อุตสาหกรรมการผลิตยาในภาพรวมยังอยู่ในภาวะชะลอตัวในขณะที่ตลาดยาในประเทศฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสก่อนผู้ประกอบการมียอดการสั่งซื้อยาเพิ่มขึ้นทั้งจากโรงพยาบาลและร้านขายยาสำหรับการส่งออกหดตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย สั่งซื้อยาจากไทยลดลงอย่างไรก็ตามอาเซียนยังคงเป็นตลาดหลักของผลิตภัณฑ์ยาของไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 57.71ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 72.60 ของมูลค่าการส่งออกยาป้องกันและรักษาโรคทั้งหมดของไทยในไตรมาสนี้
การผลิตยาในไตรมาสที่ 2ปี 2559 มีปริมาณรวม 9,216.11ตันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนขยายตัวร้อยละ 5.68ในขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หดตัวลงร้อยละ 0.32 ในภาพรวมอุตสาหกรรมการผลิตยายังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยมีปริมาณการผลิตยาเม็ด ยาน้ำ ยาฉีด ยาแคปซูล และยาครีม ลดลง ซึ่งการผลิตยาน้ำลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการถูกจำกัดปริมาณการจำหน่ายยาบางชนิดจึงต้องลดปริมาณการผลิตลง ประกอบกับผู้ประกอบการบางรายหันไปผลิตยาตัวอื่นที่ไม่ถูกจำกัดปริมาณการจำหน่ายแทนโดยยาดังกล่าวขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในส่วนของการผลิตยาเม็ด ยาแคปซูล และยาฉีดลดลงเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่บางรายย้ายสถานที่ตั้งโรงงานตั้งแต่ช่วงไตรมาสก่อนและยังไม่สามารถเดินเครื่องจักรได้เต็มที่ในไตรมาสนี้สำหรับการผลิตยาผงเพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่บางรายกลับมาเดินเครื่องจักรตามปกติหลังจากที่หยุดเดินเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงระบบการผลิตในช่วงไตรมาสที่ผ่านมานอกจากนี้ ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งยังกังวลกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจในประเทศและการปรับแก้กฎหมายเกี่ยวกับยาบางประการของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงยังไม่วางแผนเพิ่มปริมาณการผลิตมากนัก
การตลาดและการจำหน่าย
การจำหน่ายยาในไตรมาสที่ 2ปี 2559 มีปริมาณ 9,121.09 ตันหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.80จากการจำหน่ายยาน้ำ ยาแคปซูล และยาครีม ในขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ2.35โดยเฉพาะในส่วนของยาน้ำที่การจำหน่ายในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ผ่านมาเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่บางรายมียอดสั่งซื้อยาน้ำชนิดใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายในตลาดเพิ่มขึ้นมาก
การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคในไตรมาสที่ 2ปี 2559มีมูลค่า79.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.45 ในขณะที่ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.76ในภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์ยายังขยายตัวได้ เนื่องจากตลาดส่งออกในภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนามและลาวยังขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยตลาดส่งออกที่สำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา ญี่ปุ่น และลาว ตามลำดับ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวม51.70ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ65.04ของมูลค่าการส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด
การนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคในไตรมาสที่ 2ปี 2559 มีมูลค่า 410.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯขยายตัวจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.66และร้อยละ6.48 ตามลำดับเนื่องจากตลาดยาในประเทศเริ่มมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีตั้งแต่ไตรมาสที่ผ่านมาโดยตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสอิตาลี และอินเดีย ตามลำดับ ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้ารวม 188.36ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 45.92 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด
สรุปและแนวโน้ม
ปริมาณการผลิตยารักษาและป้องกันโรคในไตรมาสที่ 2 ปี 2559เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหดตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากมีปริมาณการผลิตยาเกือบทุกชนิดลดลง ยกเว้นในส่วนของยาผงสำหรับปริมาณการจำหน่ายยาในประเทศขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะในส่วนของยาน้ำที่ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาในภาพรวมอุตสาหกรรมยาในไตรมาสนี้ไม่ขยายตัวมากนักเนื่องจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจในประเทศและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับยาบางประการของภาครัฐ
ในส่วนของมูลค่าการส่งออกยาในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดเวียดนามและญี่ปุ่นซึ่งมีแนวโน้มเติบโตที่ดี สำหรับมูลค่าการนำเข้ายาในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากตลาดยาในประเทศมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี
ปริมาณการผลิตยารักษาหรือป้องกันโรคในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 คาดว่ามีแนวโน้มหดตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายเกี่ยวกับยาบางประการที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยและความไม่ชัดเจนของนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยาในประเทศจากการที่มีการส่งคืน (ร่าง) พระราชบัญญัติยาพ.ศ. .... ให้กระทรวงสาธารณสุขนำไปทบทวนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อยุติก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมาในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายยารักษาหรือป้องกันโรคในประเทศคาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีทิศทางการฟื้นตัวที่ดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและไตรมาสที่ 3 เป็นช่วงที่โรงพยาบาลของรัฐเร่งสั่งซื้อยาเพื่อให้ทันสิ้นปีงบประมาณ
สำหรับการส่งออกคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยาของไทยได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าทั่วโลกและผู้ประกอบการไทยมีความสะดวกในการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาไปยังต่างประเทศมากขึ้นจากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้รับการรับรองเป็นสมาชิก PlC/S ลำดับที่ 49ซึ่งมีผลเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--