ภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 3,452.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.11 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากราคาทองคำเฉลี่ยในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาลดลง ร้อยละ 5.33 เนื่องจากการส่งออกลดลงในกลุ่มอัญมณีหลายรายการ เช่น เพชร พลอย ไข่มุก และกลุ่มเครื่องประดับแท้ และทองคำ สำหรับการส่งออกอัญมณีและครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) มีมูลค่า 1,636.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 47.40 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมโดยมูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคำลดลงร้อยละ 6.14 และ 17.42 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาส 2 ปี 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 1) พบว่าดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 11.28 เนื่องจากมีช่วงวันหยุดยาวในเดือนเมษายนประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวส่วนดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่าย และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ลดลงเช่นกัน อยู่ที่ร้อยละ 9.53 และ 14.85 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลง ร้อยละ 13.30 สำหรับดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่าย และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง เปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน โดยลดลง ร้อยละ 15.30 และ 30.17 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อลดลงและผู้ประกอบการเน้นการส่งออกสินค้าในสต๊อกเพื่อทดแทนการผลิตสินค้าใหม่บางรายการ
ไตรมาส 2 ปี 2559 มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการใหม่ จำนวน 6 โรงงาน คิดเป็นเงินลงทุนรวมประมาณ 212.35 ล้านบาท เป็นโรงงานผลิตเครื่องประดับ 4 ราย โรงงานผลิตเครื่องใช้ทำด้วยโลหะมีค่า 1 ราย และโรงงานผลิตดวงตรา หรือเหรียญตรา 1 ราย ขณะที่มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ขยายกิจการ จำนวน 1 โรงงาน เพื่อผลิตเครื่องประดับอัญมณี คิดเป็นเงินลงทุน 5 ล้านบาท โดยในช่วงไตรมาสนี้ ไม่มีผู้ประกอบการรายใดขอยกเลิกการประกอบกิจการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
การตลาด
การค้าระหว่างประเทศ
ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2559 (ตารางที่ 2) การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) มีมูลค่า 1,636.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 6.14 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการส่งออกลดลงของเพชร พลอย เครื่องประดับแท้ทาด้วยเงินและทอง และโลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลงเช่นกัน ร้อยละ 17.42 เนื่องจากมีการส่งออกวัตถุดิบอัญมณี อาทิ เพชร พลอย และไข่มุก ลดลง ร้อยละ 7.88 36.76 และ 24.40 ตามลำดับ รวมถึงเครื่องประดับแท้ และอัญมณีสังเคราะห์ ที่มีมูลค่าการส่งออก ลดลง ร้อยละ 18.60 และ 2.96 ตามลำดับ แต่หากรวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้มูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.11 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง ร้อยละ 26.88 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกสำคัญ ๆ ได้แก่
1. อัญมณี ไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 670.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 3.17 และ 20.85 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ จากการส่งออกเพชร และพลอยที่ลดลง ซึ่งมีการส่งออกผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญ ดังนี้
1.1 เพชรไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 425.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 3.32 และ 7.88 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ จากมูลค่าการส่งออกในตลาดหลัก ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยียม อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ลดลง
1.2 พลอยไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 236.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 5.24 และ 36.76 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 811.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 9.09 และ 18.60 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนหันไปเลือกใส่เครื่องประดับเทียม หรือ Costume jewelry ทดแทนเครื่องประดับแท้ที่มีราคาสูงมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมี ดังนี้
2.1 เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 345.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 13.15 และ 13.28 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมาตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับแท้ทำด้วยทองไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 413.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 6.10 และ 22.85 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและ ไตรมาสที่ผ่านมาตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียมไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 97.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.62 และ 20.10 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมาตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่อยากสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงามในราคาที่สามารถซื้อหาได้ ทดแทนเครื่องประดับแท้ ส่งผลให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสำคัญได้แก่ลิกเตนสไตน์ สิงคโปร์ เยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร
4. อัญมณีสังเคราะห์ไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 32.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.72 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแต่ลดลง ร้อยละ 2.96 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 1,816.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ร้อยละ 113.59 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากราคาทองคำเฉลี่ยในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อน โดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาส จากเหตุการณ์ขอแยกตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนจากการถือครองอสังหาริมทรัพย์และตราสารหนี้มาเป็นการถือครองทองคำแทนแต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาลดลง ร้อยละ 33.72 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดสำคัญลดลงอาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ กัมพูชา และ สปป.ลาว จากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น การนำเข้า
ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2559 (ตารางที่ 3) การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคายังไม่ขึ้นรูป) มีมูลค่า 643.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 20.71 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าลดลงของเพชร พลอย เงิน แพลทินัม และเครื่องประดับแท้ และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาลดลง ร้อยละ 20.37 จากการนำเข้าลดลงของเพชร พลอย ไข่มุกแพลทินัม และเครื่องประดับแท้ แต่หากรวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้มูลค่าการนำเข้าในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.30 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง ร้อยละ 13.92 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยผลิตภัณฑ์นำเข้าสำคัญ ๆ ได้แก่
1. เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคาไตรมาส 2 ปี 2559 ภาพรวมการนำเข้ามีมูลค่า 1,504.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.70 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลง ร้อยละ 9.85 โดยการนำเข้าประกอบด้วยวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่
1.1 เพชรไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการนำเข้า 194.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 9.43 และ 25.56 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ
1.2 พลอยไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการนำเข้า 60.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 20.49 และ 54.51 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ
1.3 ทองคาไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการนำเข้า 984.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.28 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาลดลง ร้อยละ 9.11 เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกในช่วงปลายไตรมาสนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการถือครองลดลง
1.4 เงินไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการนำเข้า 124.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 14.24 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.29
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการนำเข้า 87.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ร้อยละ 224.22 และ 314.45 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ เนื่องจากราคาต่อหน่วยที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับมีความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าต่าง ๆ มากขึ้น โดยตลาดนำเข้าสำคัญ อาทิ กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง
2. เครื่องประดับอัญมณีไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 124.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 17.98 และ 44.35 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสที่ผ่านมาตามลำดับ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการนำเข้า 99.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 28.75 และ 51.87 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมาตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังชะลอตัว
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียมไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่าการนำเข้า 25.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 99.73 และ 42.56 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากมีความต้องการเครื่องประดับประเภท Costume jewelry เพื่อสวมใส่ทดแทนเครื่องประดับอัญมณีแท้มากขึ้น
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ดำเนินกลยุทธ์เร่งด่วนเพื่อพัฒนา SMEs ไทยให้พร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนรองรับฐานผู้บริโภคประมาณ 600 ล้านคนทั่วอาเซียน โดยจะดำเนินงาน 3 โครงการหลัก ได้แก่ (1) โครงการเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมในการเข้าสู่ AEC ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมรองรับ AEC การพัฒนาบุคลากร การปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถเชิงรุกสู่ตลาด AEC รวมทั้งนำผู้ประกอบการไปเจรจาธุรกิจและทดลองตลาดในประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน และอาเซียน+3 (2) โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย โดยมุ่งผลักดัน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ ผ่านกิจกรรมสำคัญ อาทิ การพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคและการจัดการ การพัฒนานักออกแบบ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น การสร้างกลุ่มเครือข่ายย่านธุรกิจแฟชั่น และการเพิ่มประสิทธิภาพตลอดสายกระบวนการผลิต และ (3) โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยสู่การเป็นเถ้าแก่ใหม่มุ่งเน้นการสร้างผู้ประกอบการให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจและดำเนินธุรกิจให้เติบโตและเข้มแข็งโดยตั้งเป้าสร้างผู้ประกอบการใหม่ จำนวน 1,890 ราย/ปี
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2559 ภาคการผลิตและการจำหน่ายเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปรับตัวลดลง ร้อยละ 13.30 และ 15.30 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมีช่วงวันหยุดยาวในเดือนเมษายนและผู้ประกอบการเน้นการระบายสต๊อกแทนการผลิตสินค้าใหม่บางรายการ
ด้านการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ลดลง ร้อยละ 6.14 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกลดลงของกลุ่มวัตถุดิบอัญมณีหลายรายการ และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลงเช่นกัน ร้อยละ 17.42 เนื่องจากมีการส่งออกวัตถุดิบอัญมณี อาทิ เพชร พลอย และไข่มุก ลดลง ร้อยละ 7.88 36.76 และ 24.40 ตามลำดับ โดยเฉพาะในตลาดหลัก อาทิ ฮ่องกง เบลเยียม อินเดีย สหรัฐอเมริกา (พลอย) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เพชร) และสวิตเซอร์แลนด์ (พลอย) รวมถึงเครื่องประดับแท้ และอัญมณีสังเคราะห์ ที่มีมูลค่าการส่งออก ลดลง ร้อยละ 18.60 และ 2.96 ตามลำดับ แต่หากรวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้มูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.11 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแต่ลดลง ร้อยละ 26.88 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
ด้านการนำเข้า (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ลดลง ร้อยละ 20.71 เมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาส เดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าลดลงของเพชร พลอย เงิน แพลทินัม และเครื่องประดับแท้ และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาลดลง ร้อยละ 20.37 จากการนำเข้าลดลงของเพชร พลอย ไข่มุก แพลทินัม และเครื่องประดับแท้ แต่หากรวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้มูลค่าการนำเข้าในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.30 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแต่ลดลง ร้อยละ 13.92 เมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา
แนวโน้มการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2559 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลวันแม่และผลิตทดแทนสต๊อกสินค้าเดิมที่นาออกจำหน่ายในช่วงที่ผ่านมา
แนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2559 (ไม่รวมทองคำ ยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะขยายตัว จากความต้องการบริโภคเครื่องประดับแท้ที่เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดสำคัญ อย่างไรก็ตามยังคงมีผลกระทบทางเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป ภายหลังการประกาศของสหราชอาณาจักรที่ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป สำหรับแนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม คาดว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ตามทิศทางการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาทองคำในตลาดโลกเฉลี่ยที่คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
แนวโน้มการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2559 (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น เพชร พลอย ไข่มุกเงิน แพลทินัม รวมถึงเครื่องประดับอัญมณีแท้ เพื่อทดแทนการผลิตและจำหน่ายในช่วงวันแม่ และเพื่อรองรับคำสั่งซื้อในช่วงปลายปี สำหรับทองคำยังไม่ขึ้นรูปคาดว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการทองคำในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้มีการนำเข้าทองคำเพื่อเก็งกำไรเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--