สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2558 และแนวโน้มปี 2559(อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 25, 2016 15:41 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 1 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2558 มีการปรับตัวลดลงของการส่งออกและการนำเข้าร้อยละ 16.09 และ 8.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในปี 2559 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 เมื่อเทียบกับปี 2558 เนื่องจากนโยบายภาครัฐ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน และการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

การค้าระหว่างประเทศ

การส่งออก

การส่งออกเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2558 มีมูลค่ารวม 5,764.588 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 16.09 เมื่อเทียบกับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2557

1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าส่งออก 3,021.596 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 22.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงในช่วง 10 เดือนของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด

1.1 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่าส่งออก 1,910.300 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 24.10 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐอินเดีย คิดเป็นร้อยละ 34.30 8.99 และ 8.86 ตามลำดับ

1.2 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ มีมูลค่าส่งออก 469.253 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 23.49 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 16.96 10.56 และ 9.97 ตามลำดับ

1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มีมูลค่าส่งออก 642.043 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 19.30 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 13.88 และ 13.49 ตามลำดับ

2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าส่งออก 2,742.992 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.93 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงในช่วง 10 เดือนของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ปุ๋ยเคมี เครื่องสำอาง สารลดแรงตึงผิว และสี

2.1 ปุ๋ยเคมี มีมูลค่าส่งออก 122.692 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.31 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า คิดเป็นร้อยละ 34.99 25.92 และ 22.50 ตามลำดับ

2.2 เครื่องสำอาง มีมูลค่าส่งออก 1,503.251 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.19 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 21.76 9.44 และ 7.14

2.3 สารลดแรงตึงผิว มีมูลค่าส่งออก 604.971 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.18 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า คิดเป็นร้อยละ 10.44 8.76 และ 8.13 ตามลำดับ

2.4 สี มีมูลค่าส่งออก 512.078 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.93 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ และและสาธารณรัฐอินเดีย คิดเป็นร้อยละ 11.70 9.72 และ 8.80 ตามลำดับ

การนำเข้า

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2558 มีมูลค่ารวม 11,295.064 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.22 เมื่อเทียบกับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2557

1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการนำเข้า 6,722.440 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้การนำเข้าลดลงในปีนี้ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด

1.1 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า 2,868.468 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 16.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ และญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 22.71 10.08 และ 8.19

1.2 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มีมูลค่านำเข้า 2,414.581 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 7.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 22.67 19.36 และ 14.36 ตามลำดับ

2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่านำเข้า 4,572.623 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้การนำเข้าลดลง ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สี และสารลดแรงตึงผิว

2.1 ปุ๋ยเคมี มีมูลค่านำเข้า 1,584.737 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าสำคัญในปีนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักรซาอุดิอะราเบีย สหพันธรัฐรัสเซีย คิดเป็นร้อยละ 17.57 17.46 และ 14.25 ตามลำดับ

2.2 สี มีมูลค่านำเข้า 1,190.319 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าสำคัญในปีนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน คิดเป็นร้อยละ 21.28 และ 19.99 ตามลำดับ

2.3 สารลดแรงตึงผิว มีมูลค่านำเข้า 593.026 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน คิดเป็นร้อยละ 19.03 14.36 และ 11.16 ตามลำดับ

การส่งออกเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2558 มีมูลค่ารวม 5,764.588 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่าที่ลดลง 1,105.366 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เครื่องสำอาง และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด คิดเป็นประมาณร้อยละ 33.14 26.08 และ 11.14 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2558 มีมูลค่ารวม 11,295.064 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่าที่ลดลง 1,101.784 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด คิดเป็นประมาณร้อยละ 25.40 และ 21.38 ตามลำดับ

แนวโน้มในช่วง 2 เดือนสุดท้าย (พ.ย. - ธ.ค.) ของปี 2558 คาดว่าสถานการณ์โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะยังคงปรับตัวลดลง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าประมาณ 1,152.918 และ 2,2259.013 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เนื่องจากการปรับตัวลดลงของมูลค่าสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และตลาดอาเซียน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในปี 2559 คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 จากปี 2558 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะช่วยสนับสนุนการส่งออกให้เป็นไปตามเป้า ความชัดเจนของการลงทุนในภาครัฐ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชน เพื่อปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หากยังมีประเด็นที่ต้องติดตาม คือ ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า รวมทั้งนโยบายเศรษฐกิจเน้นการพึ่งพาสินค้าในประเทศและลดการนำเข้าของประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ