1. สถานการณ์ปัจจุบัน
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 มีประมาณ 1,530,366 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและ
ท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 7.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบนลดลง ร้อยละ 7.60 เนื่องจากตั้งแต่ช่วงหลังปีใหม่ราคาเหล็กในตลาดโลกได้ลดลง จึงทำ
ให้ผู้ผลิตหยุดซื้อวัตถุดิบเพื่อรอราคาเหล็กให้นิ่งก่อน นอกจากนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงทรงตัวอยู่ โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 27.00 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 12.63 เนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหญ่ 1 ราย ได้หยุดโรงงานเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำปี เป็นระยะเวลา 10- 17 วัน ส่งผลให้การผลิตลดลง สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 4.31 เนื่องจากโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่จะกระตุ้นการบริโภคเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างยังไม่เกิดขึ้น โดยคาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงประมาณปลายปี 2558- 2559 และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยละ ร้อยละ 0.09 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.07 แต่เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 4.74 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 8.33 และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 3.12 รายละเอียดตามตารางที่ 1
ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2558 มีจำนวนประมาณ 4,226,089 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้มากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.8 โดยเป็นผลมาจากโครงการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ยังคงมีอยู่เล็กน้อย โดยเหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.7 และผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มทรงแบน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.01 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.9 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12
การนำเข้า-การส่งออก
มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 มีจำนวนประมาณ 1,926.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 6.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 31.54 แต่เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.58 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสนี้ ได้แก่ เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.84 เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.51 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.50 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.80 แต่ท่อเหล็ก ลดลง ร้อยละ 11.78 และเหล็กแผ่นเคลือบ ลดลง ร้อยละ 7.63 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้า ลดลง ร้อยละ 3.90 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้า ลดลง มากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 18.89 เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 1.32 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 7.34 ท่อเหล็ก ลดลง ร้อยละ 2.39 แต่เหล็กทรงยาวมีมูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.89 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50.28 รายละเอียดตามตารางที่ 2
มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 มีจำนวนประมาณ 204.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 16.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออก ลดลงมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 73.26 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 74.31 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 41.95 โดยเหล็กเส้น ลดลง ร้อยละ 62.93 เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 36.43 เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 22.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 49.72 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 22.61 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.79 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2,466.67 เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.26 โดยเหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.22 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.26 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 3.63 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 16.01 เหล็กแผ่นเคลือบ ลดลง ร้อยละ 9.96 รายละเอียดตามตารางที่ 3
การผลิตเหล็กของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 มีปริมาณ 1,530,366 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 7.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีปริมาณ 4,226,089 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.2 โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.8 โดยเป็นผลมาจากโครงการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ยังคงพอมีอยู่เล็กน้อย แต่สำหรับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐยังไม่ได้เกิดขึ้น สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กในไตรมาสที่ 1ปี 2557 มีมูลค่า 1,926.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 6.67 เนื่องจากราคาเหล็กโลกที่ลดลง ทำให้ผู้ซื้อชะลอการสั่งซื้อเพื่อรอราคาให้นิ่งก่อน สำหรับการส่งออก มีมูลค่า 204.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 16.43
สำหรับมาตรการการค้าของต่างประเทศ จากปัญหาเศรษฐกิจโลกและการที่จีนส่งสินค้าเหล็กราคาถูกเข้าไปยังหลายประเทศ จึงทำให้ปัจจุบันมี 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซียและอิหร่าน ได้ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเหล็ก โดยจากข้อมูล IU ของสถาบันเหล็กฯ พบว่า ประเทศอิหร่านได้ขึ้นภาษีนำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน 15% (ยกเว้นเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ขนาด 2 มม.) และเหล็กแท่งเล็ก billet เป็น 10% และเหล็กทรงยาวเป็น 20% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558
สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2558 คาดการณ์ว่าความต้องการใช้เหล็กจะชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในส่วนของเหล็กทรงแบนซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คาดการณ์ว่าจะชะลอตัว ตามทิศทางที่ชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในขณะที่เหล็กทรงยาว ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง คาดการณ์ว่าจะทรงตัว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--