ดัชนีในเดือนกรกฎาคม 2558 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่าดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลด
ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มี 18 อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตยานยนต์ การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่น ๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เพิ่มขึ้น
ดัชนีการส่งสินค้า มี 20 อุตสาหกรรมที่มีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพิ่มขึ้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง มี 26 อุตสาหกรรมที่มีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมันจากสัตว์ การผลิตน้ำตาล การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง การผลิตสิ่งทออื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เพิ่มขึ้น
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม มี 19 อุตสาหกรรมที่มีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นโดยมีอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทอบ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตเซรามิกชนิดไม่ทนไฟ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตลวดและเคเบิ้ลที่หุ้มฉนวน การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตสิ่งทออื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นเพิ่มขึ้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต มี 19 อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมีอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่น ๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม การผลิตน้ำตาล การผลิตเฟอร์นิเจอร์ การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นเพิ่มขึ้น
ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
กรกฎาคม 2558 * ------------------------------------------------------------------------------------------------------ ดัชนี(*) | อัตราการเปลี่ยนแปลง | อัตราการเปลี่ยนแปลง | เมื่อเทียบกับเดือนก่อน(%) | เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ------------------------------------------------------------------------------------------------------ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) 156.23 0.27 -5.32 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) 174.13 1.57 -3.34 ดัชนีการส่งสินค้า 172.53 2.10 -3.19 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 181.30 -0.13 -6.05 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 167.84 -7.45 0.25 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม 110.91 0.24 -2.90 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 140.03 0.30 -3.44 อัตราการใช้กำลังการผลิต 58.74 (*) เป็นดัชนีรวมเบื้องต้นของ 53 อุตสาหกรรม --สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--