รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมกราคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 24, 2015 16:12 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือน ธันวาคม 2557 แต่หากพิจารณาเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงมีอัตราหดตัวร้อยละ 1.3 อย่างไร ก็ตามอุตสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม รวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ที่การผลิตกลับมาขยายตัวเป็นบวกในรอบ 19 เดือน

อุตสาหกรรมรถยนต์ เดือนมกราคม 2558 การผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.1 เป็นการกลับมาขยายตัวเป็นบวกในรอบ 19 เดือนนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเพิ่มขึ้น จากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ เช่น การให้ ข้าราชการทั่วประเทศแต่งเครื่องแบบข้าราชการ การรณรงค์ให้ประชาชน องค์กรต่าง ๆ ใส่เสื้อสีม่วงใน เดือนเมษายนเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่งผลให้ภาคการ ผลิตและการบริโภคขยายตัว

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวดีต่อเนื่อง เนื่องจากทิศทางตลาดโลกที่เติบโต ต่อเนื่อง โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับมือถือ อุปกรณ์สื่อสารและ Tablet ที่เพิ่มขึ้นมาก

การเปิดปิดโรงาน เดือนมกราคม 2558 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 330 ราย ลดลงจากเดือนธันวาคม 2557 ร้อยละ 7.0 โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน ยานพาหนะที่ทำด้วยยาง มีจำนวน 3 โรง จำนวนเงินทุน 763.71 ล้านบาท และจำนวนคนงาน 334 คน อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นจาก เดือนมกราคม 2557 ร้อยละ 5.1 สำหรับโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมีจำนวน 107 ราย มากกว่าเดือน ธันวาคม 2557 ร้อยละ 109.8 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่ามีโรงงานที่ปิด ดำเนินกิจการมากกว่าร้อยละ 25.9

การขอรับการส่งเสริมการลงทุน เดือนมกราคม 2558 มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริม การลงทุนจาก BOI ทั้งสิ้น 36 โครงการ เงินลงทุน 7,660 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 48.57 และ 62.02 ตามลำดับ โดยประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมมากที่สุด คือ หมวด บริการ และ สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนคิดเป็นร้อยละ 76.76

การนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบ ในเดือนมกราคม 2558 การนำเข้าเครื่องจักร อุตสาหกรรม และเครื่องมือกล มีมูลค่า 976.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวเร่งขึ้นจากในเดือนธันวาคม 2557 ซึ่งหดตัวร้อยละ 1.5 โดยการนำเข้า เครื่องมือกลหดตัวร้อยละ 33.6 และการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 7.6

ด้านการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป(ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 6,555.7 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.5 กลับมาหดตัวเล็กน้อยหลังจากขยายตัวต่อเนื่องนานสี่เดือน จากการนำเข้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เคมีภัณฑ์ รวมถึง ด้าย เส้นใย และผ้าผืน ที่ลดลง

การใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ประจำเดือนมกราคม 2558 มีปริมาณ ทั้งหมดจำนวน 8,965 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงร้อยละ 2.16 จากเดือนธันวาคม 2557 (9,163 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.30 จากช่วงเดียวกันของปี 2557 (8,514 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) หาก แยกการใช้ไฟฟ้าตามขนาดของกิจการ พบว่า กิจการขนาดเล็กและขนาดกลางมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง จากเดือนที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2557 ส่วนกิจการขนาดใหญ่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านและช่วงเดียวกันของปี 2557

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ติดลบหรือ หดตัวร้อยละ 1.3 อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้การผลิตลดลง คือ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์ น้ำตาล และเม็ดพลาสติก

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศเกาหลีใต้ขยายตัวต่อเนื่องได้เป็นเดือนที่สองที่ร้อย ละ 1.7

ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศไต้หวันขยายตัวดีต่อเนื่องร้อยละ 9.7

อย่างไรก็ตามข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประจำเดือนมกราคม 2558 ยังไม่มีการเผยแพร่ แต่มีแนวโน้มขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องจากเดือน ก่อนหน้า โดยในเดือนธันวาคม 2557 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 7.9 และ 5.2 ตามลำดับ

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2558

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2557 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 330 ราย ลดลงจากเดือนธันวาคม 2557 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 355 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 7.0 มียอดเงินลงทุน รวมทั้งสิ้น 17,042 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2557 ซึ่งมีการลงทุน 47,953 ล้านบาท ร้อยละ 64.5 และมีการจ้างงานจำนวน 6,292 คน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2557 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,670 คน ร้อยละ 27.4

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2558 เมื่อ เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมากกว่าเดือนมกราคม 2557 ซึ่งมี โรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 314 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากว่าร้อยละ 5.1 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้น จากเดือนมกราคม 2557 ซึ่งมีการลงทุน 10,178 ล้านบาท ร้อยละ 67.44 แต่มีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือน มกราคม 2557 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,922 คน ร้อยละ 9.1

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2558 คือ อุตสาหกรรมขุดตักดินลูกรัง สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 40 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ทำเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งในอาคารบ้านเรือนจากไม้ จำนวน 26 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2558 คือ อุตสาหกรรม ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล จำนวนเงินทุน 6,278.80 ล้านบาท ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะที่ทำด้วยยาง จำนวนเงินทุน 763.71 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2558 คือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะที่ทำด้วยยาง จำนวนคนงาน 334 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 329 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2558 เมื่อ เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2557 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 107 ราย มากกว่าเดือนธันวาคม 2557 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 109.8 มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 3,985 คน มากกว่าเดือนธันวาคม 2557 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,264 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,526 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2557 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,697 ล้านบาท

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบ กับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนมกราคม 2557 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนิน กิจการจำนวน 85 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 25.9 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมกราคม 2557 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,385 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างมากกว่าเดือนมกราคม 2557 ที่การ เลิกจ้างงานมีจำนวน 3,498 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2558 คือ อุตสาหกรรม ซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 11 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดตักดินลูกรัง สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 9 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2558 คือ อุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินทุน 255 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ทำอาหารหรือเครื่องดื่มจากผัก พืช ผลไม้ บรรจุในภาชนะผนึกอากาศเข้าไม่ได้เงินทุน 213 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2558 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำ เร็จรูป จำ นวนคนงาน 1,184 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวนคนงาน 702 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 36 โครงการ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 70 โครงการ ร้อยละ 48.57 และมีเงินลงทุน 7,660 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 20,170 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.02

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมในเดือนมกราคม 2558
          การร่วมทุน                    จำนวน     มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)

(โครงการ)

          1.โครงการคนไทย 100%           15            6,060
          2.โครงการต่างชาติ 100%          13              490
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     8            1,110
  • ประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมมากที่สุดในเดือนมกราคม 2558 คือ หมวดบริการ และ สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 5,880 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดแร่ เซรามิก และ โลหะขั้นมูลฐาน มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 888 ล้านบาท

1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ปรับตัวลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปริมาณวัตถุดิบออกสู่ ตลาดลดลง การส่งออกปรับตัวลดลงจากปีก่อน จากค่าเงิน บาทที่กลับมาแข็งค่าขึ้น ส่วนการจำหน่ายในประเทศปรับตัวลดลงหลังเทศกาล และจากการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก ผู้บริโภคตัดสินใจชะลอการใช้จ่ายลง

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมกราคม 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.3 แต่ปรับลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5 แบ่งเป็น

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก หากเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เช่น สับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิต ลดลงร้อยละ 32.5 เนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเป็นสำคัญ

กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อย ละ 42.1 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 50.6 และ 74.6 สำหรับอาหารไก่ การผลิตเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3 เนื่องจากมีการปรับลดการผลิตไก่ของ บริษัทสหฟาร์มที่เกิดปัญหาทางการเงินในปีก่อน

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนมกราคม 2558 ปริมาณการจำหน่ายสินค้า อาหารและเกษตรในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อย ละ 15.3 จากการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก ทำให้ผู้บริโภคมีการ ใช้จ่ายลดลง

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่ รวมน้ำตาล) เดือนมกราคม 2558 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 11.8 และจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.6 จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อ เทียบกับปีก่อน ส่วนมูลค่าการส่งออกน้ำตาลปรับตัวลดลงจากปีก่อน จาก ราคาที่ทรงตัวจากปีก่อน แต่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้มูลค่าส่งออกในรูป เงินบาทลดลง

3. แนวโน้ม

การผลิตและส่งออก คาดว่า จะปรับตัวชะลอตัวลงจากปีก่อน เนื่องจาก การผลิตและส่งออกตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศจะลดลงหลังเทศกาล สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากผ่าน เทศกาลปีใหม่ โดยผู้บริโภคยังชะลอการใช้จ่ายจากการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิตเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีการกระตุ้นกำลังซื้อภายใน ประกอบกับมาตรการ กระตุ้นจากภาครัฐส่งผลให้ภาคการผลิตและการบริโภคขยายตัว

1. การผลิต

  • ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 และยางยืด เพิ่มขึ้น ร้อย ละ 6.3 ตามปริมาณการใช้ที่ขยายตัวในกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ส่วนผ้าผืน ลดลง ร้อยละ 2.1 เนื่องจากคำสั่งซื้อของตลาดคู่ค้าหลัก ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์บังคลาเทศ และจีน ลดลง
  • ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่มเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน การผลิตเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.9 และ5.9ตามลำดับ เนื่องจากผู้ผลิตมีการกระตุ้นกำลังซื้อโดยปรับลดราคาสินค้าสำหรับ พนักงาน ประกอบกับมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ เช่น การให้ข้าราชการทั่ว ประเทศแต่งเครื่องแบบข้าราชการ การรณรงค์ให้ประชาชน องค์กรต่าง ๆ ใส่ เสื้อสีม่วงในเดือนเมษายนเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่งผลให้ภาคการผลิตและการบริโภคขยายตัว

2. การจำหน่าย

  • ปริมาณการจำหน่ายในประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน กลุ่มสิ่งทอส่วนใหญ่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่ง ทอ ผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนู และยางยืดส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีการ จำหน่ายเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนเสื้อผ้าถัก และเสื้อผ้าทอ โดยเฉพาะเสื้อผ้าเครื่อง แต่งกายชั้นในสตรีและเด็กหญิงและเสื้อชุดกีฬา มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการส่งเสริมการตลาดจากผู้ผลิต
  • การส่งออกเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่า โดยรวมลดลงร้อยละ 6.0 ซึ่งเป็นการลดลงในกลุ่มสิ่งทอ ร้อยละ 3.2 และกลุ่ม เครื่องนุ่งห่ม ร้อยละ 10.0 โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากฝ้าย ไหม และเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากวัตถุทออื่น ๆ ลดลง ร้อยละ 11.4 จากคำสั่งซื้อใน ตลาดหลักที่ลดลงโดยมูลค่าในตลาดสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ลดลง ร้อยละ 20.5 6.0 และ 3.2 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

คาดว่าการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมจะ ชะลอตัวโดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้าสำ เร็จรูป ซึ่งผู้ผลิตเสื้อผ้าได้มีการ ส่งมอบสินค้าจำนวนมากในเดือนที่ผ่านมา อาจส่งผลให้การส่งออกในเดือน หน้าเกิดการชะลอตัว สำหรับการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และผ้าผืนอาจมีความ ต้องการโดยเฉพาะในตลาดอาเซียนซึ่งจะทำให้การส่งออก มีทิศทางดีขึ้น

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

สมาคมเหล็กโลก (The World Steel Association) รายงาน การผลิตเหล็กดิบของโลกเดือนมกราคม 2558 มี ปริมาณ 133.1 ล้านตัน ลดลง ร้อยละ 2.9 ปริมาณการผลิตใน เอเชีย ลดลง ร้อยละ 3.9 โดยผู้ผลิตเหล็กดิบรายใหญ่ เช่น จีน มีปริมาณการผลิต 65.5 ล้านตัน ลดลง ร้อยละ 4.7 เช่นเดียวกับการผลิตเหล็กดิบของประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ที่ ลดลงร้อยละ 5 และร้อยละ 4 ตามลำดับ แต่ในตะวันออก กลางยังคงเป็นภูมิภาคที่มีการผลิตเหล็กดิบขยายตัวมากที่สุด คือ มีปริมาณการผลิต 2.3 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ13.1

1. การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมกราคม 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 123.44 มีอัตราการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.06 โดยเหล็กแผ่น รีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.27 เนื่องจากการกลับมาผลิตของผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน รายหนึ่งซึ่งหยุดการผลิตไปตั้งแต่ประมาณกลางปี 2555 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบ โครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.82 เนื่องจากคำสั่งซื้อของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุ อาหาร เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ที่มีความต้องการขยายตัวมากขึ้น โดยภาพรวมการผลิตของเหล็ก ทรงแบนในประเทศขยายตัวขึ้นแต่ความต้องการใช้ในประเทศกลับลดลงประมาณ ร้อยละ 1.0 เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าในส่วนของเครื่องปรับอากาศที่มีการผลิตที่ ชะลอตัวลง และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า ปริมาณการ นำเข้าเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 6.9 โดยเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Stainless steel ลดลง มากที่สุด ร้อยละ 68.3 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นหนา ลดลง ร้อยละ 47.6 ในส่วนของการส่งออก ลดลง ร้อยละ 24.0 โดยเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Carbon steel ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 91.4 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน ลดลง ร้อยละ 80.2
  • ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวมีการผลิตลดลง ร้อยละ 6.81 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน โดยลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 13.61 เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 12.38 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่าการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.97 โดยลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.50 เหล็กเส้นกลมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.96 ภาพรวม สถานการณ์การผลิตเหล็กทรงยาว อยู่ในภาวะชะลอตัว แต่ในส่วนของความต้องการใช้ในประเทศกลับ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนก่อสร้างโครงการของเอกชน ได้แก่ โครงการ ก่อสร้างคอนโดมิเนียมในต่างจังหวัดที่เป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ได้เริ่มกลับมาฟื้นตัว นอกจากในส่วน ของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก็ยังคงมีอยู่ แต่ในส่วนของการลงทุนก่อสร้างโครงการ ของภาครัฐที่จะกระตุ้นให้การผลิตเหล็กทรงยาวสูงขึ้นยังไม่เกิดขึ้น คาดว่าการก่อสร้างจะเริ่ม ประมาณปลายปี 2558 และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า ปริมาณการนำเข้าเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.5 โดยเหล็กลวด ชนิด Alloy steel เพิ่มขึ้น มากที่สุด ร้อยละ 119.5 รองลงมาคือ เหล็กเส้น ชนิด Alloy steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 116.6 ในส่วน ของการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.0 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ชนิด stainless steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 592.9 รองลงมาคือ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 179.5

2. ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำ คัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในเดือนมกราคม 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กมีการปรับตัวลดลงทุกชนิด เช่น เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 120.46 เป็น 87.2 ลดลง ร้อยละ 27.61 เหล็กเส้น ลดลงจาก 117.02 เป็น 90 ลดลง ร้อยละ 23.09 เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลง จาก 116.94 เป็น 92.47 ลดลง ร้อยละ 20.93 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 112.82 เป็น 90.25 ลดลง ร้อยละ 20.01 และ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 115.51 เป็น 100.93 ลดลง ร้อยละ 12.62เนื่องจาก ผู้ผลิตสินแร่เหล็กรายใหญ่ของโลก เช่น บราซิล ยังไม่ลดการผลิตในขณะที่ความต้องการใช้เหล็กโลกยังคงชะลอตัว ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าการผลิตเหล็กโดยรวมจะทรงตัว โดยเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาคเอกชนที่ยังคงพอมีอยู่ โดยจะเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้นจะไม่ สต็อกไว้ เนื่องจากรอดูทิศทางของราคาเหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าจะชะลอตัวเล็กน้อยตาม สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ) ที่มีแนวโน้มการผลิตลดลง

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2558 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกอัน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่เริ่มฟื้นตัว

1. การผลิตรถยนต์

จำนวน166,400คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2557 ซึ่งมีการ ผลิต 162,652 คัน ร้อยละ 2.30 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการ ผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

2. การจำหน่ายรถยนต์

จำนวน 59,721 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2557ซึ่งมีการ จำหน่าย 68,508 คัน ร้อยละ 12.83 โดยเป็นการปรับลดลงของ การจำหน่ายรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการ พาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV

3. การส่งออกรถยนต์

จำนวน 92,440 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2557ซึ่งมีการ ส่งออก 81,025คัน ร้อยละ 14.09โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศ แถบโอเชียเนีย ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์2558คาดว่าจะ ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2557สำหรับการ ผลิตรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์2558ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 44 และส่งออกร้อยละ 56

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือน มกราคม 2558 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 2557โดยเป็นการเพิ่มขึ้นตามความ ต้องการของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก

1. การผลิตรถจักรยานยนต์

จำนวน 173,146 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2557 ซึ่งมีการ ผลิต165,226 คัน ร้อยละ 4.79โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการ ผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต

2. การจำหน่ายรถจักรยานยนต์

จำนวน 142,929 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2557ซึ่งมีการ จำหน่าย 125,605คัน ร้อยละ 13.79โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของ การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์และ แบบสปอร์ต

3. การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป(CBU)

จำนวน 27,357 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2557ซึ่งมีการ ส่งออก 25,063 คัน ร้อยละ9.15โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์

4. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2557 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์2558 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 83 และส่งออกร้อยละ 17

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“ในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวได้ดีจาก การส่งออก เนื่องจากมียอดการสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตาม การ ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงเนื่องจากฐานตัวเลข ของปีก่อนค่อนข้างสูง และภาคก่อสร้างของไทยยังไม่ขยายตัวมาก นัก”

1. การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนมกราคม2558เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการ ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงร้อยละ 5.71 และร้อยละ 2.70 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้แม้ว่าจะมี ปริมาณการผลิตและจำหน่ายในประเทศของปูนซีเมนต์ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อนก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากฐานตัวเลขของปีก่อนค่อนข้างสูง ประกอบกับปริมาณ ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศยังไม่ขยายตัวมากนัก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การหดตัวของการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน โดยมีสาเหตุหลักคือ ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นมากจนไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนในโครงการใหม่

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนมกราคม2558เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.89

เมื่อพิจารณาในภาพรวมการส่งออกขยายตัวดีขึ้นเนื่องจากมียอดการสั่งซื้อ จากตลาดคู่ค้าหลักของไทย โดยเฉพาะเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศของไทยยังทรงตัวทำให้บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ต้องวางแผนการผลิตเพื่อส่งออกเช่นเดียวกับเมื่อปี 2557ที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าการส่งออก ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่คาดการณ์ว่า จะสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองของปี ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตบางรายเริ่มมีการสำรอง ปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศบ้างแล้ว

3. แนวโน้ม

การผลิตและจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถึงแม้ว่าช่วงต้นปีจะเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้างของไทยก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากฐานตัวเลขของปีก่อนค่อนข้างสูง ประกอบกับบริษัทข้ามชาติที่จะ เข้ามาลงทุนในไทยและได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ยังไม่มีแผนก่อสร้างโรงงานที่ ชัดเจนในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมในที่ดินใหม่ ที่ยังมีราคาไม่สูงมากนักของภาคเอกชนเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้นได้ต่อไป

สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศคู่ค้าหลักของไทยในอาเซียนเข้าสู่ฤดูกาลก่อสร้าง โดย บริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์อาจวางแผนการผลิตในปริมาณที่สูงขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณ ความต้องการใช้ในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัว และเพื่อไม่ให้กระทบต่อการส่งออกที่ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมกราคม 2558 มีการปรับตัวลดลงร้อย ละ 6.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรม ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 14.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 5.26 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผลิต HDD ลดลง แต่มูลค่า ต่อหน่วยสูงขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของเดือนมกราคม 2558 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 251.16 ลดลง ร้อยละ 6.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรม ไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 123.79 ลดลงร้อยละ 14.03 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดปรับตัว ลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ และ เครื่องรับโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 11.46 14.13 13.42 และ 38.08 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากกลุ่ม เครื่องปรับอากาศได้รับผลกระทบจากตลาดส่งออกหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว (สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น) สำหรับในส่วนของเครื่องรับโทรทัศน์มีผู้ผลิต บางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศในกลุ่มอาเซียน ยกเว้นตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะผู้ผลิต บางรายมีการออกตู้เย็นรุ่นใหม่ โดยการปรับปรุงให้มีความทันสมัยและ ประหยัดพลังงานมากขึ้น เพื่อสร้างจุดแข็งในการทำตลาด

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 323.42 ลดลงร้อย 5.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ ปรับตัวลดลง คือ HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.61 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ในคอมพิวเตอร์ลดลง แต่มีการผลิต HDD ที่มีความจุมากขึ้นสำหรับนำไปใช้ใน Cloud Storage ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านวิดิทัศน์ ภาพ/เสียง , External HDD มากขึ้น ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตจะไม่มากเท่าเดิม แต่ราคา ต่อ หน่วยเพิ่มสูงขึ้น ในส่วน Monolithic IC, Other IC และ Semiconductor เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.76 12.38 และ 4.56 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ในอุปกรณ์ สื่อสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ)

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมกราคม 2558 มีมูลค่า 4,587.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.53 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,854.91 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดอาเซียน สหรัฐอเมริกา และจีน ปรับตัว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.67 20.13 และ 17.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามตลาดสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.16 และ 12.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ตามลำดับ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 347.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 1.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไป ตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง รองลงมาคือ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่งวีดีโออื่น ๆ มีมูลค่า 122.26 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการ ส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน และ ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 38.15 37.91 และ 30.05 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 114.15 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,733.04 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อาเซียน และ สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.68 11.48 9.69 และ 0.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 12.45เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ อุปกรณ์ ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,559.56 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.55 8.12 4.74 และ 4.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ รองลงมา คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 621.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออก ไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.12 22.15 6.29 และ 4.93 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่อาเซียนลดลงร้อย ละ 8.71 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกุมภาพันธ์ 2558 จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ที่จัดทำ โดยสถาบันไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 4.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะลดลงร้อยละ 6.10 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยัง ไม่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง สำหรับอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 4.01 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน จากการผลิต HDD ลดลงตามความต้องการ คอมพิวเตอร์ที่มีการปรับตัวลดลง

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ