สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2559 (เมษายน - มิถุนายน 2559)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 6, 2016 14:35 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่2ปี 2559ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็น การเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากผู้ประกอบการมีการขยายตลาดส่งออก ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อนผู้ประกอบการบางรายมีการปรับรุ่นรถยนต์ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีฐานที่ค่อนข้างต่ำ

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี2559 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 12 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 16,014.31 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3,665 คนในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการของบริษัท ไดเซล เซฟตี้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น GAS GENERANT เป็นต้นมีเงินลงทุน 941.00ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 103 คน 2) โครงการของMR. HUASHUN XIE ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตยางยานพาหนะมีเงินลงทุน 13,570.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 811 คน(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.มิ.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 486,506คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 410,711 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.45โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 206,902 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 270,879 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 8,725 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.93, 24.23และ 11.46 ตามลำดับสำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 282,882คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.14ของปริมาณการผลิตทั้งหมดโดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 117,351คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.49และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์165,531คันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.51 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 2.01โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ1 ตันและอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ8.44 และ 7.58ตามลำดับแต่มีการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.19

การจำหน่ายปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 (เม.ย.-มิ.ย.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 187,070 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 171,322 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.19โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 79,020 คันและรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 26,422 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ0.27 และ 19.08 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 71,197 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 10,431คัน ลดลงร้อยละ 9.92 และ 13.76 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.03 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.81 แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV(รวมรถยนต์ SUV) ลดลงร้อยละ 2.92, 4.36 และ 15.54 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 (เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 287,063 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 247,841 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.83โดยมีมูลค่าการส่งออก 176,086.76ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 117,801.55ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.48หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.73แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 7.66

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 มีมูลค่า5,646.02ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.41 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดิอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.66, 14.44 และ 7.59 ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดิอาระเบีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.43, 66.50 และ 1,097.98 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกรถแวนของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559มีมูลค่า 6.34 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ97.06 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวน ได้แก่ตรินิแดดและโตเบโก พม่าและกัมพูชาคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ35.56, 14.40 และ 6.08 ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกรถแวนไปตรินิแดดและโตเบโกและกัมพูชา ลดลงร้อยละ 41.93 และ 12.01 ตามลำดับ แต่มูลค่าการส่งออกรถแวนไปพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 258.60

มูลค่าการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 มีมูลค่า 3,077.55 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 35.94 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และนิวซีแลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 36.68, 7.34และ 6.37 ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และนิวซีแลนลดลงร้อยละ 16.73, 60.61 และ 22.29 ตามลำดับ

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.-มิ.ย.)มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 287.41และ88.47ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.57และ 6.35ตามลำดับหากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2559เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.67 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 63.23

มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 มีมูลค่า467.41 และ 329.07ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่ามูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 3.54แต่มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.86แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559ได้แก่เยอรมนี ญี่ปุ่น และมาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 31.91, 22.36และ 19.04 ตามลำดับโดยมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 16.02 และ 16.78 ตามลำดับแต่มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.18ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญได้แก่สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และจีน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 40.94, 13.34 และ 11.76 ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 20.83แต่มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากสิงคโปร์และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 353.40 และ 4.40ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากผู้ประกอบการมีการขยายตลาดส่งออก ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อนผู้ประกอบการบางรายมีการปรับรุ่นรถยนต์ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 มีฐานที่ค่อนข้างต่ำ

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่3 ของปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยข้อมูลการประมาณการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่รวบรวมจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์คาดว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2559จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 503,500 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50 สำหรับประมาณการของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2559 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.59 โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 900,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.55และเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,100,000 คัน ลดลงร้อยละ8.71

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.-มิ.ย.) มีจำนวน 424,017คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 433,564คัน ลดลงร้อยละ 2.20โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 305,924 คัน ลดลงร้อยละ 10.92 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 118,093 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ31.01 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 8.09 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 8.66 และ 6.58 ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.มิ.ย.) มีจำนวน 455,683 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 423,777 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.53หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.30

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.-มิ.ย.) จำนวน 212,313 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 68,711 คัน และ CKD จำนวน 143,602 ชุด)เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 234,840 คัน ลดลงร้อยละ 9.59 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 10,470.61 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า11,465.77ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.68 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 13.86 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 38.64

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559มีมูลค่า570.85 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ 15.06ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.02, 16.46 และ 10.73ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 9.21 แต่มูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 และ 0.84 ตามลำดับ

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2559มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 43.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 53.36 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 18.12 หากพิจารณาจาก ไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.84

มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559มีมูลค่า83.83ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 101.41 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 17.34เมื่อพิจารณาแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559ได้แก่อินโดนีเซียเวียดนาม และญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 38.56, 23.53และ 17.51 ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม ลดลงร้อยละ 53.98 แต่มูลค่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากอินโดนีเซียและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.24 และ 22.07ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559การผลิตรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการลดลงจากความต้องการของตลาดส่งออกอย่างไรก็ดีตลาดในประเทศมีการขยายตัวเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่3 ของปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยข้อมูลจากการคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ550,000 คันแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 80 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 20

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.-มิ.ย.) มีมูลค่า 44,801.69 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.53ส่วนการส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 12,478.15 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.01 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 7,875.42ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.77 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM)เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.26, 9.23และ 30.20 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559มีมูลค่า 3,990.23 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ0.92 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.11,10.16 และ 8.44 ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ5.68, 14.30 และ 20.13 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.-มิ.ย.)มีมูลค่า742.00 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.86การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 279.91 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 12.97หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.09 และ 10.82ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559มีมูลค่า 303.41 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ5.58 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่กัมพูชา อินโดนีเซียและเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ26.54, 9.43 และ 8.17 ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชาและเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ27.56 และ 1.94ตามลำดับแต่มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย

ลดลงร้อยละ 3.97 การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.-มิ.ย.) มีมูลค่า 2,480.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.99 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาส ที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79

มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559มีมูลค่า 4,848.11 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.53 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 37.18, 20.76 และ 6.68ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น จีนและสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.15, 37.23 และ 18.64 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์และรถจักรยานจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559(เม.ย.-มิ.ย.) มีมูลค่า135.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.07 หากพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ4.79

มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559มีมูลค่า 278.13ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ0.72 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ22.68, 21.14 และ 10.07 ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 7.20 แต่มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากจีน และไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.17 และ 7.90ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนมุ่งเป้าด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยตามที่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เสนอ โดยเป้าหมายของแผนงานวิจัยเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตประกอบ และพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศภายในปี 2564 ทั้งนี้แผนงานมุ่งเป้าด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า แบ่งเป็น 4 แผนงานวิจัย ดังนี้

1) แผนงานที่ 1 การวิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ ด้านแบตเตอรรีและระบบจัดการพลังงาน มีเป้าประสงค์เพื่อให้มีเทคโนโลยีและต้นแบบของแบตเตอรีที่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งองค์ความรู้ในการกำจัดและนำแบตเตอรีกลับมาใช้ใหม่ที่สามารถใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม

2) แผนงานที่ 2 การวิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ ด้านมอเตอร์และระบบขับเคลื่อน มีเป้าประสงค์เพื่อให้มีเทคโนโลยีและต้นแบบมอเตอร์และระบบขับเคลื่อนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทที่สามารถนำไปผลิตและประกอบในภาคอุตสาหกรรมได้จริง

3) แผนงานที่ 3 การวิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ ด้านโครงสร้างน้ำหนักเบาและ การประกอบ มีเป้าประสงค์เพื่อให้มีวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำโครงสร้างยานยนต์แบบน้ำหนักเบาและสามารถประกอบเป็นตัวรถในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

4) แผนงานที่ 4 การวิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนานโยบาย มาตรฐาน และบุคลากร มีเป้าประสงค์เพื่อให้มีนโยบาย มาตรฐานและบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

(ที่มา : www.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ