อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่1ของปี 2559 มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน และการนำเข้าทรงตัวไม่ลดลง เนื่องจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมาตรการการเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการลงทุนของภาคเอกชน
การตลาด
การส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,562.913 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.67 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 ลดลงร้อยละ 10.20 เป็นผลมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนและอาเซียน และเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับปิโตรเลียม
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าส่งออก 784.776 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.36 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 17.08 โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
1.1 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่าส่งออก 445.237 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 25.17 โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดีย และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 37.37 8.78 และ 6.98 ตามลำดับ
1.2 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ มีมูลค่าการส่งออก 142.820 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 7.61 โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเยอรมนี และ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 13.20 10.88 และ 10.03 ตามลำดับ
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มีมูลค่าส่งออก 196.718 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.73 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และลดลงร้อยละ 0.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 16.05 12.60 และ 9.83 ตามลำดับ
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าส่งออก 778.137 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.42 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และลดลงร้อยละ 2.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 ได้แก่ ปุ๋ยเคมี และเครื่องสำอาง เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของแต่ละผลิตภัณฑ์ยังคงชะลอตัวอยู่
2.1 ปุ๋ยเคมี มีมูลค่าส่งออก 30.849 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.06 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา คิดเป็นร้อยละ 29.75 28.74 และ 15.83 ตามลำดับ
2.2 เครื่องสำอาง มีมูลค่าส่งออก 425.210 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.44 เมื่อเทียบกับไตรมาส4 ของปี 2558 และลดลงร้อยละ 1.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ และ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 22.88 10.95 และ 7.68 ตามลำดับ
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 3,055.324 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.40 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 และ ลดลงร้อยละ 9.09 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2558 เนื่องจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการนำเข้า 1,816.801 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 และลดลงร้อยละ 12.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์สำคัญที่ทำให้การนำเข้าลดลงในไตรมาสนี้ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อนินทรีย์
1.1 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า 373.274 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.85 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และลดลงร้อยละ 14.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสหพันธรัฐมาเลเซีย คิดเป็นร้อยละ 40.93 12.64 และ 8.18 ตามลำดับ
1.2 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า 739.780 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.46 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และลดลงร้อยละ 17.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 24.47 10.74 และ 8.37 ตามลำดับ
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่านำเข้า 1,238.523 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.48 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และลดลงร้อยละ 3.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์สำคัญที่ทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ได้แก่ เครื่องสำอาง และสี
2.1 เครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 400.371 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.41 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสิงคโปร์ และประเทศสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 16.97 16.08 และ 11.92 ตามลำดับ
2.2 สี มีมูลค่านำเข้า 348.575 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.00 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2558 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอินเดีย คิดเป็นร้อยละ 21.66 18.61 และ 7.94 ตามลำดับ
การส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,562.913 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ และเครื่องสำอาง คิดเป็นประมาณร้อยละ 28.49% และ 27.21% ตามลำดับ
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 3,055.324 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และ เครื่องสำอาง คิดเป็นประมาณร้อยละ 424.213% 23.033% และ 13.104% ตามลำดับ
แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 คาดว่า สถานการณ์โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การเร่งรัดโครงการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนมีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--