สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวร้อยละ 5.1 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ เครื่องยนต์ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ที่มิใช่ยางรถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2559 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยเป็นการลดลงของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก
อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย เดือนกรกฎาคม 2559 การผลิตลดลงโดยเป็นการลดลงทั้งในกลุ่มเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอ ตามคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ ประกอบกับมีการนำเข้าเสื้อผ้าแฟชั่นเพิ่มขึ้นจาก จีน เวียดนาม กัมพูชา บังคลาเทศและญี่ปุ่น เป็นต้น
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เดือนกรกฎาคม 2559 ในภาพรวมขยายตัวได้แต่อยู่ในอัตราการเติบโตที่ลดลงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนของไทย หลายพื้นที่ทั่วประเทศมีฝนตกหนักตลอดทั้งเดือน ทำให้ภาคก่อสร้างชะลอตัว
การแจ้งประกอบกิจการและการจำหน่ายทะเบียนโรงงาน เดือนกรกฎาคม 2559 มีโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตและแจ้งประกอบกิจการจำนวน 322 ราย ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2559 ร้อยละ 11.1 มีจำนวนการจ้างงานลดลงร้อยละ 29.2 แต่มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนสำหรับใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนเงินทุน 4,342.55 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตและแจ้งประกอบกิจการลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ร้อยละ 21.5 สำหรับโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงานมีจำนวน 78 ราย น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2559 ร้อยละ 35.0 และน้อยกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 65.8
การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย ในเดือนกรกฎาคม 2559 การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ มีมูลค่า 1,415.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเครื่องยนต์เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบ เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ รวมถึงเครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลวที่เพิ่มขึ้น
ด้านการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป(ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 6,056.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าด้ายและเส้นใย กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ รวมถึงอุปกรณ์ส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลง
การใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในเดือนกรกฎาคม 2559 มีปริมาณทั้งหมดจำนวน 10,381.2 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2559 ร้อยละ 1.4 ที่ปริมาณ 10,530.0 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่ปริมาณ 10,309.5ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หากแยกการใช้ไฟฟ้าตามขนาดของกิจการ พบว่า กิจการขนาดเล็กและขนาดกลางมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากเดือนที่ผ่านมาและจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ส่วนกิจการขนาดใหญ่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากเดือนที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หดตัวร้อยละ 5.1 อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลด้านลบต่อดัชนี เช่น รถยนต์ ส่วนประกอบยานยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศไต้หวันขยายตัวร้อยละ 0.6
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 1.7
สำหรับข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประจำเดือนกรกฎาคม 2559 ยังไม่มีการเผยแพร่ แต่ยังมีแนวโน้มขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนมิถุนายน 2559 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 4.6 และ 9.1 ตามลำดับ
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2559 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 322 ราย ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2559 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 362 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 11.1 มีการจ้างงานจำนวน 6,659 คน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2559 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,406 คน ร้อยละ 29.2 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,099 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2559 ซึ่งมีการลงทุน 18,604 ล้านบาท ร้อยละ 8.0
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 410 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 21.5 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีการลงทุน 36,082 ล้านบาท ร้อยละ 44.3 และมีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,539 คน ร้อยละ 36.8
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2559 คือ อุตสาหกรรม ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เสาเข็ม แผ่นพื้น จำนวน 23 โรงงาน รองลงมา คืออุตสาหกรรม ซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 20 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2559 คือ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนสำหรับใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนเงินทุน 4,342.55 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติกชนิด Expandable Polystyrene(EPS)จำนวนเงินทุน 3,700 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2559 คือ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนสำหรับใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 911 คน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวนคนงาน 405 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2559 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 78 ราย น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2559 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 120 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.0 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 632 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2559 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,057 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน จำนวน 1,442 คน น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2559 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,177 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 228 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 65.8 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2558 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,805 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2558 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 6,615 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2559 คือ อุตสาหกรรม ซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 11 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ และอุตสาหกรรมบรรจุก๊าซ ทั้ง 2 อุตสาหกรรม จำนวนอุตสาหกรรมละ 6 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2559 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องเรือน เครื่องประดับจากพลาสติก เงินทุน 86 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ เงินทุน 83 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2559 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ จำนวนคนงาน 370 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำส่วนประกอบสำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคาร จำนวนคนงาน 306 คน
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ในขณะที่การบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออกหดตัว จากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว การชะลอคำสั่งซื้อของประเทศผู้นำเข้า ระดับราคาสินค้าอาหารในตลาดโลกปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมัน และมีผลผลิตส่วนเกินออกสู่ตลาดมาก
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกรกฎาคม2559 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ8.9 แบ่งเป็น
1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก เช่น แป้งมันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋องปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 และ 5.6 ตามลำดับจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่อง
2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ แบ่งเป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.5 จากวัตถุดิบลดลงส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้า คือ น้ำมันถั่วเหลืองการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 135.5 เนื่องจากความต้องการบริโภคภายในปรับตัวสูงขึ้น
1) ตลาดในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ(ไม่รวมน้ำตาล)เดือนกรกฎาคม 2559 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.6 โดยเฉพาะแป้งมันสำปะหลังที่มีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 นอกจากนี้ ความต้องการบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.5 เนื่องจากราคาน้ำมันถั่วเหลืองใกล้เคียงกับน้ำมันปาล์ม ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองแทน
2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกรกฎาคม 2559 ปรับตัวลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 ในกลุ่มสินค้าที่สำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ข้าว และไก่แปรรูป ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.4 18.6 7.4 3.0 3.0 3.0 และ 2.2ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว และระดับราคาสินค้าในตลาดโลกปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมัน รวมทั้งมีผลผลิตส่วนเกินออกสู่ตลาดมาก อย่างไรก็ดี มีบางสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.5 และ 19.9 ตามลำดับ จากคำสั่งซื้อในต่างประเทศเพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนตัว แม้ราคาจะปรับลดลงก็ตาม สำหรับมูลค่าการส่งออกน้ำตาลปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.8 จากราคาและการชะลอคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
การผลิตและการส่งออกในภาพรวมคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเล็กน้อยจากปีก่อนโดยมีปัจจัยลบจากการใช้แรงงานผิดกฎหมาย และการทำประมงผิดกฎ IUU ของสหภาพยุโรป การที่ความต้องการจากจีนชะลอตัวลง และราคาส่งออกปรับลดตามระดับราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยบวกในหลายสินค้า ได้แก่ สินค้าไก่แปรรูป ที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น สินค้าน้ำตาลทรายที่มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเพิ่มขึ้น สินค้ากุ้ง จากสถานการณ์การผลิตกุ้งไทยฟื้นตัวจากโรค EMS ประกอบกับรัฐบาลใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเร่งด่วน มาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับ SMEs และมาตรการเร่งรัดการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบต่างๆ รวมถึงการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารในประเทศ การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารให้ขยายตัว
"การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสิ่งทอเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ แต่กลุ่มเส้นด้ายลดลงตามการผลิตในกลุ่มผ้าผืนที่ลดลง ส่วนกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ผลิตลดลงทั้งในส่วนเสื้อผ้าถัก และเสื้อผ้าทอ โดยมีการนำเข้าเสื้อผ้าแฟชั่นตามความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น"
ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอในภาพรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.1 ในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ แต่กลุ่มเส้นด้ายลดลง ร้อยละ 5.7 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ ในส่วนการผลิตผ้าผืนลดลง ร้อยละ 13.0 ตามความต้องการใช้ในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ลดลง
ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่มเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 22.6 โดยผลิตลดลงทั้งในกลุ่มเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอ ตามคำสั่งซื้อทั้งภายในและต่างประเทศ ประกอบกับมีการนำเข้าเสื้อผ้าแฟชั่นเพิ่มขึ้นจาก จีน เวียดนาม กัมพูชา บังคลาเทศ2559 และญี่ปุ่น เป็นต้น
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ มีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.0 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายให้กับโรงทอผ้าในประเทศ สำหรับผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีปริมาณการจำหน่ายลดลง ร้อยละ 9.7 และ18.0 ตามลำดับ สอดคล้องกับการผลิตที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับพฤติกรรมการบริโภคในประเทศนิยมเสื้อผ้าสำเร็จรูปแฟชั่นนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น และเสื้อผ้าแบรนด์เนมจากอิตาลีเพิ่มมากขึ้น
การส่งออกเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เส้นใยสิ่งทอ มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 8.2 จากความต้องการในตลาดคู่ค้าลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย จีน เวียดนาม ตุรกี และปากีสถาน เป็นต้น ในส่วนผลิตภัณฑ์ผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 9.7 ในตลาดเวียดนาม บังคลาเทศ จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง ร้อยละ 11.0 จากคำสั่งซื้อในตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน
คาดว่า การผลิตจะขยายตัวในกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ตามความต้องการใช้ในประเทศ โดยเฉพาะเส้นใยสำหรับใช้ในการผลิตสิ่งทอเทคนิคสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ส่วนการผลิตผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ประกอบกับผู้ผลิตบางส่วนได้ขยายฐานการผลิตในกลุ่มประเทศอาเซียน ในส่วนการจำหน่ายในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจภายใน สำหรับการส่งออก คาดว่า จะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการนำเข้า คาดว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอจะนำเข้าเส้นใยสิ่งทอและผ้าผืนลดลง แต่ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะนำเข้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเสื้อผ้าแฟชั่นตามความต้องการสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคในประเทศ
สมาคมเหล็กประเทศเวียดนาม (Vietnam Steel Association; VSA) คาดว่าราคาเหล็กในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้วยแรงหนุนจากความต้องการใช้เหล็กในอุตสาหกรรมก่อสร้างและการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ จึงทำให้การบริโภคเหล็กขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก
สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2559 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 121.62 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลง ร้อยละ 4.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุดังนี้
ดัชนีผลผลิตในกลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.84 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.94 และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า ความต้องการใช้ในประเทศในส่วนของเหล็กทรงแบน 981,064 ตัน ลดลง ร้อยละ 0.8 โดยเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 9.1 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 3.8 ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.4 โดยเหล็กโครงสร้างขึ้นรูปเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2,500 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 286.4 สำหรับการส่งออก พบว่า การส่งออกเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 59.7 โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น Alloy steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8,326.8 เหล็กแผ่นหนารีดร้อน Alloy steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 422.2
ดัชนีผลผลิตในกลุ่มเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 12.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 29.82 เหล็กเส้นข้ออ้อยลดลง ร้อยละ 12.53 และจากข้อมูลของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า ความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 21.4 โดยเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลง ร้อยละ 28.7 เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 6.2 สำหรับการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.3 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 297.8 รองลงมาคือ เหล็กเส้น Alloy steel เพิ่มขึ้น ร้อยละ 67.3 สำหรับการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.2 โดยท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 84.7
จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในเดือนสิงหาคม 2559เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีการปรับตัวที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้น จาก 62.79 เป็น 73.26 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.67 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น จาก 69.74 เป็น 75.49 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.24 เหล็กแท่งเล็ก Billet เพิ่มขึ้นจาก 74.35 เป็น 75.29 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.27 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีดัชนีราคาเหล็ก ลดลง ได้แก่ เหล็กเส้น ลดลงจาก 78.72 เป็น 75.53 ลดลง ร้อยละ 4.05 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 76.63 เป็น 75.70 ลดลง ร้อยละ 1.21
สถานการณ์การผลิตเหล็กของไทยในเดือนสิงหาคม 2559 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าการผลิตเหล็กโดยรวมจะขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากสินค้า คงคลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนของเหล็กทรงยาวและทรงแบนที่ลดลง ส่งผลให้ผู้ผลิตเพิ่มการผลิต
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2559 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยเป็นการลดลงของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก
จำนวน 153,950 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีการผลิต 165,863 คัน ร้อยละ 7.18 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตันและอนุพันธ์
จำนวน 60,635 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีการจำหน่าย 60,863 คัน ร้อยละ 0.37 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน แต่มีการจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV เพิ่มขึ้น
จำนวน 99,155 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีการส่งออก 102,359 คัน ร้อยละ 3.13 โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง และอเมริกากลางและใต้
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2559 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2558สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2559 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 34และส่งออกร้อยละ 66
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม2559 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศ
จำนวน 142,516 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม2558 ซึ่งมีการผลิต125,941 คัน ร้อยละ 13.16 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์และแบบสปอร์ต
จำนวน 127,331 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม2558 ซึ่งมีการจำหน่าย 113,477 คัน ร้อยละ 12.21
จำนวน 19,399 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีการส่งออก 23,705 คัน ร้อยละ 18.16 โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศสหรัฐอเมริกามาเลเซียและเนเธอร์แลนด์
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม2559 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2558 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2559 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 86 และส่งออกร้อยละ 14
"อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภาพรวมขยายตัวได้ในอัตราการเติบโตที่ลดลงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนของไทย หลายพื้นที่ทั่วประเทศมีฝนตกหนักตลอดทั้งเดือน ทำให้ภาคก่อสร้างชะลอตัว สำหรับมูลค่าการส่งออกหดตัวลง เนื่องจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเมียนมาร์ปรับลดคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากไทยลง"
ในเดือนกรกฎาคม 2559 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.78 และร้อยละ 15.47 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวได้ เมื่อเทียบกับฐานตัวเลขของปีก่อนซึ่งมีปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในประเทศต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่หากพิจารณาการขยายตัวของอุตสาหกรรมในปี 2559 จากกราฟเส้นสีม่วงจะเห็นว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์หดตัวลงค่อนข้างมาก เนื่องจากในปีนี้ประเทศไทยมีฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ทั่วประเทศตลอดเดือนกรกฎาคม ทำให้ภาคก่อสร้างชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังคงมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเร่งลงทุนในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายต่างๆ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (SRTO) ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตงและแม่สอด รวมถึงโครงการสุวรรณภูมิ เฟส 2 ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เติบโตได้ในระยะต่อไป
มูลค่าการส่งออกรวมของปูนซีเมนต์เดือนกรกฎาคม 2559 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.22 เนื่องจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ มาเลเซีย และลาว มีคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากไทยลดลง อย่างไรก็ตาม บังคลาเทศ เวียดนาม และออสเตรเลีย มีคำสั่งซื้อปูนซีเมนต์จากไทยเพิ่มขึ้น แต่กว่าร้อยละ 99 ของการสั่งซื้อดังกล่าวเป็นปูนเม็ดซึ่งมีมูลค่าไม่สูงนัก ทำให้ภาพรวมมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ของไทยในเดือนนี้หดตัวลงกว่าร้อยละ 10 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 1 เท่านั้น
การผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนกรกฎาคมเนื่องจากยังคงมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ภาคก่อสร้างจึงชะลอตัว ส่งผลให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง
สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยก็อยู่ในช่วงฤดูฝนเช่นกัน ทำให้บริษัทผู้ผลิตวางแผนปรับลดปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลงตามแนวโน้มความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศและประเทศคู่ค้าที่ลดลง
ภาพรวมภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกรกฎาคม 2559 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.50 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.03 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเครื่องปรับอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการผลิต Other IC ที่ปรับตัวลดลง
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือน กรกฎาคม 2559 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 108.00 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 112.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.03 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่ง เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต พัดลม และเตาไมโครเวฟ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.02, 44.21, 8.73 และ 0.02 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปและเวียดนามได้ค่อนข้างมาก
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 105.02 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากการปรับตัวลดลงของ Other IC ลดลง ร้อยละ 4.12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ)
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกรกฎาคม 2559 มีมูลค่า 4,347.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.84 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 1,802.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 0.90, 2.67 และ 7.80 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นอาเซียน และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.44 และ 0.53 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับโดยสินค้าหลักที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออก 340.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.47 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.13, 56.39, 12.69, และ 11.52 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 9.69 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม มีมูลค่า 222.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.05 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.21, 7.74, 24.85 และ 10.97 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นจีน ลดลงร้อยละ 9.38 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,544.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.08 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 4.71, 5.68 และ 12.17 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ยกเว้นอาเซียน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.26 และ 13.49 เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อน โดยอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,356.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.09 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.67, 5.41 และ 18.92 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยกเว้น อาเซียนและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52 และ 13.95 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ รองลงมา คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 644.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักเกือบทุกตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.41, 11.41, 16.45 และ 8.54 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นจีน ลดลงร้อยละ 10.71 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม 2559 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.90 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.53 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าทางความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น เนื่องจากเครื่องปรับอากาศสามารถขยายตัวได้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหลัก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและอาเซียน สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 2.74 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊คลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--