อุตสาหกรรมพลาสติกในช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2558 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916 - 3926) ลดลงร้อยละ 4.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV ชะลอตัว บวกกับราคาสินค้าที่ลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้ปริมาณการผลิตสินค้าพลาสติกไม่เพิ่มขึ้น ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916 - 3926) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 ตามประเภทผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัจจัยการผลิตของอุตสาหกรรมก่อสร้างและภาคเกษตร ได้แก่ พลาสติกปูพื้น หลอดและท่อ
การตลาด
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2558 ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916-3926) เท่ากับ 1,085,942 ตัน ลดลงร้อยละ 4.37 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกลดลงที่สำคัญ ได้แก่ ใยยาวเดี่ยว พลาสติกปูพื้น และของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า โดยลดลง ร้อยละ 64.58 19.20 และ 7.76 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน (ตารางที่ 1) โดยภาพรวมประเทศไทย มีการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกส่วนใหญ่ไปยังประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และมาเลเซีย คิดเป็นร้อยละ 18.28 9.44 6.72 และ 6.68 ตามลำดับ
การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกในช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2558 ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916-3926) เท่ากับ 622,279 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ พลาสติกปูพื้น หลอดหรือท่อ และใยยาวเดี่ยว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.50 13.43 และ 10.58 ตามลำดับ (ตารางที่ 2) โดยภาพรวม ประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกส่วนใหญ่มาจากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 27.33 24.73 8.17 และ 6.04 ตามลำดับ
สรุปภาวะเศรษฐกิจปี 2558 ผลิตภัณฑ์พลาสติกคาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916-3926) เท่ากับ 1,085,942 ตัน ลดลงร้อยละ 4.37 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ ใยยาวเดี่ยว พลาสติกปูพื้น และของที่ใช้ลำเลียงหรือบรรจุสินค้า โดยลดลง ร้อยละ 148.42 19.27 และ 6.49 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการนำเข้าคาดว่ามีปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916-3926) เท่ากับ 622,279 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ พลาสติกปูพื้น เครื่องประกอบของอาคาร หลอดหรือท่อ และใยยาวเดี่ยว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.15 19.70 12.83 และ10.73 ตามลำดับ
แนวโน้มปี 2559 คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวโดยมาตรการกระตุ้นค่าใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่น่าจะมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลิตภัณฑ์พลาสติกในเชิงบวก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--