สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2558 (เมษายน - มิถุนายน 2558)(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 23, 2015 15:02 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีประมาณ 1,658,831 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 7.19 เหล็กทรงแบน มีการผลิตที่ทรงตัว แต่เมื่อพิจารณารายผลิตภัณฑ์ พบว่า เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 13.26 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง มากที่สุด ร้อยละ 9.34 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 7.39 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น บรรจุภัณฑ์กระป๋อง ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า มีการผลิตที่ลดลง ในส่วนของเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 2.54

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 มีประมาณ 3,189,197 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) ลดลง ร้อยละ 4.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 3.39 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 9.85 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 0.98 รายละเอียดตามตารางที่ 1

ความต้องการใช้ในประเทศ

ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีจำนวนประมาณ 4,094,250 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 5.30 เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น บรรจุภัณฑ์ ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลง และผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.00

ความต้องการใช้เหล็กในประเทศช่วงครึ่งแรกของปี 2558 มีจำนวนประมาณ 8,320,338 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 2.70 แต่ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.45

การนำเข้า-การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีจำนวนประมาณ 1,714.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 11.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 26.70 เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศที่ยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิต เช่น เหล็กเส้น และเหล็กแผ่นรีดร้อน ที่ไม่มีเตาหลอม ลดการนำเข้าวัตถุดิบ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลง เพื่อรอดูสถานการณ์การตลาดก่อน สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 12.83 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR Section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 29.69 เหล็กเส้น ลดลง ร้อยละ 15.24 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 7.10 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน(HR sheet) ลดลง ร้อยละ 28.68 เหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) ลดลง ร้อยละ 21.29 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 12.83 โดย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน(HR Section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 29.69 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการ นำเข้าลดลง ร้อยละ 10.97 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 15.58 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 12.67 โดย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L) ลดลง ร้อยละ 37.16 สำหรับเหล็กทรงแบน มูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 10.31 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 38.61

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 มีจำนวนประมาณ 3,641.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 8.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 29.40 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 5.23 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน(HR Section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 26.72 เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 2.75 โดยเหล็กแผ่นหนารีดร้อน (HR plate) ลดลง ร้อยละ 27.21 รายละเอียดตามตารางที่ 2

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีจำนวนประมาณ 204.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 18.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 40.81 โดยเหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 51.83 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 34.66 เหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 24.00 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 18.00 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.Sheet (EG)) ลดลง ร้อยละ 73.36 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออกทรงตัว โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.37 เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.11 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น (CR Stainless steel ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.22 สำหรับเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.40 โดยเหล็กเส้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.42

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 มีจำนวนประมาณ 409.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 17.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 50.15 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 41.36 โดยเหล็กเส้น (Bar) ลดลง ร้อยละ 57.26 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR Section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 31.84 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 20.32 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 54.61 รายละเอียดตามตารางที่ 3

2. สรุป

การผลิตเหล็กของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีปริมาณ 1,658,831 เมตริกตัน ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีปริมาณ 4,094,250 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 2.38 เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กในไตรมาสที่ 2ปี 2558 มีมูลค่า 1,714.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 11.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ขณะที่มูลค่าการส่งออกมีประมาณ 204.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 18.52 โดยส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป. ลาว อินโดนีเซีย เมียนมาร์

การผลิตเหล็กของไทยในครึ่งแรกของปี 2558 มีปริมาณ 3,189,197 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 4.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีปริมาณ 8,320,338 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กในครึ่งแรกของปี 2558 มีจำนวนประมาณ 3,641.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 8.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 29.40 มูลค่าการส่งออกมีจำนวนประมาณ 409.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.49 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 50.15

3.แนวโน้ม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2558 คาดการณ์ว่าความต้องการใช้เหล็กในประเทศ จะชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยที่ยังคงทรงตัวอยู่ ( การส่งออกมีแนวโน้มทรงตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว, ความอ่อนแอของกำลังซื้อของภาคเอกชน, การลงทุนของภาคเอกชนที่ยังคงทรงตัวอยู่) โดยในส่วน

ของอุตสาหกรรมเหล็กทรงยาวซึ่งเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมก่อสร้าง คาดการณ์ว่าการผลิตจะทรงตัว เนื่องจากคาดการณ์ว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะทรงตัวจากการที่คอนโดมิเนียมล้นตลาดโดยเฉพาะในส่วนที่ติดรถไฟฟ้าที่ไม่ใช่ย่านธุรกิจ สำหรับเหล็กทรงแบนซึ่งเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมยานยนต์,เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรกล คาดการณ์ว่าการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้ง 3 ชนิดนั้นจะลดลง ส่งผลให้การผลิตเหล็กทรงแบนในประเทศสำหรับปี 2558 ลดลง

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ