อุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตลดลง เนื่องจากตลาดในประเทศที่หดตัวต่อเนื่อง กำลังซื้อของภาคครัวเรือนลดลง รายได้ภาคการเกษตรอยู่ในระดับต่ำ ส่วนตลาดส่งออกลดลงเนื่องมาจากผู้ประกอบการบางรายอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนรุ่นของรถปิคอัพ
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตลดลงร้อยละ 8.55 เนื่องจากปีก่อนผู้ผลิตรายใหญ่
อุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ ภาวะการผลิตลดลงร้อยละ 12.25 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัว ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ สะท้อนปัญหากำลังซื้อที่ยังไม่ดีจากปัญหารายได้ภาคการเกษตรที่ยังไม่ฟื้น และปัญหาภัยแล้งซ้ำเติม กระทบต่อการบริโภคในช่วงนี้
การเปิดปิดโรงงาน เดือนมิถุนายน 2558 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 332 ราย ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2558 ร้อยละ 11.0 แต่มียอดเงินลงทุนรวมและจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.48 และ 3.18 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มีจำนวน 4 โรง จำนวนเงินทุน 5,163 ล้านบาท และจำนวนคนงาน 165 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557 ร้อยละ 20.57 สำหรับโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมีจำนวน 252 ราย มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2558 ร้อยละ 100 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าร้อยละ 111.763
การขอรับการส่งเสริมการลงทุน เดือนมกราคม - มิถุนายน 2558 มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ทั้งสิ้น 408 โครงการ เงินลงทุน 71,140 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 30.85 และ 78.51 ตามลำดับ โดยประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมมากที่สุด คือ หมวดบริการ และ สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนคิดเป็นร้อยละ 59.02
การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย ในเดือนมิถุนายน 2558 การนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม และเครื่องมือกล มีมูลค่า 1,094.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเครื่องมือกลที่ยังคงหดตัวสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 31.0 รวมทั้งการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ 4.8
ด้านการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป(ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 6,165.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากการนำเข้าเคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ รวมถึงผ้าผืน ด้านและเส้นใย ที่เพิ่มขึ้น
การใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในเดือนมิถุนายน 2558 มีปริมาณทั้งหมดจำนวน 10,311.3 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงร้อยละ 2.8 จากเดือนพฤษภาคม 2558 (10,610.8 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปี 2557 (10,075.6 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) หากแยกการใช้ไฟฟ้าตามขนาดของกิจการ พบว่า ทุกกิจการ (ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่) มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากเดือนที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2557
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ติดลบหรือหดตัวร้อยละ 8.0 อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้การผลิตลดลง คือ Hard Disk Drive เครื่องรับโทรทัศน์ รถยนต์ เบียร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
อย่างไรก็ตามการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศเกาหลีใต้กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.3
สำหรับข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประจำเดือนมิถุนายน 2558 ยังไม่มีการเผยแพร่ แต่ยังมีแนวโน้มขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนพฤษภาคม 2558 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 3.2 และ 8.2 ตามลำดับ
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2558 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 332 ราย ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 373 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 11.0 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 24,425 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งมีการลงทุน 19,011 ล้านบาท ร้อยละ 28.48 และมีการจ้างงานจำนวน 8,078 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2558 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,829 คน ร้อยละ 3.18
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 418 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20.57 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีการลงทุน 59,081 ล้านบาท ร้อยละ 58.66 และมีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 17,511 คน ร้อยละ 53.87
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2558 คือ อุตสาหกรรมขุดตักดินลูกรัง สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 30 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จ และอุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ ทั้งสองอุตสาหกรรมจำนวน 21 โรงงานเท่ากัน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2558 คือ อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวนเงินทุน 5,163.25 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และอุปกรณ์สำหรับจับยึด จำนวนเงินทุน 2,669.09 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2558 คือ อุตสาหกรรม ผลิตสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรดเข้มข้น และน้ำผลไม้อื่น ๆ จำนวนคนงาน 594 คน รองลงมา คือ อุตสาหกรรม ซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวนคนงาน 571 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2558 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 252 ราย มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 126 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 5,659 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2558 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,007 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน จำนวน 8,120 คน มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 3,109 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 119 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 111.76 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมิถุนายน 2557 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,116 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมิถุนายน 2557 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,877 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2558 คือ อุตสาหกรรม ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 15 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 13 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2558 คือ อุตสาหกรรม ทำ ดัดแปลง ซ่อมแบบหรือเครื่องจับสำหรับใช้กับเครื่องมือกล เงินทุน 697.51 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมถักผ้า ผ้าลูกไม้ เครื่องนุ่งห่มด้วยด้ายหรือเส้นใย เงินทุน 666.26 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2558 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ จำนวนคนงาน 885 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ จำนวนคนงาน 808 คน
ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม - มิถุนายน 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.ทั้งสิ้น 408 โครงการ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 590 โครงการ ร้อยละ 30.85 มีเงินลงทุน 71,140 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 331,060 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.51
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมในเดือนมกราคม - มิถุนายน 2558
การร่วมทุน จำนวน มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
(โครงการ)
1.โครงการคนไทย 100% 185 43,310 2.โครงการต่างชาติ 100% 149 12,160 3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 74 15,670
- ประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมมากที่สุดในเดือนมกราคม - มิถุนายน 2558 คือ หมวดบริการ และ สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 41,990 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร มีมูลค่าเงินลงทุนรวม11,880 ล้านบาท
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดลดลง การส่งออกปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน จากประเทศคู่แข่งไม่ผ่านมาตรฐานสินค้าของประเทศผู้นำเข้าได้กำหนดไว้ ส่วนการจำหน่ายในประเทศปรับชะลอตัวจากกำลังซื้อและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ลดลง
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมิถุนายน 2558 ลดลงจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน 4.3 แบ่งเป็น
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก หากเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวลดลง เช่น สับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 34.2 เนื่องจากวัตถุดิบลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.9 เนื่องจากปริมาณน้ำมันปาล์มในตลาดมีมาก ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับอาหารไก่ การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6
1) ตลาดในประเทศ เดือนมิถุนายน 2558 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.8 จากความเขื่อมั่นในเศรษฐกิจที่ลดลง และจากกำลังซื้อที่ลดลงตามภาระหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายลดลง
2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมิถุนายน 2558 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ไก่แปรรูปและไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ส่วนมูลค่าการส่งออกน้ำตาลปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.3
การผลิตและการส่งออก คาดว่า จะปรับชะลอตัวลงจากปีก่อน เนื่องจากการผลิตและส่งออกตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัวลงจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศผู้นำเข้าที่ยังชะลอตัวอยู่ สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะชะลอตัวลงจากผู้บริโภคที่ขาดความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายจากการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจน
กลุ่มสิ่งทอมีการจำหน่ายลดลงโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เส้นใยฯ และผ้าผืน อย่างไรก็ตาม จีนและปากีสถาน ยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอจากไทยเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 และผ้าขนหนูและเครื่องนอนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.0 จากคำสั่งซื้อของทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความต้องการเส้นใยสิ่งทอฯ ของประเทศจีน และปากีสถาน
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเสื้อ ผ้าถักร้อยละ 7.8 และเสื้อผ้าทอเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.4 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเสื้อผ้ากีฬาจำนวนมาก ส่งผลให้การผลิตขยายตัว
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มสิ่งทอ มีการจำหน่ายลดลงในผลิตภัณฑ์ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน ผ้าลูกไม้และยางยืด ส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทั้งเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอ โดยเฉพาะเสื้อผ้ากีฬา
การส่งออกเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ 10.2 แบ่งเป็นกลุ่ม สิ่งทอลดลงร้อยละ 10.7 ในผลิตภัณฑ์สำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน เส้นด้ายเคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์ ลดลง ร้อยละ 14.2 16.8 7.9 และ 10.8 ตามลำดับ และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ 9.5 ในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ ถุงเท้าและถุงน่องลดลง ร้อยละ 9.8 5.9 และ 9.1 ตามลำดับเนื่องจากความต้องการในตลาดคู่ค้าหลักได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ลดลง ร้อยละ 7.4 6.1 6.9 และ 17.1ตามลำดับ
คาดว่าการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมอาจปรับตัวลดลงตามฤดูกาลผลิต ในส่วนการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะขยายตัว โดยเฉพาะเสื้อผ้ากีฬาต่างๆ และเสื้อผ้าแฟชั่น ที่มีระดับราคาปานกลางถึงสูง ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค สำหรับการส่งออกคาดว่าจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ และการถูกตัดสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป
ประเทศอินเดียเปิดการไต่สวนการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ผลิตภัณฑ์ท่อไร้ตะเข็บ(seamless tube- pipe ), Hollow Profile (Iron, alloy, non-alloy)(ไม่รวมเหล็กหล่อและสแตนเลส) รีดร้อน ดึงเย็น และ รีดเย็น ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกไม่เกิน 355.6 มิลลิเมตรรวมไปถึง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Boiler pipe หรือ line pipe ที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอนและที่ใช้ในการขุดเจาะสำรวจน้ำมันและก๊าซที่นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งการเปิดไต่สวนครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกจากประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ใหญ่สุดในโลก
สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมิถุนายน 2558 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 123.59 ลดลง ร้อยละ 14.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุดังนี้
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 10.33 โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 38.05 เนื่องจากอุตสาหกรรม ผลไม้กระป๋องมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากภัยแล้งทำให้ไม่มีวัตถุดิบในการผลิต รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 26.60 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 10.18 เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ก่อสร้างและยานยนต์ ที่ในช่วงนี้ยังคงทรงตัวอยู่ และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.8 (การนำเข้ามีปริมาณ 689,453 ตัน) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน alloy steel เพิ่มขึ้น ถึง ร้อยละ 1,468.5 (ปริมาณการนำเข้า 22,712 ตัน) และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 294.2 สำหรับการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.4 (การส่งออก มีปริมาณ 36,148 ตัน) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการส่งออก มากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน Stainless steel
ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวมีการผลิตลดลงร้อยละ 21.80 โดยเหล็กเส้นข้ออ้อย มีการผลิตลดลง ร้อยละ 27.76 เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 26.51 และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การนำเข้า ลดลง ร้อยละ 6.1 (ปริมาณการนำเข้า 231,160 ตัน) ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าลดลง มากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลง ร้อยละ 80.3 เหล็กลวด stainless steel ลดลง ร้อยละ 29.2 สำหรับการส่งออก ลดลง ร้อยละ 20.9 (ปริมาณการส่งออก 65,964 ตัน) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกลดลง มากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 50.1 รองลงมาคือ เหล็กเพลาขาว ลดลง ร้อยละ 43.5
จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในเดือนมิถุนายน 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กมีการปรับตัวลดลงทุกชนิด เช่น เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 113.95 เป็น 68.13 ลดลง ร้อยละ 40.21 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 112.41 เป็น 71.79 ลดลง ร้อยละ 36.14 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 113.64 เป็น 82.24 ลดลง ร้อยละ 27.63 เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 115.51 เป็น 84.23 ลดลง ร้อยละ 27.08 และเหล็กเส้น ลดลงจาก 109.57 เป็น 84.04 ลดลง ร้อยละ 23.30 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจประกอบกับผู้ผลิตสินแร่เหล็กรายใหญ่ของโลกยังไม่ลดการผลิตในขณะที่ความต้องการใช้เหล็กโลกยังคงชะลอตัว ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลงด้วย
สถานการณ์การผลิตเหล็กของไทยในเดือนกรกฎาคม 2558 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าการผลิตเหล็กโดยรวมจะลดลง ทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ยังทรงตัวอยู่ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญ เช่น ก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ ที่มีสถานการณ์การผลิตที่ทรงตัว
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2558 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 ซึ่งเป็นการชะลอตัวของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก
จำนวน 151,698 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557ซึ่งมีการผลิต 159,872 คัน ร้อยละ 5.11 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตัน
จำนวน 60,322 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีการจำหน่าย 73,799 คัน ร้อยละ 18.26 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUVทั้งนี้การลดลงเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำเนื่องจากปัญหาภัยแล้งทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าส่วนหนึ่งมีรายได้ลดลง อีกทั้งหนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
จำนวน 76,774 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีการส่งออก 103,946 คัน ร้อยละ 26.14 แบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่งร้อยละ 42 และรถกระบะ 1 ตันและ PPV ร้อยละ 58 โดยการส่งออกรถกระบะ 1 ตัน และ PPV ชะลอตัว เนื่องมาจากผู้ประกอบการบางรายอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนรุ่นของรถยนต์ โดยเป็นการลดลงจากการส่งออกในประเทศแถบอเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชีย สำหรับการส่งออกรถยนต์นั่งชะลอตัวเช่นเดียวกันโดยเป็นการลดลงจากการส่งออกในประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกาอเมริกากลางและอเมริกาใต้
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2558 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2557 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2558 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 44 และส่งออกร้อยละ 56
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2558 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557
จำนวน 149,422 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีการผลิต 159,090 คัน ร้อยละ 6.08 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต
จำนวน 172,522 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีการจำหน่าย 158,991 คัน ร้อยละ 8.51 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต
จำนวน 29,172 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งมีการส่งออก 24,476 คัน ร้อยละ19.19 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการส่งออกในประเทศเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2558 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2557 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2558 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 81 และส่งออกร้อยละ 19
"ในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์อยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของตลาดในประเทศ และเป็นสัญญานที่ดีของการขยายตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในระยะต่อไป สำหรับมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงค่อนข้างมากจากการปรับลดการสั่งซื้อลงของเมียนมาร์ ซึ่งทำให้ตัวเลขการส่งออกในเดือนนี้มีมูลค่าต่ำที่สุดในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา"
ในเดือนมิถุนายน 2558 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลดลงร้อยละ 0.52 ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12
เมื่อพิจารณาในภาพรวม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้นถึงแม้ว่าจะมีปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อยก็ตาม เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่ยังสามารถขยายตัวได้ซึ่งเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรม เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีส่วนต่างของผลกำไรจากการจำหน่ายในประเทศมากกว่าการส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนมิถุนายน 2558 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.24
เมื่อพิจารณาในภาพรวมการส่งออกหดตัวลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเดือนก่อนซึ่งมียอดการส่งออกสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเมียนมาร์ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทยปรับลดการซื้อปูนซีเมนต์จากไทยลง โดยตลอดปี 2558 ตั้งแต่เดือนมกราคม เมียนมาร์นำเข้าปูนซีเมนต์จากไทยมูลค่าเฉลี่ยประมาณเดือนละ 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ในเดือนนี้ ปรับลดมูลค่าลงเหลือเพียง 17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบกับอินโดนีเซียกลับมาซื้อปูนซีเมนต์จากไทยในปริมาณปกติ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าต่ำกว่าเดือนที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าเฉลี่ย 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกปูนซีเมนต์ของไทยลดลงค่อนข้างมาก โดยมีมูลค่าการส่งออกต่ำที่สุดในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา
การผลิตและจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยตามฤดูกาล โดยภาครัฐเองมีนโยบายเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และรองรับการเปิดAEC ในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจและขยายการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นในระยะต่อไป
สำหรับแนวโน้มการส่งออก คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคาดว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศคู่ค้าหลักต่างๆ ของไทย โดยเฉพาะเมียนมาร์จะกลับสู่สภาวะปกติ ซึ่งถึงแม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเองจะมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ก็จะไม่กระทบต่อการส่งออกแน่นอน เนื่องจากไทยมีปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์เกินความต้องการใช้ในประเทศอยู่แล้ว
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2558 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 17.51 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าลดลงร้อยละ 11.40 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลงทั้งในประเทศและตลาดส่งออกหลัก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 18.84 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการผลิต HDD ที่ปรับตัวลดลง
เครื่องใช้ไฟฟ้า/ มูลค่า %YoY
อิเล็กทรอนิกส์ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
อุปกรณ์ประกอบของ 1,396,96 -5.10
เครื่องคอมพิวเตอร์
แผงวงจรไฟฟ้า 627.87 -13.94 เครื่องปรับอากาศ 328.85 -0.45 กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้อง 161.74 10.43
ถ่ายบันทึกภาพดิจิทัล
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,458.68 -7.54
และอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2558 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 236.96 ลดลงร้อยละ 17.51 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 126.33 ลดลงร้อยละ 11.40 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และเครื่องรับโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 5.06 7.66 23.40 และ 86.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลง จึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงตามไปด้วย รวมถึงได้รับผลกระทบจากตลาดส่งออกหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว (ยุโรป และญี่ปุ่น) สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์มีผู้ผลิตบางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศในกลุ่มอาเซียน ยกเว้นเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.65 และ 7.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 299.72 ลดลงร้อยละ 18.84 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คในตลาดโลกลดลง สำหรับ Monolithic IC และ Other IC ลดลงร้อยละ 12.03 และ 8.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ)
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤษภาคม 2558 มีมูลค่า 4,458.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.54 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,875.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงโดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน อาเซียน ลดลงร้อยละ 27.18 19.97 และ 9.37 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นสหรัฐอเมริกา ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 328.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.45 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ลดลงถึงร้อยละ 37.41 36.28 9.16 และ 24.72 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่การส่งออกไปอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.05 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือ กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกภาพดิจิทัล มีมูลค่า 161.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.43 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปยุโรป อาเซียน จีน และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.11 22.67 15.84 และ 10.59 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์มีมูลค่า 98.87 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐอเมริกาขยายตัวมากถึงร้อยละ 90.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,582.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.53 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักลดลงทุกตลาด คือ สหรัฐอเมริกา อาเซียน ยุโรป จีน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 3.31 2.80 1.02 4.82 และ 8.85 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,396.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.10 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อย 21.50 11.66 และ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รองลงมา คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 627.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.94 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อาเซียน และสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 12.58 10.20 6.4 และ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.90 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกรกฎาคม 2558 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 12.94 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะลดลงร้อยละ 10 เนื่องจากตลาดในประเทศ และการส่งออกไปสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 14.41 จากการผลิต HDD ลดลงตามความต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับตัวลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--