ดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่าดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มี 27 อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์และเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพเพิ่มขึ้น ดัชนีการส่งสินค้า มี 25 อุตสาหกรรมที่มีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม เพิ่มขึ้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง มี 27 อุตสาหกรรมที่มีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตสิ่งทออื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตรองเท้า การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์เพิ่มขึ้น
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม มี 22 อุตสาหกรรมที่มีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ การผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทอบ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตน้ำตาล การผลิตลวดและเคเบิ้ลที่หุ้มฉนวน การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเซรามิกชนิดไม่ทนไฟ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรเพิ่มขึ้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต มี 30 อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน การผลิตยานยนต์การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตน้ำตาล การผลิตรองเท้าเพิ่มขึ้น
ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
ธันวาคม 2557 * ------------------------------------------------------------------------------------------------------ ดัชนี(*) | อัตราการเปลี่ยนแปลง | อัตราการเปลี่ยนแปลง | เมื่อเทียบกับเดือนก่อน(%) | เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ------------------------------------------------------------------------------------------------------ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) 171.91 1.60 3.55 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) 190.98 2.21 3.24 ดัชนีการส่งสินค้า 178.71 2.19 0.89 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 192.66 4.01 -9.82 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 170.15 5.09 -11.36 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม 110.46 -1.51 -1.19 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 163.98 2.34 6.43 อัตราการใช้กำลังการผลิต 61.40 (*) เป็นดัชนีรวมเบื้องต้นของ 53 อุตสาหกรรม --สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--