ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2559 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ การกลั่นน้ำมัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ เดือนเมษายน 2559 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายเร่งผลิตรถยนต์ PPV ให้ทันต่อความต้องการของตลาด สำหรับตลาดส่งออกยังคงชะลอตัว
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เดือนเมษายน 2559 ยังขยายตัวได้ดี โดยมีปริมาณการผลิตและจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นจากภาคก่อสร้างที่ขยายตัว ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงการเร่งก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการของภาครัฐ ทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเมียนมาร์ อินโดนีเซีย และกัมพูชา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยมีคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากไทยลดลง
การเปิดปิดโรงงาน เดือนเมษายน 2559 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 411 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2559 ร้อยละ 8.7 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.3 แต่มีจำนวนการจ้างงานลดลงร้อยละ 10.3 โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ มีจำนวน 67 โรง จำนวนเงินทุน 26,402 ล้านบาท และจำนวนคนงาน 581 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2558 ร้อยละ 17.8 สำหรับโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมีจำนวน 57 ราย น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2559 ร้อยละ 72.7 และน้อยกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 35.2
การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย ในเดือนเมษายน 2559 การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้า เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว รวมถึงเครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะและส่วนประกอบที่ลดลง
ด้านการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป(ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 5,718.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าด้ายและเส้นใย ผ้าผืน เคมีภัณฑ์ รวมถึงอุปกรณ์ส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลง
การใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในเดือนเมษายน 2559 มีปริมาณทั้งหมดจำนวน 10,136.3 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงจากเดือนมีนาคม 2559 ร้อยละ 6.2 ที่ปริมาณ 10,807.2 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่ปริมาณ 9,427.7 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หากแยกการใช้ไฟฟ้าตามขนาดของกิจการ พบว่า กิจการขนาดเล็กมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและช่วงเดียวกันของปี 2558 ส่วนกิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากเดือนที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 1.5 อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลด้านบวกต่อดัชนี เช่น รถยนต์ ส่วนประกอบยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ปิโตรเลียม และบุหรี่เป็นต้น
ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศไต้หวันหดตัวต่อเนื่องร้อยละ 4.5
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศเกาหลีใต้หดตัวร้อยละ 2.8
สำหรับข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประจำเดือนเมษายน 2559 ยังไม่มีการเผยแพร่ แต่ยังมีแนวโน้มขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนมีนาคม 2559 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 4.5 และ 4.1 ตามลำดับ
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2559 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 411 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 378 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 8.7 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 41,667 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งมีการลงทุน 22,729 ล้านบาท ร้อยละ 83.3 แต่มีการจ้างงานจำนวน 8,129 คน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2559 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,060 คน ร้อยละ 10.3
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมากกว่าเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 349 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 17.8 แต่มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีการลงทุน 68,239 ล้านบาท ร้อยละ 38.94 มีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนเมษายน 2558 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 12,803 คน ร้อยละ 36.51
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2559 คือ อุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 67 โรงงาน รองลงมา คืออุตสาหกรรม ขุดตักดินสำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 33 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2559 คือ อุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวนเงินทุน 26,402.29 ล้านบาทรองลงมาคือ อุตสาหกรรมเก็บรักษาพืช เมล็ดพืช หรือผลิตผลจากพืชในโกดัง จำนวนเงินทุน 4,390.91 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2559 คือ อุตสาหกรรมผลิตกุ้งแช่แข็ง แปรรูปสัตว์น้ำ การถนอมเนื้อสัตว์น้ำ แช่แข็ง จำนวนคนงาน 1,178 คน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวนคนงาน 581 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2559 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 57 ราย น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 209 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.7 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 547 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2559 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,371 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน จำนวน 994 คน น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 5,891 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 88 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 35.2 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนเมษายน 2558 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 761 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนเมษายน 2558 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,399 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2559 คือ อุตสาหกรรม ซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 6 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 4 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2559 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ เงินทุน 153 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมพิมพ์ ทำแฟ้มเก็บเอกสาร เย็บเล่ม ทำปก ตบแต่งสิ่งพิมพ์ เงินทุน 61 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2559 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ จำนวนคนงาน 150 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทอหรือเตรียมเส้นด้ายยืนสำหรับการทอจำนวนคนงาน 103 คน
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันการบริโภคในประเทศก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากผู้บริโภคหันมาบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปาล์ม ด้วยระดับราคาที่ใกล้เคียงกัน ส่วนมูลค่าการส่งออกหดตัวจากการชะลอคำสั่งซื้อของประเทศผู้นำเข้า จากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายน 2559 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.7 แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก เช่น แป้งมันสำปะหลัง ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 เนื่องจากเป็นฤดูการผลิตปริมาณวัตถุดิบจึงเพิ่มขึ้น และไก่สดแช่เย็นแช่แข็งปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลืองการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 158.7เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นมาก
1) ตลาดในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ (ไม่รวมน้ำตาล )เดือนเมษายน 2559 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.03 และความต้องการบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 87.48 เนื่องจากราคาน้ำมันถั่วเหลืองใกล้เคียงกับน้ำมันปาล์มทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองแทน
2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายน 2559 ปรับตัวลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.6 สินค้าที่ปรับตัวลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวานกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 18.5 17.7 13.7 6.1 และ 3.4ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว และระดับราคาสินค้าในตลาดโลกปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมัน รวมทั้งมีผลผลิตส่วนเกินออกสู่ตลาดมาก อย่างไรก็ตามยังขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมประมง ประกอบกับการประกาศแจ้งเตือนการทำประมงของไทยเข้าข่ายการทำประมงผิดกฎหมายของสหภาพยุโรปการยกเลิกสัมปทานน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย และการปฏิบัติตามกฎหมายประมงฉบับใหม่ ทำให้เรือประมงบางส่วนต้องหยุดทำประมง อย่างไรก็ดี มีบางสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ กุ้งสดแช่เย็นแชแข็ง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง และไก่แปรรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.0 2.4 1.8 และ 1.2 ตามลำดับ จากคำสั่งซื้อในต่างประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกน้ำตาลปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.8 จากราคาและการชะลอคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันเป็นต้น แม้ตลาดหลักอย่างอินโดนีเซียจะเพิ่มคำสั่งซื้อเกือบเท่าตัวก็ตาม
การผลิตและการส่งออกในภาพรวมคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเล็กน้อยจากปีก่อนโดยมีปัจจัยลบจากการใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการทำประมงผิดกฎ IUU ของสหภาพยุโรป การที่อุปสงค์จากจีนชะลอตัวลง และราคาส่งออกปรับลดตามระดับราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกในหลายกลุ่มสินค้า ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์ (ไก่แปรรูป) ที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น สินค้าน้ำตาลทรายที่มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเพิ่มขึ้น สินค้าประมง เช่น กุ้ง จากสถานการณ์การผลิตกุ้งไทยฟื้นตัวจากโรค EMS ประกอบกับรัฐบาลใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน มาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับSMEs และมาตรการเร่งรัดการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารในประเทศ อาจส่งผลให้การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารขยายตัว
"การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเส้นใยเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของการผลิตเส้นใยสังเคราะห์แต่ในส่วนของเส้นด้ายผลิตลดลงตามการผลิตในกลุ่มผ้าผืนที่ลดลง ส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ผลิตลดลงทั้งในส่วนเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอ สำหรับการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากขนสัตว์และวัตถุทออื่น ๆ ยังขยายตัวได้"
ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.94 โดยเฉพาะเส้นใยสังเคราะห์ แต่ในส่วนของเส้นด้ายผลิตลดลงตามการผลิตผ้าผืนที่ลดลงร้อยละ 14.39
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่มเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง ร้อยละ 13.93 ซึ่งเป็นการผลิตลดลงทั้งในกลุ่มเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอ ตามคำสั่งซื้อภายในและต่างประเทศ ประกอบกับมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากจากจีน กัมพูชา เวียดนาม บังคลาเทศ และฮ่องกง
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีปริมาณการจำหน่ายลดลง ร้อยละ 12.48 17.59 และ 20.29 ตาม ลำดับ จากภาวะเศรษฐกิจภายในที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนลดการใช้จ่ายลง ประกอบกับมีวันหยุดยาวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้มีการใช้จ่ายด้านอื่น ๆ ทดแทน
การส่งออกเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.87 จากความต้องการในตลาดคู่ค้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตุรกี จีน บังคลาเทศ และญี่ปุ่น เป็นต้น ในส่วนผลิตภัณฑ์ผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 10.45 ในตลาดเวียดนาม บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และจีน สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง ร้อยละ 10.15 จากคำสั่งซื้อในตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากขนสัตว์และวัตถุทออื่น ๆ ยังขยายตัวได้
คาดว่า การผลิตจะทรงตัวในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ เนื่องจากความต้องการใช้ในการผลิตผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ประกอบกับผู้ผลิตบางส่วนได้ขยายฐานการผลิตไปในประเทศอาเซียน ในส่วนการจำหน่ายในประเทศ คาดว่า จะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจภายในสำหรับการส่งออก คาดว่า จะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการนำเข้า คาดว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอจะนำเข้าเส้นใยสิ่งทอและผ้าผืนลดลงแต่ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะนำเข้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเสื้อผ้าแฟชั่นต่าง ๆ ตามความต้องการสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคในประเทศ
สหรัฐอเมริกาประกาศเก็บภาษี AD เหล็กแผ่นรีดเย็นที่นำเข้าจากจีนในอัตราสูงถึง ร้อยละ 522 หลังพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถูกนำเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯในราคาต่ำกว่าทุนและได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจีนก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2559 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 119.54 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุดังนี้
ดัชนีผลผลิตในกลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.24 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.22 และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า ความต้องการใช้ในประเทศในส่วนของเหล็กทรงแบน 1,005,791 ตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.7 โดยเหล็กแผ่นบางรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.3 และเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.8 ในส่วนของการนำเข้า พบว่า การนำเข้าเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.4 โดยเหล็กโครงสร้างชนิดขึ้นรูปเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1,373.6 เหล็กแผ่นหนารีดร้อน Alloy steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 434.8 สำหรับการส่งออก พบว่า การส่งออกเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 12.1 โดยเหล็กแผ่นเคลือบ (Galv.sheet (EG)) ลดลง ร้อยละ 64.7
ดัชนีผลผลิตในกลุ่มเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.80 เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.57 และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า ความต้องการใช้ในประเทศ เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 90.5 โดยเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 138.4 เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.9 สำหรับการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.9 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 135.9 สำหรับการส่งออก ลดลง ร้อยละ 3.0 โดยเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 48.1 รองลงมา คือ เหล็กเส้น Stainless Steel ลดลง ร้อยละ 42.3
จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในเดือนพฤษภาคม 2559 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กส่วนใหญ่มีการปรับตัวที่เพิ่มขึ้น เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น จาก 72.82 เป็น 99.48 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.61 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้น จาก 71.16 เป็น 88.83 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.83 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 83.17 เป็น 102.8 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.60 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 84.68 เป็น 93.19 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.05 แต่เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 88.23 เป็น 87.76 ลดลง ร้อยละ 0.53
สถานการณ์การผลิตเหล็กของไทยในเดือนพฤษภาคม 2559 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าการผลิตเหล็กโดยรวมจะขยายตัวขึ้น โดยในส่วนของเหล็กเส้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังลดลง จึงทำให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น ตามการคาดการณ์ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2559 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายเร่งผลิตรถยนต์ PPV ให้ทันต่อความต้องการของตลาด สำหรับตลาดส่งออกยังคงชะลอตัว
จำนวน 138,237คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีการผลิต 123,968 คัน ร้อยละ 11.51 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันและอนุพันธ์และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
จำนวน 54,986 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีการจำหน่าย 54,058 คัน ร้อยละ 1.72 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
จำนวน 80,491คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีการส่งออก 82,130คัน ร้อยละ 2.00 โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และโอเชียเนีย
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2559 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม2558สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม2559 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40 และส่งออกร้อยละ 60
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน2559 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
1.การผลิตรถจักรยานยนต์1จำนวน 122,101 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีการผลิต 133,134 คัน ร้อยละ 8.29 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต
2.การจำหน่ายรถจักรยานยนต์2จำนวน 100,708 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีการจำหน่าย 106,315 คัน ร้อยละ 5.27
3.การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป(CBU)
จำนวน 19,245 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2558 ซึ่งมีการส่งออก 31,106 คัน ร้อยละ 38.13 โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศสหรัฐอเมริกาเนเธอร์แลนด์และจีน
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2559 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2558 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2559 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 78 และส่งออกร้อยละ 22
"อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังขยายตัวได้ดี โดยมีปริมาณการผลิตและจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นจากภาคก่อสร้างที่ขยายตัว ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงการเร่งก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการของภาครัฐ ทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเมียนมาร์ อินโดนีเซีย และกัมพูชา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยมีคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากไทยลดลง"
ในเดือนเมษายน 2559 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.96 และ ร้อยละ 22.84 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศ หากพิจารณาจากกราฟด้านซ้ายมือจะเห็นว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีทิศทางการเติบโตที่ดีตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่รวมถึงทางหลวงพิเศษ โดยขณะนี้ประกวดราคาแล้วเสร็จเป็นบางช่วงและเริ่มก่อสร้างแล้วใน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระขอนแก่น โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา-มาบตาพุด และโครงการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งที่ท่าเรือแหลมฉบังทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวและมีการผลิตเพิ่มขึ้น
มูลค่าการส่งออกรวมของปูนซีเมนต์เดือนเมษายน 2559 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หดตัวลงร้อยละ 3.81 เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยบางแห่ง โดยเฉพาะเมียนมาร์ อินโดนีเซีย และกัมพูชา ปรับลดคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากไทยลงค่อนข้างมากซึ่งสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนนี้ปรับลดลงไม่มากนักคือการขยายตัวที่ดีขึ้นของตลาดบังคลาเทศและลาว โดยปูนซีเมนต์ที่บังคลาเทศนำเข้าจากไทยเกือบทั้งหมดเป็นปูนเม็ด ในขณะที่ลาวนำเข้าปูนสำเร็จรูปเป็นส่วนมาก และมีแนวโน้มที่จะนำเข้าปูนซีเมนต์จากไทยเพิ่มขึ้นอีกในระยะต่อไป เนื่องจากยังมีปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ และยังไม่สามารถผลิตปูนซีเมนต์คุณภาพสูงบางชนิดเองได้
การผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึงการเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในหลายโครงการซึ่งบางส่วนอยู่ระหว่างการประกวดราคาและบางส่วนเริ่มทยอยก่อสร้างไปบ้างแล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีทำให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น
สำหรับมูลค่าการส่งออก คาดว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานตัวเลขของปี 2558 ค่อนข้างสูง ประกอบกับมีแนวโน้มความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศสูงขึ้นจากการขยายตัวของภาคก่อสร้างทั้งในโครงการของภาครัฐและเอกชนบริษัทผู้ผลิตจึงน่าจะมีแผนสำรองปูนซีเมนต์ไว้ใช้ในประเทศมากขึ้นและลดการส่งออกลง
ภาพรวมภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนเมษายน 2559 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของเครื่องปรับอากาศ สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผลิต IC เพิ่มขึ้น
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือน เมษายน 2559 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 105.37 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 121.90 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.36 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมด เช่น เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่ง เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต คอมเพรสเซอร์ หม้อหุงข้าว สายไฟฟ้า และเครื่องรับโทรทัศน์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.60, 12.12, 5.48, 25.87, 16.19 และ 0.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น และการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 95.06 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย Other IC และ Monolithic IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.43 และ 3.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนสำคัญในสินค้าที่มีการพัฒนาเป็นระบบดิจิทัลมากขึ้น โดยการส่งออกไปตลาดหลักบางตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน สำหรับ HDD และ Semiconductor ลดลงร้อยละ 6.90 และ 23.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊คลดลงอย่างต่อเนื่อง
เครื่องใช้ไฟฟ้า/ มูลค่า %YoY อิเล็กทรอนิกส์ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) อุปกรณ์ประกอบของ 1,211.87 -10.59 เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า 593.82 -2.65 เครื่องปรับอากาศ 435.26 8.05 ตู้เย็น 122.83 0.67 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,065.84 -7.08 และอิเล็กทรอนิกส์ 6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) 2. การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนเมษายน 2559 มีมูลค่า 4,065.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.08 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 1,781.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.88 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปอาเซียน จีน สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 1.92 19.20 20.69 และ 9.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.89 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สินค้าหลักที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 435.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.05 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปอาเซียน สหรัฐอเมริกาและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.59 41.25 และ 18.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ รองลงมาคือ ตู้เย็น มีมูลค่า 122.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34 20.40 12.38 และ 3.24 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,283.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.45 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทุกตลาดปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 6.29 7.56 8.61 และ 10.75 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,211.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.59 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทุกตลาดปรับตัวลง ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นลดลง ร้อยละ 17.43 5.08 15.85 และ 10.68 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รองลงมา คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 593.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.65 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปอาเซียน และสหรัฐอเมริกาลดลง ร้อยละ 6.81 และ 2.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤษภาคม 2559 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.76 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.74 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าทางความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น รวมถึงการส่งออกไปตลาดอาเซียนมีการขยายตัวได้ดี สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.77 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออก IC เพิ่มขึ้นตามการพัฒนาสินค้าไปสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น