สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2559 (เมษายน - มิถุนายน 2559)(อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 6, 2016 14:42 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88 ส่วนมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 8.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2559 แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร โดยเฉพาะสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและจีน ที่มีผลต่อตลาดส่งออกของไทยประกอบกับปัจจัยของราคาน้ำมันดิบที่ยังคงผันผวน

การตลาด

การส่งออก

การส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,592.239 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 8.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88

1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าส่งออก 779.024 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 0.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 15.41 ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2559 ได้แก่เคมีภัณฑ์ อนินทรีย์ และ เคมีภัณฑ์อินทรีย์

1.1 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ มีมูลค่าการส่งออก 135.679 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 5.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.09 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 14.26 10.62 และ 9.55 ตามลำดับ

1.2 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่าส่งออก 425.675 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสไตรมาสแรกของปี 2559 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 27.98 โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์ คิดเป็นร้อยละ 31.03 9.80 8.80 และ 6.11 ตามลำดับ

2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าส่งออก 813.215 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 1.12 ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ได้แก่สารลดแรงตึงผิวและ เครื่องสำอาง

2.1 เครื่องสำอาง มีมูลค่าส่งออก 424.404 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 0.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 1.31 โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ สประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ และ ประเทศอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 21.05 11.60 และ 7.32 ตามลำดับ

การนำเข้า

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 3,302.699 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2559 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 10.15

1. เคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,936.576 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2559 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 12.16 ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2559 ประกอบด้วยเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด

1.1 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า 390.309 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 13.67 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศญี่ปุ่น คิดเป็น ร้อยละ 41.36 และ 11.89 ตามลำดับ

1.2 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า 789.079 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 15.17 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 24.22 และ 10.44 ตามลำดับ

1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มีมูลค่านำเข้า 757.188 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 7.93 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 25.33 16.20 และ 13.41 ตามลำดับ

2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่านำเข้า 1,366.121 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 7.14 โดยผลิตภัณฑ์ที่ทาให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2559 ประกอบด้วย ปุ๋ยเคมี สี เครื่องสำอาง และสารลดแรงตึงผิว

2.1 ปุ๋ยเคมี มีมูลค่านำเข้า 397.073 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 25.93 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศรัสเซีย ร้อยละ 17.72 15.67 และ 13.43 ตามลำดับ

2.2 สี มีมูลค่านำเข้า 361.761 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.65 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอินเดีย คิดเป็นร้อยละ 20.22 19.61 และ 6.56 ตามลำดับ

2.3 เครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 424.263 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.47 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสิงคโปร์ และประเทศสหรัฐอเมริกา คิดเป็น ร้อยละ 16.16 15.60 และ 11.92 ตามลำดับ

2.4 สารลดแรงตึงผิว มีมูลค่านำเข้า 183.024 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน คิดเป็นร้อยละ 20.22 14.61 และ 11.69 ตามลำดับ

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและแนวโน้ม

การส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,592.239 ล้านเหรียญสหรัฐฯผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด คิดเป็นประมาณร้อยละ 26.73 26.65 และ13.67 ตามลำดับ

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 3,302.699 ล้านเหรียญสหรัฐฯผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเครื่องสำอาง คิดเป็นประมาณร้อยละ 23.89 22.92 และ 12.84 ตามลำดับ

แนวโน้มปี 2559 คาดว่า สถานการณ์โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญยังคงชะลอตัว เช่น เศรษฐกิจของยุโรป จีน และญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้การส่งออกและนำเข้าเคมีภัณฑ์พื้นฐานของไทยชะลอตัวลงเช่นกัน

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ