สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2558 (ตุลาคม - ธันวาคม 2558)(อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 15, 2016 16:13 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

Highlight

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4/2558 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 98.10ลดลงร้อยละ 3.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 8.07เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะกำลังซื้อในประเทศและตลาดส่งออกหลักยังไม่ฟื้นตัว สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 102.83 ลดลงร้อยละ7.93 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 4.37 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากกำลังซื้อในประเทศและตลาดหลักยังไม่ฟื้นตัว สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.16 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลงตามไปด้วย

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4/2558 มีมูลค่า 13,528.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 6.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นจีนที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 มีมูลค่า 53,993.33 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 3.11 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยตลาดหลักที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 4.36 6.11 และ 7.99 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นจีนและสหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 และ 3.42 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 22,408.55 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 31,584.77 ล่านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.05 เมื่อเทียบกับปีก่อน

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2559 คาดว่าการผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-5 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายไตรมาส 2 ของปี 2559 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัว คือ เครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะส่งออกไปตลาดหลักโดยเฉพาะอาเซียนได้มากขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัว คือ IC เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนสำคัญในอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาสินค้าหรือออกรุ่นใหม่มาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงทางด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่เปราะบางค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน

การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 4/2558 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 1) มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 98.10 ลดลงร้อยละ 3.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มาจากคอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 1.65 2.37 8.65 36.64 11.62 และ 10.22 ตามลำดับ เพราะกำลังซื้อในประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงตามไปด้วย รวมถึงได้รับผลกระทบจากตลาดส่งออกหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สำหรับสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor Monolithic IC และ Other IC ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.65 3.33 และ 6.11 ตามลำดับ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 2.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว และโทรทัศน์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.77 10.17 11.61 และ 74.17 ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวลดลง และกำลังซื้อในประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง สำหรับการปรับตัวลดลงของเครื่องรับโทรทัศน์นั้นเนื่องมาจากมีผู้ผลิตบางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศในกลุ่มอาเซียน

สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 4/2558 ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ปรับตัวลงทุกตัว ได้แก่ HDD Printer Semiconductor และ Other IC ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.89 36.02 9.98 และ 10.46 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงตามไปด้วย ในส่วนของHDD ลดลง เพราะความต้องการคอมพิวเตอร์ในตลาดโลกลดลง โดย Gartner 1รายงานว่า การจำหน่ายคอมพิวเตอร์ PC ทั่วโลกในไตรมาส 4/2558 มีการจำหน่ายอยู่ที่ 75.7 ล้านเครื่อง ลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการจำหน่ายอยู่ที่ 82.5 ล้านเครื่อง

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 อยู่ที่ 102.83 ลดลงร้อยละ 7.93 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าลดลงร้อยละ 4.37 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการที่เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลง เช่น เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิงยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยส์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ สายไฟฟ้า โทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 2.27 1.76 5.58 0.33 และ 67.98 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นตู้เย็น และเครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.40 และ 4.39 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ

สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 10.16 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงทั้งหมด ได้แก่ Semiconductor Monolithic IC Other IC และ HDD ลดลง ร้อยละ 2.63 2.74 10.22 และ 18.82 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดโลก

Semiconductor Industry Association 2 (SIA) ได้รายงานว่าการจำหน่าย Semiconductor ในตลาดโลกของไตรมาส 4/2558 มีมูลค่า 82.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมูลค่าจำหน่ายในเกือบทุกภูมิภาคปรับตัวลดลง ได้แก่ เอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.8 4.3 3.6 และ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนจีนทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับการจำหน่าย Semiconductor ปี 2558 มีการจำหน่ายอยู่ที่ 335.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการที่ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชียแปซิฟิกปรับตัวลดลงร้อยละ 10.7 8.5 0.8 และ 0.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ยกเว้นจีนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับ ปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กลุ่มที่มีการจำหน่ายมากที่สุด 3 อันดับแรกในปี 2558 คือ Logic IC Memory และ Micro-ICs มีมูลค่าจำหน่ายอยู่ที่ 90.8 77.2 และ 61.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วน Optoelectronics เป็นกลุ่มที่มีขยายตัวมากที่สุดถึงร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน

การจำหน่ายในประเทศ

ภาวะการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในไตรมาส 4/2558 มีการปรับตัวลดลงเกือบทั้งหมดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิตเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครื่องซักผ้า ตู้เย็น และสายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 13.06 12.75 10.44 3.38 19.77 7.70 และ 30.41 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ส่วนหม้อหุงข้าว ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

ภาวะการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลงเช่นกัน ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ พัดลม และสายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 12.78 3.85 และ 27.36 ตามลำดับ ส่วนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต เครื่องซักผ้า ตู้เย็น และหม้อหุงข้าว ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.79 9.22 18.48 6.05 และ 9.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาวะการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในปี 2558 กลุ่มสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต และหม้อหุงข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.50 10.75 และ 2.86 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ กลุ่มสินค้าที่มีการปรับตัวลดลง เช่น คอมเพรสเซอร์ พัดลม เครื่องซักผ้า ตู้เย็น และสายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 19.37 15.07 13.31 10.70 และ 16.65 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 2)

การส่งออก

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4/2558 มีมูลค่า 13,528.26 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักลดลงเกือบทั้งหมด ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 15.07 5.72 4.12 และ 6.65 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นจีนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 3)

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4/2558 มีมูลค่า 5,393.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 1.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยตลาดหลักที่ปรับตัวลดลง คือ สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 1.16 และ 3.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ ยกเว้นอาเซียน จีนและญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 3.69 และ 1.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ สำหรับการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.15 โดยการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 16.90 14.62 10.27 และ 3.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นสหภาพยุโรปที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าการส่งออก 820.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.13 และ 17.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ในขณะที่การส่งออกไปอาเซียน จีน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 3.11 57.64 และ 14.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ 2) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับ ตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์ สวิตช์ ปลั๊ก socket) มีมูลค่า 623.15 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปอาเซียน จีน และญี่ปุ่น ลดลงถึงร้อยละ 55.15 12.43 และ 3.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ 3) กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกภาพดิจิทัล วีดีโออื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 443.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดมีความต้องการลดลงอย่างต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยตลาดหลัก ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เช่น สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 21.87 3.57 29.39 และ 21.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นอาเซียนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4/2558 มีมูลค่า 8,134.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตลาดหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป และ

สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 และ 6.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ ยกเว้น อาเซียน จีน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 3.97 8.70 และ 0.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สำหรับการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 4.11 ตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 13.04 10.11 0.98 และ 9.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1) อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าการส่งออก 4,592.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 4.95 13.27 11.73 0.91 และ 2.49 ตามลำดับ 2) วงจรรวมและ ไมโครแอสแซมบลี มีมูลค่าการส่งออก 2,016.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดอาเซียน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.95 6.53 6.45 ยกเว้นจีนและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ108.60 และ 3.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ 3) วงจรพิมพ์ มีมูลค่าการส่งออก 308.74 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่อาเซียน จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 15.78 9.26 9.58 และ 33.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 มีมูลค่า 53,993.33 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.11 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดอาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อยละ 4.36 6.11 และ 7.99 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ

สำหรับการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2558 มีมูลค่า 22,408.55 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 4.57 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีนและญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.76 6.33 13.28 และ 9.89 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าการส่งออก 3,976.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.06 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากตลาดหลักส่วนใหญ่มีการชะลอตัว คือ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.02 21.44 20.22 15.65 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.61 เมื่อเทียบกับปีก่อน 2) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับ ตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์ สวิตช์ ปลั๊ก socket) มีมูลค่า 2,461.42 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.05 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปอาเซียน และญี่ปุ่น ลดลงถึงร้อยละ 22.70 และ 9.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ 3) กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกภาพดิจิทัล วีดีโออื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 1,714.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.08 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเข้ามาแทนตลาดกล้องดิจิทัล ทำให้ตลาดมีความต้องการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหลักที่ปรับตัวลดลง คือ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 6.72 6.97 และ 14.89 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ

การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 มีมูลค่า 31,584.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.05 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดหลักที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 5.99 5.99 และ 5.49 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้น จีน และสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.90 และ 3.29 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1) อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าการส่งออก 17,516.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.56 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 2.37 10.22 12.78 และ 6.51 ตามลำดับ ยกเว้นสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.60 เมื่อเทียบกับปีก่อน 2) วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี มีมูลค่าการส่งออก 7,764.21 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดอาเซียน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.13 6.72 และ 4.40 ยกเว้นจีนและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 89.91 และ 8.64 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ 3) วงจรพิมพ์ มีมูลค่าการส่งออก 1,293.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.54 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักอาเซียน สหภาพยุโรป และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.78 4.64 และ 23.24 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ

การนำเข้า

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4/2558 มีมูลค่า 11,713.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 2.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าจากแหล่งนำเข้าหลักลดลงเกือบทั้งหมด ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 10.10 1.71 9.16 และ 16.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นการนำเข้าจากจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 4)

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4/2558 คิดเป็นมูลค่า 4,768.41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าจากสหภาพยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.36 19.94 และ 4.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าจากอาเซียนและญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 5.25 และ 9.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์ สวิตช์ ปลั๊ก socket) มีมูลค่าการนำเข้า 957.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าหลักที่ปรับตัวลดลงได้แก่ จีนและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 4.46 และ 11.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ตามลำดับ 2) มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) มีมูลค่าการนำเข้า 456.56 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.39 115.43 16.29 และ 35.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ตามลำดับ 3) สายไฟ ชุดสายไฟ มีมูลค่าการนำเข้า 323.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าหลักที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ลดลง ร้อยละ 5.44 3.16 และ 45.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

การนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4/2558 มีมูลค่า 6,945.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลง ร้อยละ 13.24 8.77 13.25 และ 22.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สินค้านำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก 1) วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี มีมูลค่า 2,192.90 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักลดลงทั้งหมด คือ อาเซียน สหภาพยุโรป จีนสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 15.08 12.06 12.19 0.81 และ 32.93 ตามลำดับ 2) อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าการนำเข้า 1,685.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนำเข้าจากสหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 16.70 18.80 46.81 และ11.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ 3) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์ มีมูลค่า 1,186.81 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนำเข้าจากอาเซียน สหภาพยุโรป และจีน ปรับตัวลดลงร้อยละ 46.26 54.93 และ 3.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 มีมูลค่า 44,597.31 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.61 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักลดลงเกือบทั้งหมด ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 2.01 9.31 4.67 และ 13.25 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นการนำเข้าจากจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.86 เมื่อเทียบกับปีก่อน

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2558 มีมูลค่า 17,882.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.34 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน จีน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.24 7.80 และ 2.60 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์ สวิตช์ ปลั๊ก socket) มีมูลค่าการนำเข้า 3,909.61 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.35 เมื่อเทียบกับปีก่อน แหล่งนำเข้าหลักส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.13 2.67 5.53 และ 4.86 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ 2) มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) มีมูลค่าการนำเข้า 1,280.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมด ได้แก่ อาเซียน จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.59 72.85 24.27 และ 22.14 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ 3) สายไฟ ชุดสายไฟ มีมูลค่าการนำเข้า 1,298.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 เมื่อเทียบกับปีก่อน แหล่งนำเข้าหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.16และ 6.84 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ

การนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 มีมูลค่า 26,714.58 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 8.02 9.28 6.93 และ 17.77 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ สินค้านำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก 1) วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี มีมูลค่า 9,392.21 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.55 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยแหล่งนำเข้าหลักลดลงเกือบทั้งหมด คือ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.09 3.55 1.92 และ 21.49 ตามลำดับ 2) อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าการนำเข้า 6,545.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.70 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยนำเข้าจากสหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 8.72 4.87 23.95 และ 5.28 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ 3) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์ มีมูลค่า 3,920.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนำเข้าจากจีน และสหรัฐอเมริกา ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.03 และ 14.26 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาส 4/2558 และปี 2558

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4/2558 อยู่ในภาวะชะลอตัวโดยดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 3.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 8.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 2.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะกำลังซื้อในประเทศยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง รวมถึงได้รับผลกระทบจากตลาดส่งออกหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลลดลงและหันไปใช้แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง โดยภาพรวมการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 4/2558 มีมูลค่า 13,528.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 6.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นการส่งออกไปจีนที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการส่งออก IC ไปจีนขยายตัวมากถึงร้อยละ108.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 อยู่ในภาวะชะลอตัว โดยดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 7.93 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 4.37 เมื่อเทียบกับปีก่อน เพราะกำลังซื้อในประเทศและตลาดส่งออกหลักยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้ผู้ผลิตเครื่องรับโทรทัศน์บางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศในกลุ่มอาเซียน สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.16 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยภาพรวมการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2558 มีมูลค่า 53,993.33 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.11 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยตลาดหลักที่ปรับตัวลดลง คือ อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยกเว้นจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2559

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2559 คาดว่าการผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3-5 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายไตรมาส 2 ของปี 2559 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัว คือ เครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะส่งออกไปตลาดหลักโดยเฉพาะอาเซียนได้มากขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัว คือ IC เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนสำคัญในอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาสินค้าหรือออกรุ่นใหม่มาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงทางด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่เปราะบางค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ