ภาพรวมเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจโลกในปี 2558 IMF คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.1 ภาพรวมเศรษฐกิจของโลกฟื้นตัวดีขึ้น จากการที่เศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2557 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจสหภาพยุโรปขยายตัวแต่ยังคงมีปัญหาอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวเล็กน้อยอันเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเศรษฐกิจประเทศจีนยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง
สถานการณ์การเงินโลกธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ และยังคงใช้มาตรการแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากกลุ่มประเทศโอเปกตัดสินใจคงกำลังการผลิต และยังมีผู้ผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale oil) ในสหรัฐฯ และแคนาดา จึงส่งผลให้อุปทานน้ำมันโลกยังคงล้นตลาด โดยราคาน้ำมันดิบ (Dubai) เฉลี่ย 11 เดือน อยู่ที่ 52.7 USD:Barrel โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมกราคม (ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2557) มีราคาอยู่ที่ 37.5 USD:Barrel
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.6 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 และแนวโน้มปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.8
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 2.6 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 2.4 อันเป็นผลมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานลดลง การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเที่ยบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 การลงทุนภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 5.7 เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 อยู่ที่ระดับ 97.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 86.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558อยู่ที่ระดับ 105.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.2
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 หดตัวร้อยละ 6.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 การนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 หดตัวร้อยละ 4.3 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.5
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.02 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.7 อันเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 6.2
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป
เศรษฐกิจจีน ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.8 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2557 และแนวโน้มปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.3
ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 6.8 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 7.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 มูลค่าการค้าปลีกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 10.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 อยู่ที่ระดับ 106.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ซึ่งอยู่ที่ระดับ 105.5
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 6.1 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.4
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 หดตัวร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 การนำเข้าในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 หดตัวร้อยละ 15.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.0
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1 อันเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมาปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี ลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.35 (ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2558) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทต่าง ๆ นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดสัดส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ลงร้อยละ 0.5 เพื่อเสริมสภาพคล่องอีกด้วย
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 0.6 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 และแนวโน้มปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.0
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 0.6 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.3 การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 1.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 0.4 การลงทุนในภาคก่อสร้างในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาหดตัวร้อยละ 4.3 ลดลงเมื่อเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 1.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 40.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 38.7
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 อยู่ที่ระดับ 98.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.3
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.9ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 การนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ ผ่านมาของปี 2558 หดตัวร้อยละ 7.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.0
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.8 อันเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 นอกจากนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไปและยังคงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ 2 .0
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 และแนวโน้มปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.6
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหภาพยุโรปขยายตัวร้อยละ 1.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2 เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปฟื้นตัวดีขึ้นเล็กน้อยแต่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 1.8 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.0
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 105.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.9
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 6.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 3.7 การนำเข้าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.3
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ -0.02 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.5 อันเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 9.9 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.6
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 และประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB จากเดิมร้อยละ -0.2 ปรับเป็นร้อยละ -0.3 เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจ
เศรษฐกิจเอเชียในปี 2558 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.4 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2557 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.6 เศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียขยายตัวชะลอลงตามการส่งออกที่หดตัวจากความต้องการนำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้าชะลอตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคู่ค้าหลักอย่างจีน
ทั้งนี้ IMF คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2559 ของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 5.4 และมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 2.8
เศรษฐกิจฮ่องกงในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับในปี 2557 โดยแนวโน้มปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 2.7
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในปี 2558 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2558 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 2.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.6 จากการส่งออกสินค้าที่แท้จริงหดตัวร้อยละ 2.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวร้อยละ 3.9 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจฮ่องกงยังได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 และการลงทุนรวมที่ขยายตัวได้ร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 1.5
การผลิตภาคอุตสาหกรรม* ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ระดับ 90.1 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.3
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 มีมูลค่า 418,261 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.8 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 2.9 โดยการส่งออกไปตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) หดตัวร้อยละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 7.5 ด้านการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 มีมูลค่า 461,254 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 4.1 ภาพรวมการค้าฮ่องกง 10 เดือนแรกปี 2558 ฮ่องกงขาดดุลการค้า 42,993 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3 จากราคาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ค่าเชื้อเพลิง และค่าสาธารณูปโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2
แนวโน้มภาพรวมปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจฮ่องกงจะขยายตัวร้อยละ 2.7 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2558 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 3.0
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.7 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยแนวโน้มปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 3.2
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในปี 2558 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.7 ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2558 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 2.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากการส่งออกสินค้าที่แท้จริงหดตัวร้อยละ 0.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดยการบริโภคภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัส MERS ที่แพร่ระบาดในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม 2558 สิ้นสุดลง ประกอบกับรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.0
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ระดับ 107.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 107.7
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 มีมูลค่า 440,216 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.0 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) หดตัวร้อยละ 4.3 ขณะที่การส่งออกไปสหภาพยุโรปหดตัวร้อยละ 11.6 ด้านการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 มีมูลค่า 367,358 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 16.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้เกินดุลการค้า 72,858 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากราคาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ค่าเชื้อเพลิง และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงค่าขนส่งที่ลดลงเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ยังอยู่ในระดับต่ำ และยังต่ำกว่าระดับเงินเฟ้อเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ระดับร้อยละ 2.5 ถึง 3.5 ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 (หลังจากมีการปรับลดลงมาสองรอบ คือ ในเดือนมีนาคม 2558 ปรับลดจากร้อยละ 2.00 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 และในเดือนมิถุนายน 2558 ลดจากร้อยละ 1.75 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.50 เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
แนวโน้มภาพรวมปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 3.2 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2558 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 1.8
เศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.2 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยแนวโน้มปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 2.9
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในปี 2558 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.2 ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2558 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 2.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 สาเหตุสำคัญมาจากภาคการผลิตที่หดตัวร้อยละ 4.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ตามการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มวิศวกรรมขนส่ง และกลุ่มวิศวกรรมเครื่องมือวัดที่ลดลง ขณะที่ภาคการก่อสร้างขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 อย่างไรก็ตามภาคบริการยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้กับเศรษฐกิจสิงคโปร์โดยขยายตัวร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ระดับ 99.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.4
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกปี 2558 มีมูลค่า 266,491 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.3 จากการส่งออกไปตลาดสำคัญหดตัวในเกือบทุกตลาด อาทิ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย และอินโดนีเซีย หดตัวร้อยละ 6.3 10.3 24.5 และ 23.5 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกปี 2558 มีมูลค่า 225,485 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 19.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.7 ภาพรวมการค้าสิงคโปร์เกินดุลการค้า 41,006 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 ติดลบร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ค่าเชื้อเพลิงและสาธารณูปโภค รวมถึงต้นทุนค่าขนส่งที่ลดลง เศรษฐกิจสิงคโปร์เผชิญกับภาวะเงินฝืดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 เป็นต้นมา อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มภาพรวมปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2.9 เป็นการขยายตัวเพิ่งขึ้นจากในปี 2558 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 1.8
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.7 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยแนวโน้มปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 5.1
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในปี 2558 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.7 ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2558 เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.0 จากภาคการส่งออกสินค้าที่แท้จริงหดตัวร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจอินโดนีเซียยังได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาครัฐที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.1
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ระดับ 125.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 119.3
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 มีมูลค่า 127,218 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 1.1 ด้านการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 มีมูลค่า 119,055 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 20.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 4.1 ภาพรวมการค้าอินโดนีเซียเกินดุลการค้า 8,163 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 6.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.2
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 7.5 เนื่องจากเหมาะสมกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ในช่วงร้อยละ 3-5 ในปี 2558 รวมถึงการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น โดยคาดการณ์การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP อย่างไรก็ตามธนาคารกลางอินโดนีเซียได้มีการปรับลด Primary Reserve Requirement มาอยู่ที่ร้อยละ 7.5 จากเดิมร้อยละ 8.0 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2558 เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ภาพรวมปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะขยายตัวร้อยละ 5.1 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2558 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 5.4
เศรษฐกิจมาเลเซียในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.7 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 และแนวโน้มปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 4.5
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.7 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี2558 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 5.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากการใช้จ่ายของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชนเป็นสำคัญ และแนวโน้มปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 4.5
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 อยู่ที่ระดับ 120.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 114.2 โดยดัชนีผลผลิตฯ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 121.0
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า 134,217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ด้านการนำเข้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า 119,644 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ภาพรวมการค้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 มาเลเซียเกินดุลการค้า 14,573 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยอัตราเงินเฟ้อใน 10 เดือนแรกนี้มาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ ค่าไฟฟ้าและเครื่องอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางลดลง
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศช่วยผลักดันเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ
แนวโน้มภาพรวมปี 2559 ในปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.5 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.8
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.0 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2557 และแนวโน้มปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.3
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.0 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2558 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 5.4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.9 จากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาลและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 อยู่ที่ระดับ 169.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 177.5 โดยดัชนีผลผลิตฯ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 178.1
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า 39,341 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 ด้านการนำเข้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า 43,746 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ภาพรวมการค้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 4,404 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 0.4 โดยอัตราเงินเฟ้อใน 10 เดือนแรกนี้มาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ สินค้าอุปโภคบริโภค และค่าใช้จ่ายภายในบ้านที่เพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของค่าไฟฟ้าและค่าขนส่งลดลง
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 4.0 เนื่องจากปรากฎการณ์เอล นินโญอาจจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อของประเทศ
แนวโน้มภาพรวมปี 2559 ในปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.3 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.4
เศรษฐกิจอินเดียในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 และแนวโน้มปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.5
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย เศรษฐกิจอินเดียในปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2558 เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวร้อยละ 7.3 ขยายตัวเท่าเดิมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนและการใช้จ่ายของรัฐบาล และแนวโน้มปี 2558 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.5
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 อยู่ที่ระดับ 182.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 175.7 โดยดัชนีผลผลิตฯ ในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 178.3
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า 202,769 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 16.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ด้านการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า 295,951 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.9 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 7.4 ภาพรวมการค้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 อินเดียขาดดุลการค้า 93,182 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 5.1 โดยอัตราเงินเฟ้อใน 10 เดือนแรกนี้มาจากราคาเครื่องแต่งกาย เครื่องนอน รองเท้า น้ำมัน ไฟฟ้าและเครื่องอุปโภคที่เพิ่มขึ้น
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 7.25 เมื่อเดือนมิถุนายน ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.75 และมีผลทันที ถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาและระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลงต่อเนื่อง
แนวโน้มภาพรวมปี 2559 ในปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.5 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 5.5
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--