ภาพรวมเศรษฐกิจโลก
ในไตรมาส 2 ปี 2558 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศยังคงขยายตัว เช่น สหรัฐฯและจีน แต่ประเทศญี่ปุ่นหดตัว การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและสหภาพยุโรปยังคงมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ 61.4 USD:Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 อยู่ที่ 106.2 USD:Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันดิบลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนกันยายน (ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2557) อยู่ที่ 44.96 USD:Barrel ราคาน้ำมันดิบลดลง อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยทั้งทางด้านอุปสงค์และอุปทาน ทางด้านอุปสงค์เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัว การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลงสำหรับทางด้านอุปทานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นทั้งแหล่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือและกลุ่ม OPEC ส่งผลให้มีปริมาณน้ำมันดิบล้นตลาด
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2558 ยังคงขยายตัว จากภาคการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานยังคงต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ Fed กำหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 96.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 83.4
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 106.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.9
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 5.5 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อ เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ -0.04 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1 อันเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.1 อัตราการว่างงานยังคงต่ำกว่าค่าเป้าหมาย
สถานการณ์ด้านการเงินคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และมีเป้าหมายให้การจ้างงานขยายตัวในระดับสูงและรักษาระดับราคาให้มีเสถียรภาพโดยมีเป้าหมายให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2 อย่างไรก็ตาม Fed มีแนวโน้มจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากตลาดแรงงานฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับเป้าหมาย
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 255 8 ยังคงขยายตัวจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจีนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ภาวะเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 7.0 ลดลงเมื่อเทียบไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.5 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 10.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 12.3 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 2 ปี 2558ขยายตัวร้อยละ 11.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 107.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 6.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 2.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 13.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.5
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.2 อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.1
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People,s Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5.1 เพื่อส่งเสริมการลงทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะ ชะลอตัว นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนปรับลดค่าเงินหยวน โดยปรับลดค่ากลางของเงินหยวนอยู่ที่ 6.2298 หยวน:ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเป็นการกระตุ้นการส่งออกที่ชะลอตัว
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2558 หดตัว อันเป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่หดตัว และในไตรมาส 2 ปี 2558 เศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องจากการบริโภคที่ลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP หดตัวร้อยละ 0.9 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 4.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 1 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 15.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 41.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.1
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 98.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.8
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 6.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 เป็นผลจากเงินเยนที่อ่อนค่ามากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 5.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.9
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6 อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558) และยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไว้ โดยยังคงนโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มฐานการเงินผ่านโครงการซื้อสินทรัพย์
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2558 ยังคงขยายตัว อันเป็นผลมาจากการบริโภคและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงและในไตรมาส 2 ปี 2558 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 การบริโภคไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 105.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.1
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 2.8 สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 12.2 และ 3.8 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 1.9 สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 4.4 และเดือนพฤษภาคมหดตัวร้อยละ 0.6
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.6 อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 9.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.4 อัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 และยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย
เศรษฐกิจฮ่องกง ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยการบริโภคของภาคเอกชน ภาครัฐ การลงทุนรวม และการส่งออกสินค้าที่แท้จริงขยายตัว แต่การส่งออกบริการยังคงหดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยการบริโภคของภาคเอกชนภาครัฐการลงทุนรวม และการส่งออกสินค้าที่แท้จริงขยายตัว แต่การส่งออกบริการยังคงหดตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 86.8 หดตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 121,728 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) หดตัวร้อยละ 5.6 หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 2557 ขณะที่การส่งออกไปสหภาพยุโรป(27) ญี่ปุ่น และไต้หวัน หดตัวร้อยละ 4.0 8.2 และ 22.5 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 136,708 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าฮ่องกงขาดดุลการค้า 14,980 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ฮ่องกงเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อมาตรการอุดหนุนค่าไฟของรัฐบาลได้หมดลงรวมถึงราคาค่าเช่าที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยการส่งออกสินค้าที่แท้จริงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง ขณะที่การบริโภคภายในประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ซึ่งสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการแพร่ระบาดของโรค MERS ช่วงปลายไตรมาสที่สองที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยว การบริโภคของประชาชน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยการส่งออกสินค้าที่แท้จริงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองที่ร้อยละ 1.2 ขณะที่การบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.6 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการแพร่ระบาดของโรค MERS ช่วงปลายไตรมาสที่สองที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยว การบริโภคของประชาชน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 108.5 หดตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 135,246 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.2 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) หดตัวร้อยละ 2.7 ขณะที่การส่งออกไปตลาดสำคัญหดตัวในหลายตลาดอาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 1.0 8.6 และ 13.0 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 110,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้เกินดุลการค้า 24,746 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 โดยมีราคาสินค้าเกษตร ปศุสัตว์ และประมงที่ปรับตัวเพิ่ม อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ถูกคาดการณ์ว่าจะอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.7
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.50 (ภายหลังจากที่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 1.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ)
เศรษฐกิจสิงคโปร์ ในไตรมาส 2 ปี 2558 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 4.0 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม จากการผลิตในกลุ่มไบโอเมดิคอล และกลุ่มวิศวกรรมขนส่งที่ลดลง อย่างไรก็ตามภาคการก่อสร้าง และภาคการบริการยังคงขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาส 2 ปี 2558 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 4.0 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม จากการผลิตในกลุ่มไบโอเมดิคอล และกลุ่มวิศวกรรมขนส่งที่ลดลง อย่างไรก็ตามภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.7 จากกิจกรรมการก่อสร้างของภาครัฐที่ขยายตัวขณะที่ภาคการบริการขยายตัวร้อยละ 3.0
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 100.4 หดตัวร้อยละ 4.9 หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2557
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 90,907 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักหดตัวในหลายตลาด อาทิจีน ฮ่องกง มาเลเซีย และอินโดนีเซีย หดตัวร้อยละ 2.5 9.0 31.8 และ 20.9 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 77,959 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าสิงคโปร์เกินดุลการค้า 12,948 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2558 ติดลบร้อยละ 0.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ทั้งนี้สิงคโปร์เผชิญภาวะเงินฝืดติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สาม โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2558 ติดลบร้อยละ 0.4 จากราคาเชื้อเพลิง ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ทรงตัวยังอยู่ในระดับต่ำสะท้อนภาวะตึงตัวของตลาดแรงงาน
เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยการบริโภคขององค์กรไม่แสวงหากำไร และการส่งออกสินค้าที่แท้จริงยังคงหดตัว ขณะที่การบริโภคของภาคเอกชน ภาครัฐ และการลงทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยการบริโภคขององค์กรไม่แสวงหากำไรและการส่งออกสินค้าที่แท้จริงยังคงหดตัว ขณะที่การบริโภคของภาคเอกชน ภาครัฐ และการลงทุนรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 122.8ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2558 ขยายตัวร้อยละ 6.4 และ 8.2 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 39,235 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกของอินโดนีเซียยังคงอ่อนแรง ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 37,204 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 20.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าอินโดนีเซียเกินดุลการค้า 2,031 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 7.1 คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ 7.3
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 7.50 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 3-5 ในปี 2558
เศรษฐกิจมาเลเซีย ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 5 .6 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศ การใช้จ่ายของภาครัฐ การบริโภคของภาคเอกชนที่ชะลอลง และการส่งออกที่หดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลงรวมทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชนรวมทั้งการส่งออกและนำเข้าที่หดตัวลง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 118.1 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของการทาเหมืองแร่และเหมืองหินที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 และในส่วนของการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 117.9 และ 122.4 ตามลำดับ ขยายตัวร้อยละ 4.1 และ 4.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 50,589 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากตลาดส่งออกสำคัญที่มีการหดตัว ได้แก่ สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น จีน ที่หดตัวร้อยละ 11.2 11.2 และ 20.5 ตามลำดับ ส่วนตลาดส่งออกสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวร้อยละ 4.6 สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน 2558 หดตัวร้อยละ 18.3 ด้านการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 44,698 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าเดือนเมษายน 2558 หดตัวร้อยละ 16.6 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 1 ปี 2558 มาเลเซียเกินดุลการค้า 5,891 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPl) อยู่ที่ระดับ 113.0 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ค่าใช้จ่ายด้านการคมนาคมขนส่งขยายตัวในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่มหดตัว
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศช่วยผลักดันเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 เป็นผลมาจากการบริโภคของภาคเอกชน ภาคการผลิตและภาคเกษตรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยภาคบริการขยายตัวร้อยละ 5.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 และภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 160.8 ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีฯ ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 164.3 และ 173.4 ตามลำดับ หดตัวร้อยละ 5.5 และ 7.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 14,247 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญหดตัวได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ ที่หดตัวร้อยละ 19.5 11.4 และ 18.8 ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและฮ่องกงยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 18.4 และ 27.4 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนเดือนเมษายน 2558 หดตัวร้อยละ 4.2 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 15,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายน 2558 หดตัวร้อยละ 11.9 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 1 ปี 2558 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 1,453 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPl) อยู่ที่ระดับ 141.3 ขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ค่าใช้จ่ายภายในบ้านเช่น ไฟฟ้าและประปาขยายตัว ส่วนค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่มหดตัว
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 4 เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนินโญอาจจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อของประเทศ
เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 เป็นผลมาจากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาล
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดียในไตรมาส 1 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 เป็นผลมาจากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาล
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 189.5 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของอุตสาหกรรมเหมืองแร่อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 4.9 และ 3.7 ตามลำดับ ในขณะที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหดตัวร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตามดัชนีฯในเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 180.0 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 70,447 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนสหราชอาณาจักร และซาอุดิอาระเบีย ที่หดตัวร้อยละ 33.3 13.3 และ 44.0 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปสหรัฐอเมริกาขยายตัวร้อยละ 0.4 สำหรับการส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ 21.4 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2558 มีมูลค่า 96,447 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ 16.0 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 1 ปี 2558 อินเดียขาดดุลการค้า 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนเมษายน 2558 ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน ลดลงจากเดือนเมษายน 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 โดยมีสาเหตุจากการชะลอตัวของราคาอาหาร
สถานการณ์ด้านการเงิน เดือนมิถุนายน ปี 2558 ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 7.25 และในการประชุมเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ก็ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับนี้อยู่
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--