ภาพรวมเศรษฐกิจโลก
ในไตรมาส 3 ปี 2559 เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังไม่มีเสถียรภาพการส่งออกในหลาย ๆ ประเทศหดตัว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น อัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ 43.4 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ 49.9 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคามีแนวโน้มลดลง โดยราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม (ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559) อยู่ที่ 44.07 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากวันก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่ม OPEC ยังไม่สามารถตกลงเรื่องการปรับลดปริมาณการผลิต อีกทั้งจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯในเดือนกันยายนมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2559 ยังคงขยายตัว อันเนื่องมาจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัว การจ้างงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯในไตรมาส 3 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 100.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 103.6 เท่ากับไตรมาส 3 ปี 2558
การส่งออกและนำเข้า การส่งออก ไตรมาส 3 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 2.2 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 8.1 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 2.3 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 5.1
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 0.1 อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.2 อัตราการว่างงานมีการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.25 ทั้งนี้มีแนวโน้มว่า Fed อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนธันวาคม
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ปี 2559 ยังคงขยายตัว เป็นผลมาจากมูลค่าการค้าปลีกและการลงทุนในสินทรัพย์ขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.7 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 10.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.7 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 3 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 8.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 105.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.7
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2559 ขยายตัว ร้อยละ 6.1 เท่ากับไตรมาส 3 ปี 2558
การส่งออกและนำเข้า การส่งออก ไตรมาส 3 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 6.7 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 5.9 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 4.7 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 14.4
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 เท่ากับไตรมาส 3 ของปี 2558 อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 เท่ากับไตรมาส 3 ปี 2558
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People,s Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 4.35 ธนาคารกลางจีนยังคงดำเนินนโยบายซื้อขายหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของทางการ (open market operation) ที่หลากหลาย เพื่อควบคุมสภาพคล่องในตลาด
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2559 ขยายตัวเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชน และในไตรมาส 3 ปี 2559 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 2 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 3.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 43.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.8
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 97.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 97.1
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 3 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 10.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 19.5 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 5.9
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2559 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.1 อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ -0.1 นอกจากนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีการปรับเป้าหมายด้านนโยบายโดยการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยกำหนดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 0 แทนการซื้อสินทรัพย์จำนวนมาก เพื่อยกระดับนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างยั่งยืน
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปไตรมาส 2 ปี 2559 ยังคงขยายตัว จากการบริโภคที่ขยายตัว อัตราการว่างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับสูงและไตรมาส 3 ปี 2559 เศรษฐกิจสหภาพยุโรปคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 การบริโภคไตรมาส 2 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 1.8 เท่ากับไตรมาส 2 ของปี 2558
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 108.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 106.5 สำหรับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 107.2 และ 108.7 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 4.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.7 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมหดตัวร้อยละ 12.2 และ 3.3 ตามลำดับ การนำเข้า ไตรมาส 2 ปี 2559 หดตัวร้อยละ 3.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 7.5 และเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 7.5
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.1 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.0 อัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้น
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 และธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มที่จะขยายระยะเวลาการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคมปี 2560
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย
เศรษฐกิจฮ่องกง ในไตรมาส 2 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.7 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากการบริโภคภาครัฐ และภาคเอกชนที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง ขณะที่ภาคการส่งออกขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงในไตรมาส 2 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.7 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากการบริโภคภาครัฐและภาคเอกชนที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง รวมถึงการลงทุนรวมที่หดตัวลงร้อยละ 4.9 ตามการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่หดตัวร้อยละ 11.3 ขณะที่ภาคการส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ขยายตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 92.9 หดตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.3 จากการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และการผลิตกระดาษและสิ่งพิมพ์ที่หดตัวลง
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 3 ปี 2559 มีมูลค่า 136,745 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 1.7 การส่งออกของฮ่องกงกลับมาขยายตัว 2 ไตรมาสติดต่อกันหลังจากหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2558 จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นร้อยละ 56.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) และอินเดีย ซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.6 และ 10.5 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ยังคงหดตัวร้อยละ 2.2 และ 5.4 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2559 มีมูลค่า 142,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 0.2 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 5.0 ภาพรวมการค้าฮ่องกงขาดดุลการค้า 5,421 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ฮ่องกงเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากราคาอาหาร และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.3 อัตราการว่างงานของฮ่องกงยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำอย่างไรก็ตามความต้องการแรงงานในอนาคตมีแนวโน้มลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการแรงงานในภาคการท่องเที่ยวและภาคการค้า
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 3 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคภาครัฐและภาคเอกชนที่ขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในไตรมาส 3 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องรวมถึงการบริโภคภาครัฐและภาคเอกชนที่ขยายตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 106.3 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 105.7
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 3 ปี 2559 มีมูลค่า 121,886 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งหดตัวร้อยละ 9.5 การส่งออกของเกาหลีใต้หดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2558 จากการส่งออกไปตลาดสำคัญอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นร้อยละ 25.8 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) หดตัวร้อยละ 7.9 ขณะที่การส่งออกไป สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.8 ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 3 ปี 2559 มีมูลค่า 102,353 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.2 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 18.7 ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้เกินดุลการค้า 19,533 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.25 (ภายหลังจากเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิมร้อยละ 1.50 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาและทางด้านการเงิน) เนื่องจากคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวถึงแม้ว่าอาจจะมีปัจจัยเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐฯความไม่แน่นอนจากการที่อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากประเทศเศรษฐกิจใหม่
เศรษฐกิจสิงคโปร์ ในไตรมาส 3 ปี 2559 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการผลิตและภาคการบริการหดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาส 3 ปี 2559 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 อย่างไรก็ตามภาคการผลิต และภาคการบริการหดตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 100.8 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.5
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 84,386 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.8 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 15.9 โดยการส่งออกไปตลาดหลักหดตัวในหลายตลาดอาทิ จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย หดตัวร้อยละ 17.2 16.0 และ 3.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกไปยังฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 3.8 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 9.9 ขณะที่การส่งออกในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 6.1 ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 71,825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.7 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 18.9 สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 11.6 ขณะที่การส่งออกในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 2.5 ภาพรวมการค้าในช่วงกรกฎาคม และสิงหาคม 2559 สิงคโปร์เกินดุลการค้า 22,363 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2559 ติดลบร้อยละ 0.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ติดลบร้อยละ 0.8 ทั้งนี้สิงคโปร์เผชิญภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2557 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2559 ติดลบร้อยละ 0.2 จากราคาเครื่องนุ่งห่ม ราคาเชื้อเพลิง ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย รวมถึงราคาค่าขนส่งที่ยังคงปรับตัวลดลง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0
เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากการบริโภคของภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในไตรมาส 3 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 เศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศจากการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการส่งออกหดตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 132.4 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 128.5 ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2559 อยู่ที่ระดับ 132.8 และ 133.1 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 3 ปี 2559 มีมูลค่า 34,793 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 16.2 การส่งออกหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2557 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2559 มีมูลค่า 32,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 23.4 ภาพรวมการค้าอินโดนีเซียเกินดุลการค้า 2,094 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.1 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 จากราคาอาหารและสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 19-20 ตุลาคม 2559 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากเดิมร้อยละ 5.00 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ภายหลังจากเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2559 มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิมร้อยละ 5.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.00 เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจท่ามกลางการปรับตัวลดลงของอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาแล้วทั้งหมด 6 ครั้งในปีนี้
เศรษฐกิจมาเลเซีย ในไตรมาส 2 ปี 255 9 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.0เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุปสงค์ภายในประเทศ การใช้จ่ายของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น รวมทั้งดุลการค้าเกินดุล
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 2 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 โดยการบริโภคภายในประเทศรวมทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาคบริการหดตัวถึงแม้ในส่วนของการส่งออกและนำเข้าจะหดตัวลงแต่มูลค่าการส่งออกยังคงมากกว่ามูลค่าการ นำเข้าอยู่
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 125.3 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่อยู่ที่ระดับ 120.9 โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ในส่วนของการทำเหมืองแร่และเหมืองหินขยายตัวร้อยละ 1.9 ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2559 อยู่ที่ระดับ 125.9 และ 124.7 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 46,886 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.2 หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 14.9 จากตลาดส่งออกสำคัญที่มีการหดตัว ได้แก่ สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย และฮ่องกง ที่หดตัวร้อยละ 1.4 16.1 23.8 14.6 และ 6.1 ตามลำดับ ส่วนตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้แก่สหรัฐอเมริกาและเวียดนาม ขยายตัวร้อยละ 7.2 และ 44.3 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวร้อยละ 10.5 ด้านการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 42,396 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 สำหรับการนำเข้าเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวร้อยละ 9.8 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 2 ปี 2559 มาเลเซียเกินดุลการค้า 4,490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 ปี 2559 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPl) อยู่ที่ระดับ 115.3 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2559 ที่อยู่ที่ระดับ 114.6 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ขยายตัวร้อยละ 3.4 ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนค่าไฟฟ้าและเชื้อเพลิงขยายตัวร้อยละ 2.2 ค่าใช้จ่ายในสินค้าและบริการ ขยายตัวร้อยละ 2.2 ส่วนค่าใช้จ่ายด้านการคมนาคมขนส่งหดตัวร้อยละ 7.7
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2559 ธนาคารกลางมาเลเซียมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.00 โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นการปรับลดเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ตั้งแต่ปี 2552 ของธนาคารกลางมาเลเซีย เนื่องจากธนาคารกลางกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ปัญหาการส่งออกที่ซบเซา ผลกระทบจากการที่อังกฤษแยกตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit)
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 2 ปี 255 9 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.7เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน การใช้จ่ายของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 2 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 7.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 การใช้จ่ายของภาครัฐขยายตัวร้อยละ 12.6 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.7 ในขณะที่ภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 2.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 178.1 ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบไตรมาส 2 ปี 2558 ที่อยู่ที่ระดับ 169.5 โดยดัชนีฯในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2559 อยู่ที่ระดับ 184.8 และ 189.1 ตามลำดับ ขยายตัวร้อยละ 6.6 และ หดตัวร้อยละ 8.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 13,723 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญหดตัวได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเยอรมันนี่ ที่หดตัวร้อยละ 11.3 9.6 และ 10.0 ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดสิงคโปร์ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 20,149 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 34.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 โดยนำเข้าหลักจากประเทศจีน ญี่ปุ่น ไทย สิงคโปร์และเกาหลีใต้ ที่ขยายตัวร้อยละ 68.5 80.4 98.2 26.0 และ 31.8 ตามลำดับ ภาพรวมการค้าในไตรมาส 2 ปี 2559 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 6,426 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 ปี 2559 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPl) อยู่ที่ระดับ 144.4 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2558 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ ขยายตัวร้อยละ 2.7 ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 2.6 ส่วนค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เช่น ไฟฟ้าและประปาขยายตัว ร้อยละ 0.3
สถานการณ์ด้านการเงินธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 4.0 โดยขณะนี้ธนาคารกลางฯคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.0 มาตั้งแต่ ต.ค. 2557
เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 2 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 เป็นผลมาจากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวลดลง
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดียในไตรมาส 2 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 เป็นผลมาจากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาลการใช้จ่ายของภาครัฐและภาคครัวเรือนที่ขยายตัวลดลง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 180.1 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบไตรมาส 2 ปี 2558 ที่อยู่ที่ระดับ 179.0 โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 และ 9.0 ตามลำดับ ส่วนภาคการผลิตอาหารและเครื่องดื่มลดลง
การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 65,707 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบไตรมาส 2 ปี 2558 โดยตลาดสำคัญยังคงมีการขยายตัวได้แก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และฮ่องกง ที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 และ 6.8 ตามลำดับ ในขณะที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และจีน หดตัวร้อยละ 1.8 1.5
0.6 และ 13.8 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวร้อยละ 7.7 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2559 มีมูลค่า 84,530 ล้านเหรียญสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบไตรมาส 2 ปี 2558 สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวร้อยละ 19.0 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 2 ปี 2559 อินเดียขาดดุลการค้า 18,824 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2559 ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 131.0 ขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบไตรมาส 3 ปี 2558 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่มค่าไฟฟ้าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายภายในบ้านขยายตัวร้อยละ 5.8 5.1 2.7 และ 5.2 ตามลำดับ
สถานการณ์ด้านการเงิน ตุลาคม 2559 ธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 6.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.25 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--