ภาพรวมเศรษฐกิจโลก
ในไตรมาส 3 ปี 2558 เศรษฐกิจโลกขยายตัวแต่เศรษฐกิจจีนยังคงชะลอตัวต่อเนื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังไม่มีเสถียรภาพอัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ 46.1 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 อยู่ที่ 97.0 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มราคาลดลง โดยราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม (ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558) อยู่ที่ 43.9 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากวันก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากกลุ่ม OPEC ยังคงผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาด
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2558 ยังคงขยายตัว อันเนื่องมาจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัว การจ้างงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯในไตรมาส 3 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 98.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 106.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.5
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 7.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 4.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 1.8 อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.2 อัตราการว่างงานมีการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เนื่องจากกังวลต่อตลาดการเงินที่ยังคงผันผวน และผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและกลุ่มประเทศเกิดใหม่อีกทั้ง Fed ยังต้องการให้ตลาดแรงงานขยายตัวเพิ่มขึ้น
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ปี 2558 ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการค้าปลีกและการลงทุนในสินทรัพย์ชะลอตัว การส่งออกหดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 3 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 6.9 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 3 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 10.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 11.9 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 3 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 10.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 104.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.5
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 5.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.0
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 3 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 5.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.9 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 14.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 3 ปี 2557
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People,s Bank of China) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี ลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.35 (ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2558) เพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจด้วยการลดต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทต่าง ๆ นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดสัดส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ลงร้อยละ 0.5 เพื่อเสริมสภาพคล่องอีกด้วย
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชน และในไตรมาส 3 ปี 2558 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 0.4 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 2.9 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 2 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 3.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 2.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 40.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 39.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 97.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 97.4
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 5.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2558 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.3 อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 นอกจากนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะถึงเป้าหมายที่ร้อยละ 2
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปไตรมาส 2 ปี 2558 ยังคงขยายตัว เนื่องจากการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัว แต่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงและไตรมาส 3 ปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 การบริโภคไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 103.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 101.5 สำหรับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 105.8 และ 105.6 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 9.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 6.7 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 7.2 และ 7.1 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 4.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 0.2 สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 0.7 และเดือนสิงหาคมหดตัวร้อยละ 0.5
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.4 อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 9.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.1 อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 และยังคงมาตรการ QE โดยการซื้อพันธบัตรมูลค่า 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป และให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้ระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย
เศรษฐกิจฮ่องกง ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 โดยแรงสนับสนุนสำคัญมาจากการบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าที่แท้จริง และภาคการท่องเที่ยวหดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 โดยแรงสนับสนุนสำคัญมาจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจฮ่องกงยังถูกฉุดรั้งจากการส่งออกสินค้าที่แท้จริงและภาคการท่องเที่ยวที่หดตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 93.3 หดตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.4
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2558 มีมูลค่า 133,325 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) หดตัวร้อยละ 1.3 หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 2557 ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ สหภาพยุโรป(27) และญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 2.3 5.7 และ 5.3 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2558 มีมูลค่า 142,455 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าฮ่องกงขาดดุลการค้า 9,129 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ฮ่องกงเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย รวมถึงราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ในไตรมาส 3 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากการส่งออกสินค้าที่แท้จริงที่ยังคงอ่อนแรง อย่างไรก็ตามการบริโภคภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัส MERS สิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2558 และรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและธนาคารกลางลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 3 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากการส่งออกสินค้าที่แท้จริงที่ยังคงอ่อนแรง อย่างไรก็ตามการบริโภคภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัส MERS สิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2558 และรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและธนาคารกลางลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งนี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส MERS ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2558 ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยว การบริโภคของประชาชน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 105.4 หดตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 105.9
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 3 ปี 2558 มีมูลค่า 128,319 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.6 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) หดตัวร้อยละ 6.9 ขณะที่การส่งออกไป สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป หดตัวร้อยละ 2.2 และ 3.8 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 3 ปี 2558 มีมูลค่า 108,332 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้เกินดุลการค้า 19,987 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 โดยราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ถูกคาดการณ์ว่าจะอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.5
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.50 (ภายหลังจากที่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 1.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ)
เศรษฐกิจสิงคโปร์ ในไตรมาส 3 ปี 2558 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 6.0 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ โดยการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มไบโอเมดิคอล และกลุ่มวิศวกรรมขนส่งปรับตัวลดลง อย่างไร ก็ตามภาคการก่อสร้าง และภาคการบริการยังคงขยายตัว
ภาคการก่อสร้างภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาส 3 ปี 2558 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 สาเหตุสำคัญมาจากภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 6.0 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ โดยการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มไบโอเมดิคอลและกลุ่มวิศวกรรมขนส่งปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม และภาคการบริการขยายตัวร้อยละ 1.6 และ 3.0 ตามลำดับ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 98.4 หดตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.9
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 90,759 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักหดตัวในหลายตลาดอาทิจีน ฮ่องกง มาเลเซีย และอินโดนีเซีย หดตัวร้อยละ 3.0 9.2 31.8 และ 20.9 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2558 หดตัวร้อยละ 12.6 และ 20.4 ตามลำดับ ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 77,848 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2558 หดตัวร้อยละ 17.1 และ 16.8 ตามลำดับ ภาพรวมการค้าในช่วงกรกฎาคม และสิงหาคม 2558 สิงคโปร์เกินดุลการค้า 7,658 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2558 ติดลบร้อยละ 0.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ทั้งนี้สิงคโปร์เผชิญภาวะเงินฝืดติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สี่ โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2558 ติดลบร้อยละ 0.6 จากราคาเชื้อเพลิง ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยรวมถึงราคาค่าขนส่งที่ปรับตัวลดลง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ทรงตัวยังอยู่ในระดับต่ำสะท้อนภาวะตึงตัวของตลาดแรงงาน
เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากการส่งออกสินค้าที่แท้จริงยังคงหดตัว อย่างไรก็ตามยังมีแรงสนับสนุนจากการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากการส่งออกสินค้าที่แท้จริงยังคงหดตัว อย่างไรก็ตามการเศรษฐกิจอินโดนีเซียยังได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนของภาคเอกชนในอนาคต
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 125.7 ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 125.7 ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2558 ขยายตัวร้อยละ 5.7 และ 4.4 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 3 ปี 2558 มีมูลค่า 36,722 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ ไตรมาส 4 ปี 2557 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2558 มีมูลค่า 33,993 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 23.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาพรวมการค้าอินโดนีเซีย เกินดุลการค้า 2,729 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 7.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2558 อยู่ที่ร้อยละ 6.8 จากราคาอาหาร และราคาสินค้าและบริการที่กำหนดโดยรัฐบาล (administered prices) มีความผันผวน
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 7.50 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 3-5 ในปี 2558 รวมทั้งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มปรับตัวดี
เศรษฐกิจมาเลเซีย ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 4 .9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศ การใช้จ่ายของภาครัฐ การบริโภคของภาคเอกชนที่ลดลง
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากการบริโภคภายในประเทศที่ลดลงรวมทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชน ในส่วนของการส่งออกและนำเข้าหดตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 120.9 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 115.9 โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของการทำเหมืองแร่และเหมืองหินที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 และในส่วนของการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 120.9 และ 119.7 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 50,631 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 14.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 จากตลาดส่งออกสำคัญที่มีการหดตัว ได้แก่ สิงค์โปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง ที่หดตัวร้อยละ 15.4 8.0 35.2 และ 18.6 ตามลำดับ ส่วนตลาดส่งออกสำคัญอย่างจีน ขยายตัวร้อยละ 3.5 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2558 หดตัวร้อยละ 13.5 ด้านการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 45,073 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 สำหรับการนำเข้าเดือนกรกฎาคม 2558 หดตัวร้อยละ 11.4 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 2 ปี 2558 มาเลเซียเกินดุลการค้า 5,558 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPl) อยู่ที่ระดับ 113.8 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 110.5 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและเครื่องนุ่งห่มขยายตัว ส่วนค่าใช้จ่ายด้านการคมนาคมขนส่งหดตัว
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศช่วยผลักดันเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 เป็นผลมาจากภาคการผลิตและภาคเกษตรที่ขยายตัวลดลง ประกอบการส่งออกไปยังประเทศสำคัญหดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 โดยการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 6.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.7 และภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 169.1 หดตัวร้อยละ 7.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 183.1 โดยดัชนีฯ ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 172.3 และ 176.7 ตามลำดับ หดตัวร้อยละ 7.2 และ 4.6 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 14,640 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญหดตัวได้แก่สหรัฐอเมริกา จีน และสิงคโปร์ ที่หดตัวร้อยละ 4.9 33.1 และ 21.8 ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดญี่ปุ่นและฮ่องกง ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 และ 20.8 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนเดือนกรกฎาคม 2558 หดตัวร้อยละ 2.5 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 15,024 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2558 ขยายตัวร้อยละ 24.4 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 2 ปี 2558 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 384 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPl) อยู่ที่ระดับ 141.5 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่มขยายตัวส่วนค่าใช้จ่ายภายในบ้านเช่น ไฟฟ้าและประปาหดตัว
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 4.0 เนื่องจากปรากฎการณ์เอล นินโญอาจจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อของประเทศ
เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 เป็นผลมาจากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาล
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดียในไตรมาส 2 ปี 2558 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 เป็นผลมาจากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาลการใช้จ่ายของภาครัฐและภาคครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้นถึงแม้การส่งออกและการนำเข้าจะหดตัวก็ตาม
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 179.0 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 173.3 โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของอุตสาหกรรมเหมืองแร่อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 66,819 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 จากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จีน สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ ที่หดตัวร้อยละ 2.5 9.9 19.4 3.9 และ 33.0 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปฮ่องกงและศรีลังกาขยายตัวร้อยละ 2.0 และ 19.2 ตามลำดับสำหรับการส่งออกในเดือนสิงหาคม 2558 หดตัวร้อยละ 21.3 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2558 มีมูลค่า 99,154 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 สำหรับการนำเข้าในเดือนสิงหาคม 2558 หดตัวร้อยละ 10.2 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 2 ปี 2558 อินเดียขาดดุลการค้า 32,335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 146.8 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2557 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่ม ค่าใช้จ่ายภายในบ้านขยายตัว
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 7.25 เมื่อเดือนมิถุนายน ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.75 และมีผลทันที ถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาและระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลงต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--