สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (มกราคม - มีนาคม 2558)(เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 26, 2015 13:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

ในไตรมาส 1 ปี 2558 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศยังคงขยายตัว เช่น สหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป สำหรับประเทศญี่ปุ่นเศรษฐกิจหดตัว ขณะที่สหภาพยุโรปอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ 52.5 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ 104.4 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิถุนายน (ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2558) อยู่ที่ 60.93 USD/Barrel ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากกลุ่มผู้ประท้วงในประเทศลิเบียปิดท่อส่งน้ำมัน และสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ได้รายงานสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลง

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2558 ยังคงขยายตัว จากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่าเป้าหมายที่ Fed กำหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 101.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 80.5

การผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 77.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 76.2 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 105.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 102.2

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 0.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 5.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.9 อัตราการว่างงานมีการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ด้านการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจจีน

เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2558 ชะลอตัว จากการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัว โดยเฉพาะการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์

ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 7.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 10.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 12.2 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 13.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 107.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.0

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 6.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.9

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 10.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 4.7 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 17.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.3 อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 1 ของปี 2557

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5.1 เพื่อส่งเสริมการลงทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะ ชะลอตัว

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2557 หดตัว อันเป็นผลมาจากการบริโภคและการลงทุนในภาคก่อสร้าง และในไตรมาส 1 ปี 2558 มีแนวโน้มขยายตัว

ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 4 ปี 2557 GDP หดตัวร้อยละ 0.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2557 หดตัวร้อยละ 2.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 4 ปี 2557 หดตัวร้อยละ 15.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 4 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 38.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.3

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 100.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 101.9

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 9.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 9.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.5

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.5 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 รวมถึงการมีมติคงนโยบายผ่อนคลายการเงินและขยายโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นสถาบันการเงินให้เพิ่มการปล่อยสินเชื่อ

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2557 ยังคงขยายตัว อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงและในไตรมาส 1 ปี 2558 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 4 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 การบริโภคไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 104.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.0 สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 104.4 และ105.5 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคมหดตัวร้อยละ 2.6 และกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 1.7 การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ที่หดตัวร้อยละ 5.6 สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคมหดตัวร้อยละ 4.7 และกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 1.7

อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ -0.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.7 อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 10.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 11.2 อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 และยังคงดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อเสริมสภาพคล่องและกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง

เศรษฐกิจฮ่องกง ในไตรมาส 4 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 โดยการบริโภคของภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าที่แท้จริงขยายตัวชะลอลง

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 4 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 โดยการบริโภคของภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าที่แท้จริงขยายตัวชะลอลง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 96.4 หดตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 118,194 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (จากที่ไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4)ตามการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้าที่ร้อยละ 5.6 ขณะที่การส่งออกไปสหภาพยุโรป(27) ญี่ปุ่น และไต้หวัน หดตัวร้อยละ 1.0 6.6 และ 11.0 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 133,503 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าฮ่องกงขาดดุลการค้า 15,309 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ฮ่องกงเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อมาตรการอุดหนุนค่าไฟของรัฐบาลได้หมดลง รวมถึงราคาค่าเช่าที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 คงที่จากในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง

เศรษฐกิจเกาหลีใต้

เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 โดยการลงทุนรวม และการบริโภคภายในประเทศขยายตัวเร่งขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งออกที่แท้จริงหดตัว

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 โดยการลงทุนรวม และการบริโภคภายในประเทศขยายตัวเร่งขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งออกที่แท้จริงหดตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 104.9 หดตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีฯ ในเดือนมกราคม 2558 ขยายตัวร้อยละ 1.6 แต่กลับมาหดตัวอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2558 ที่ร้อยละ 5.2 และ 0.4 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 133,568 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.4 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) หดตัวร้อยละ 1.5 ขณะที่การส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป หดตัวร้อยละ 40.2 22.1 และ 21.4 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 111,983 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้เกินดุลการค้า 21,585 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากราคาสินค้าเกษตร ปศุสัตว์ และประมงที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.5

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.75 (ภายหลังจากที่เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 2.00 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ)

เศรษฐกิจสิงคโปร์

เศรษฐกิจสิงคโปร์ ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคการก่อสร้างและภาคการบริการที่ขยายตัว อย่างไรก็ตามภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 3.4 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง จากการผลิตในกลุ่มวิศวกรรมขนส่ง อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มวิศวกรรมเครื่องมือวัดที่ลดลง

ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 1 ปี 2558 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากกิจกรรมการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคการบริการขยายตัวร้อยละ 3.1 ตามการเติบโตของภาคการค้าปลีก ค้าส่ง อย่างไรก็ตามภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 3.4 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง จากการผลิตในกลุ่มวิศวกรรมขนส่ง อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มวิศวกรรมเครื่องมือวัดที่ลดลง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 100.0 หดตัวร้อยละ 2.7 โดยดัชนีฯ ในเดือนมกราคม 2558 ขยายตัวร้อยละ 1.2 แต่กลับมาหดตัวอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2558 ที่ร้อยละ 3.3 และ 5.5 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2557 มีมูลค่า 97,895 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักหดตัวในหลายตลาด อาทิจีน ฮ่องกง มาเลเซียและ อินโดนีเซีย หดตัวร้อยละ 5.3 6.8 18.9 และ 7.5 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2558 หดตัวร้อยละ 6.4 และ 21.6 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 4 ปี 2557 มีมูลค่า 86,097 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์2558 หดตัวร้อยละ 17.6 และ 25.8 ตามลำดับ ภาพรวมการค้าในช่วงมกราคม และกุมภาพันธ์ 2558 สิงคโปร์เกินดุลการค้า 10,175 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2558 ติดลบร้อยละ 0.3 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2557 ซึ่งติดลบร้อยละ 0.04 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2558 ติดลบร้อยละ 0.3 สิงคโปร์เผชิญภาวะเงินฝืดติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า จากต้นทุนค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ทรงตัวยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนภาวะตึงตัวของตลาดแรงงาน

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 เป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยการบริโภคภายในประเทศ ทั้งการบริโภคขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่หดตัว การบริโภคภาครัฐ และการลงทุนภาคการก่อสร้างขยายตัวชะลอลง รวมถึงภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่อง

ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 เป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยการบริโภคภายในประเทศ ทั้งการบริโภคขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่หดตัว การบริโภคภาครัฐ และการลงทุนภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวชะลอลง นอกจากนี้การส่งออกสินค้าที่แท้จริงยังคงหดตัวตามความต้องการสินค้า และระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง อย่างไรก็ตามรัฐบาลอินโดนีเซียคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2558 จากการใช้จ่ายในโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 123.6 ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2558 ขยายตัวร้อยละ 5.0 และ 2.3 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 39,239 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกของอินโดนีเซียยังคงอ่อนแรง ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 36,702 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าอินโดนีเซียเกินดุลการค้า 2,538 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 6.5 คงที่จากในไตรมาส 4 ปี 2557 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ตามราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการอ่อนค่าลงของค่าเงินรูเปีย

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2558 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 7.50 (ภายหลังจากเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 7.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.50) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 3-5 ในปี 2558 รวมถึงช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้มีการปรับตัวดีขึ้น

เศรษฐกิจมาเลเซีย

เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 เป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศ การใช้จ่ายของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชน

ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 4 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 เป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยการบริโภคของประชาชนขยายตัวร้อยละ 7.8 และการใช้จ่ายของภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 การบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.6

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 121.3 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ระดับ 110.6 ขยายตัวร้อยละ 5.1 โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคการผลิต เหมืองแร่ อาหารและเครื่องดื่ม และไฟฟ้า

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2557 มีมูลค่า 58,427 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากตลาดส่งออกสำคัญที่มีการหดตัว ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง และออสเตรเลีย ที่หดตัวร้อยละ 19.7 1.8 8.4 และ 1.3 ตามลำดับ ส่วนตลาดส่งออกสำคัญอย่างสิงค์โปร์ และสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 3.0 และ 11.4 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2558 หดตัวร้อยละ 8.4 ด้านการนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2557 มีมูลค่า 52,095 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าเดือนมกราคม 2558 หดตัวร้อยละ 12.6 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 4 ปี 2557 มาเลเซียเกินดุลการค้า 6,331 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2558 หดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของราคาอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการขนส่ง ที่ขยายตัวร้อยละ 10.6 รวมทั้งการขนส่ง ที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟฟ้า ก๊าซและเชื้อเพลิงอื่นๆ ส่วนอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 3.2

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 ธนาคารกลางมาเลเซียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 3.25

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 เป็นผล มาจากการบริโภคของภาคเอกชนและการส่งออกที่ขยายตัว

ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 4 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 ปัจจัยหลักมาจากการบริโภคของภาคเอกชน

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 206.5 ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 160.0 หดตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2558 มีมูลค่า 15,213 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญยังคงขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 2.3 14.3 29.0 และ 84.5 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนเดือนมกราคม 2558 หดตัวร้อยละ 0.5 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2557 มีมูลค่า 16,310 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนเดือนมกราคม 2558 หดตัวร้อยละ 12.4 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 4 ปี 2557 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 1,096 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 4 ปี 2558 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 140.8 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2558 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อเดือนมีนาคม 2558 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Reverse Repurchase Rate ไว้ที่ร้อยละ 4.0 เป็นครั้งที่ 4

เศรษฐกิจอินเดีย

เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 4 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 เนื่องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 4 ปี 2557 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2556 เป็นผลมาจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในขณะที่การส่งออกขยายตัวเล็กน้อย ทำให้การขาดดุลการค้าเพิ่มสูงขึ้น

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 174.2 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามดัชนีฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ระดับ 181.3 ขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2557 มีมูลค่า 78,322 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับฯ ฮ่องกง และสิงค์โปร์ ขยายตัวร้อยละ 13.6 9.9 21.0 และ 33.3 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปจีนหดตัวลงร้อยละ 30.3 สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2558 หดตัวร้อยละ 9.5 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2557 มีมูลค่า 117,346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2558 หดตัวร้อยละ 11.4 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 4 ปี 2557 อินเดียขาดดุลการค้า 39,024 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยเพิ่มขึ้นจากราคาของค่าอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค ไฟฟ้า เครื่องแต่งกายในทุกหมวดที่เพิ่มขึ้น

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน ปี 2558 ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 7.5

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ