ผ้าผืนลดลง
- ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อน การผลิตในผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าลูกไม้ และยาง ยืดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.0 6.1 และ 5.5 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดอินโดนีเซีย จีน อินเดีย ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ส่วนการผลิตผ้าผืนลดลง ร้อยละ 3.2 เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงจากกัมพูชา และญี่ปุ่น
- ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.9 และ 20.7 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งมอบในช่วงปลายปี ตาม คำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศและการบริโภคภายในประเทศที่ ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ เช่น การให้ข้าราชการ ทั่วประเทศแต่งเครื่องแบบข้าราชการ การรณรงค์ให้ประชาชน องค์กร ต่าง ๆ ใส่เสื้อเหลืองในเดือนธันวาคมเพื่อถวายเป็นราชกุศล เป็นต้น
- ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน กลุ่มสิ่งทอส่วนใหญ่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นใน ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนู และยางยืด ส่วน กลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนเสื้อผ้าถัก และเสื้อผ้า ทอ โดยเฉพาะเสื้อผ้ากันหนาวและเสื้อชุดกีฬา มีความต้องการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มเสื้อผ้าทอแนวแฟชั่นขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันตามกำลังซื้อ
- การส่งออก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่า โดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มสิ่งทอ ร้อยละ 3.8 แต่ลดลงในกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ร้อยละ 2.5 โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ ผลิตจากฝ้าย และเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากวัตถุทออื่น ๆ จากมูลค่าที่ลดลงใน ตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน และ สหภาพยุโรป ร้อยละ 2.8 และ 3.6 ตามลำดับ
คาดว่าการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมจะยัง ขยายตัวได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งผู้ผลิตเสื้อผ้าได้มีการส่ง มอบสินค้าจำนวนมากในเดือนที่ผ่านมา อาจส่งผลให้การส่งออกในเดือน มกราคม 2558 เกิดการชะลอตัว สำหรับการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และผ้าผืน อาจมีความต้องการโดยเฉพาะในตลาดอาเซียนซึ่งจะทำให้การส่งออกมี ทิศทางดีขึ้น
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ปริมาณการผลิตเหล็กดิบของจีนปี 2557 ประมาณ 815 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุที่การขยายตัวอยู่ใน อัตราที่ชะลอตัวลง เป็นผลมาจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจจีน ในขณะที่กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฉบับ ใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ซึ่งจะส่งผล ต่อยอดการผลิตเหล็กดิบของจีน
สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนธันวาคม 2557 ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 113.36 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุดังนี้
- ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวมีการผลิตลดลง ร้อยละ 17.70 เมื่อเทียบ
- ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.13 โดย เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.89 เนื่องจากคำสั่งซื้อของอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุอาหาร เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ที่มีความต้องการขยายตัวมากขึ้น รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.90 เนื่องจากการกลับมา ผลิตของผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนรายหนึ่งซึ่งหยุดการผลิตไปตั้งแต่ประมาณกลางปี 2555 สำหรับดัชนีส่งสินค้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.90 และดัชนีสินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้น ร้อย ละ 6.59 สำหรับภาพรวมการผลิตของเหล็กทรงแบนในประเทศขยายตัวขึ้นเล็กน้อย และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า ปริมาณการ นำเข้าเหล็กเส้น Alloy steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 117.8 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบ โครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 89.0
จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศ ไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในเดือนธันวาคม 2557 เทียบกับเดือนก่อน พบว่า ผลิตภัณฑ์ เหล็กมีการปรับตัวลดลงทุกชนิด เช่น เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 101.88 เป็น 93.64 ลดลง ร้อยละ 20.88 เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 106.97 เป็น 96.51 ลดลง ร้อยละ 18.63 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 102.56 เป็น 93.94 ลดลง ร้อยละ 16.43 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 111.21 เป็น 104.67 ลดลง ร้อยละ 9.38 และเหล็กเส้น ลดลงจาก 108.51 เป็น 111.7 ลดลง ร้อยละ 5.91 เนื่องจากผู้ผลิตสินแร่เหล็กรายใหญ่ของโลก เช่น บราซิล ยังไม่ ลดการผลิตในขณะที่ความต้องการใช้เหล็กโลกยังคงชะลอตัวอยู่ ส่งผลให้ราคาเหล็กใน ตลาดโลกลดลง 3. แนวโน้ม
สถานการณ์การผลิตเหล็กของไทยในเดือนมกราคม 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน คาดว่าการผลิตเหล็กโดยรวมจะทรงตัว โดยเหล็กทรงยาว คาดการณ์ว่าการผลิตจะ ทรงตัวเนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างทั้งโครงการภาครัฐและเอกชนที่ยังคงทรงตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยตามสถานการณ์อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ) ที่ยังคงขยายตัวอยู่
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2557 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดในประเทศ อัน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ประกอบกับ หนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง
จำนวน 153,669 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งมีการผลิต 158,893 คัน ร้อยละ 3.29 โดย เป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ กระบะ 1 ตัน
จำ นวน 89,504 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งมีการจำหน่าย 113,921 คัน ร้อยละ 21.43 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และ รถยนต์ PPV รวมกับ SUV
จำนวน 89,146 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งมีการส่งออก 87,961 คัน ร้อยละ 1.35 โดยเป็นการ เพิ่มขึ้นในประเทศแถบโอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกา เหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2558 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2557 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2558 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ร้อยละ 40 และส่งออกร้อยละ 60
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือน ธันวาคม 2557 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 2556 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นตาม ความต้องการของตลาดส่งออก
จำนวน 153,187 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งมีการผลิต 143,872 คัน ร้อยละ 6.47 โดยเป็น การปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ สปอร์ต
จำนวน 120,001 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งมีการจำหน่าย 126,752 คัน ร้อยละ 5.33 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่าย รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
จำนวน 29,597 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2556ซึ่งมีการส่งออก 28,300 คัน ร้อยละ 4.58 โดย เป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และ ฟิลิปปินส์
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือน มกราคม 2558 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับ เดือนมกราคม 2557 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม 2558 ประมาณการว่าจะมีการผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 83 และส่งออกร้อยละ 17
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้ โดยมี
การผลิตปูนซีเมนต์ลดลงเล็กน้อย ในขณะที่มีปริมาณการจำหน่าย
ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของภาคก่อสร้าง
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้นมาก เนื่องจากมียอดการ
สั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
ในเดือนธันวาคม 2557 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณ การผลิตปูนซีเมนต์ลดลงร้อยละ 4.31 ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ ของปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76
เมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้ แม้ว่า จะมีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณ การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้ ปูนซีเมนต์ในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นสัญญานที่ดี บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์จะขยายตัวดีขึ้นได้ในระยะต่อไป ทั้งนี้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ของภาคเอกชนชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องในปี 2557 ตลอดทั้งปี เนื่องจากราคาที่ดิน พุ่งสูงขึ้นจนไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนในโครงการใหม่ 2. การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนธันวาคม 2557 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 66.96
เมื่อพิจารณาในภาพรวม การส่งออกขยายตัวดีขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากมียอดการสั่งซื้อจากตลาดคู่ค้าหลักของไทย โดยเฉพาะเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 ที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วงต้นปีเดียวกัน ทำให้ บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทยต่างวางแผนการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น มูลค่าการ ส่งออกจึงขยับตัวสูงขึ้นตาม ถึงแม้ว่าปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือน ธันวาคมจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าปริมาณที่สามารถผลิตได้ในประเทศอยู่มาก จึงไม่ กระทบต่อการส่งออกแต่อย่างใด 3. แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มี แนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากช่วงต้นปีเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้างของไทย ประกอบ กับภาครัฐมีนโยบายที่ชัดเจนในการเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในประเทศ ซึ่ง จะทำให้ภาคเอกชนสามารถพัฒนาโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมในที่ดินที่ยังมีราคา ไม่สูงมากนักได้ นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะมีโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนใหม่อีกหลายแห่งด้วย
สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นอีก เนื่องจากเป็น ช่วงที่ประเทศคู่ค้าหลักของไทยในอาเซียนเองก็จะเข้าสู่ฤดูกาลก่อสร้างเช่นกัน บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์จึงต้องวางแผนการผลิตในปริมาณที่สูงขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้ในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัว และเพื่อไม่ให้ กระทบต่อการส่งออกที่กำลังขยายตัวดีขึ้นเรื่อยๆ
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2557 มีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวลดลงของ HDD ในส่วนอุตสาหกรรมไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.99 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ เครื่องป รับอากาศแบบ แยก ส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์และตู้เย็น ตามกำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัวขึ้น
เครื่องใช้ไฟฟ้า/ มูลค่า %YoY อิเล็กทรอนิกส์ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) อุปกรณ์ประกอบของ 1,636.92 +15.03 เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า 720.06 +0.48 เครื่องปรับอากาศ 275.96 +3.17 กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้อง 140.28 -3.36 ถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,771.02 +11.36 และอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2557 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ ระดับ 269.72 ลดลงร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 114.15 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี ก่อนโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.30 2.69 และ 13.54เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อใน ประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัว ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง คือ สายไฟฟ้า เครื่องรับโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 16.06 และ 1.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในส่วนของ เครื่องรับโทรทัศน์มีผู้ผลิตบางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศ ในกลุ่มอาเซียน
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 357.97 ลดลงร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลง คือ HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความ ต้องการใช้ในคอมพิวเตอร์ลดลง แต่มีการผลิต HDD ที่มีความ จุมากขึ้นสำหรับนำไปใช้ใน Cloud Storage ศูนย์ข้อมูลขนาด ใหญ่ด้านวิดิทัศน์ ภาพ/เสียง , External HDD มากขึ้น ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตจะไม่มากเท่าเดิม แต่ราคาต่อหน่วยเพิ่ม สูงขึ้น ในส่วน Other IC, Monolithic IC และ Semiconductor เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.60 12.71 และ 1.53 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ใน อุปกรณ์สื่อสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ)
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือน ธันวาคม 2557 มีมูลค่า 4,771.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อย ละ 11.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,893.45 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดอาเซียน สหรัฐอเมริกา และจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.75 27.42 และ 7.98 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามตลาดสหภาพ ยุโรปและญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.16 และ 3.19 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่า ส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 275.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จากการส่งออกไปอาเซียนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ รองลงมา คือ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่งวีดีโออื่น ๆ มี มูลค่า 140.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.36 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ ปรับตัวลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน สหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 28.51 22.95 18.32 และ 4.63 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,877.57 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้น ร้อย ละ 22.15 19.32 11.06 8.94 และ 7.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามลำดับ
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,636.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.03 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักส่วน ใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.02 26.71 26.04 และ 12.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ รองลงมา คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 720.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดจีน และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.49 และ 10.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่อาเซียนและสหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 12.49 และ 13.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือน มกราคม 2558 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบัน ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.78 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้า คาดว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น และการส่งออกไป ตลาดอาเซียนและสหรัฐอเมริกาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการ ส่งออก IC ที่มีการขยายตัวตามความต้องการในตลาดโลกที่ ปรับตัวสูงขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--