สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2559 (กรกฎาคม – กันยายน 2559)(เศรษฐกิจไทย)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 26, 2016 16:44 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 และขยายตัวจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยปัจจัยที่ทำให้ขยายตัวจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 คือ การปรับตัวดีขึ้นของการผลิตในภาคเกษตรเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งเริ่มผ่อนคลายและราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นภาคนอกเกษตรขยายตัวตามการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว สาขาก่อสร้างขยายตัวดีต่อเนื่องตามการขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐ ส่วนภาคบริการต่าง ๆ ยังคงขยายตัวได้ดี

ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.0 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 0.2 และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 0.2 การที่ GDP สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ) ยาสูบ และยานยนต์ เป็นต้น

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 3.0-3.5 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8

สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 พบว่ายังมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2558 เช่นดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ (1) การผลิตเครื่องปรับอากาศ (2) การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ และ (3) การผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ได้แก่ (1) การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ (2) การผลิตยานยนต์ และ (3) การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น ส่วนมูลค่าการส่งออกในภาพรวมหดตัวร้อยละ 0.7 (ม.ค.- ก.ย.59) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ (1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (2) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ (3) อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 การลงทุนภาคเอกชนลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2558 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production lndex : MPl) (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 106.1 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (106.7) ร้อยละ 0.6 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 (106.6) ร้อยละ 0.5 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ (1) การผลิตเครื่องปรับอากาศ (2) การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ และ (3) การผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้

ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ได้แก่ (1) การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ (2) การผลิตยานยนต์ และ (3) การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนของปี 2559 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ขยายตัวร้อยละ 0.06) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีขยายตัว ได้แก่ (1) การผลิตเครื่องปรับอากาศ (2) การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้อง และ (3) การผลิตสตาร์ชและผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment lndex) แสดงทิศทางของระดับการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 106.9 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (109.6) ร้อยละ 2.4 แต่ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2558 (106.6) ร้อยละ 0.4

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ (1) การผลิตเครื่องปรับอากาศ (2) การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ และ (3) การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ได้แก่ (1) การผลิตเครื่องปรับอากาศ (2) การผลิตเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นมูลฐาน และ(3) การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนของปี 2559 ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 1.4 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัวได้แก่ (1) การผลิตเครื่องปรับอากาศ (2) การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และ (3) การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods lnventory lndex) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 111.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (110.0) ร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 (109.5) ร้อยละ 1.5

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ (1) การผลิตเครื่องปรับอากาศ (2) การผลิตยานยนต์ และ (3) การผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมันจากสัตว์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ได้แก่ (1) การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานยนต์ (2) การผลิตเครื่องปรับอากาศ และ (3) การผลิตสบู่และผงซักฟอก เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนของปี 2559 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 0.3 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) การผลิตสบู่และผงซักฟอก (2) การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และ (3) การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตเต็มที่ (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 64.0 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 64.6) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 (ร้อยละ 65.3)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ (1) การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ (2) การผลิตเครื่องปรับอากาศ และ (3) การผลิตผลไม้ และผักกระป๋อง เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ได้แก่ (1) การผลิตยานยนต์ (2) การผลิตเครื่องปรับอากาศ และ (3) การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ เป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนของปี 2559 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 0.7 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ (1) การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ (2) การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และ (3) การผลิตส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเฉลี่ยมีค่า 73.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (72.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 (72.6) โดยหากพิจารณาค่าของดัชนีย่อย ซึ่งประกอบด้วย ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำเฉลี่ย และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเฉลี่ย (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ทั้ง 3 ดัชนีมีค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งจากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง

เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละดัชนีพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีค่า 62.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (61.1) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 (61.8) แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความผันผวน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีค่า 67.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสผ่านมา (67.4) แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวการณ์จ้างงานโดยรวมยังไม่ดี

ดัชนีความเชื่อมั่นในผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีค่า 89.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (88.4) และยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แม้ว่าผู้บริโภคยังคงกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตแต่ระดับความเชื่อมั่นยังสูงกว่าความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจและโอกาสหางานทา

จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีค่าเท่ากับ 49.2 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (50.0) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 (46.7) โดยในไตรมาส 3 ของปี 2558 ดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่า 50 แสดงว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจไม่ดี ผู้ประกอบการมองว่าภาวการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มที่ไม่ดีสำหรับค่าดัชนีย่อยที่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ ผลประกอบการ คำสั่งซื้อทั้งหมด การจ้างงาน และการผลิต

ในช่วง 9 เดือนของปี 2559 ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ผลประกอบการ คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุน และการผลิต

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)

จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 84.3 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (85.6) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 (82.7) การที่ค่าดัชนียังอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นว่าภาวการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีอย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นเป็นรายเดือน ดัชนีในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ระดับ 84.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 83.3 ในเดือนสิงหาคม 2559 แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 โดยค่าดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่ามีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศและทำความเย็น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ อุตสาหกรรมอาหารและยา โดยเฉพาะอาหารทะเลแปรรูป นอกจากนี้ในเดือนกันยายนยังมีการจัดงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair 2016 และงาน Moblie Expo 2016 ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนียังต่ำกว่าระดับ 100 เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกระทบต่อการแข่งขันของผู้ประกอบการส่งออก การปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ และความกังวลต่อปัญหาการก่อการร้าย ซึ่งผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่ (1) เร่งแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ (2) แก้ไขปัญหาผังเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม (3) ผ่อนปรนเงื่อนไขการขอสินเชื่อเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น (4) ยกระดับผลิตภาพแรงงานให้ตรงตามความต้องการภาคอุตสาหกรรม และ (5) จัดตั้งศูนย์การะจายสินค้าในประเทศเพื่อนบ้านและอำนวยความสะดวกการค้าชายแดนด้านการขนส่งสินค้าให้มีความคล่องตัวขึ้น

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
          ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic lndex : LEl) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้าปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ระดับ 158.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2559        ร้อยละ 0.95 ที่ระดับ 157.0 ตามการขยายตัวของเงินทุนจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและการส่งออก ณ ราคาคงที่

สำหรับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีค่าเฉลี่ย 157.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่าเฉลี่ย 155.3

ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ

ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic lndex : CEl) จัดทาโดยธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ระดับ 128.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคม 2559 ร้อยละ 0.4 ที่ระดับ 128.0 ตามการขยายตัวของการนำเข้า ณ ราคาคงที่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่

ดัชนีพ้องเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีค่าเฉลี่ย 128.2 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่าเฉลี่ย 128.4

การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 5) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีค่า 118.1 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ระดับ 118.2 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ที่ระดับ 113.9 ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาคือ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าในทุกประเภทกิจการยกเว้นกิจการขนาดใหญ่ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันดีเซล ปริมาณการจำหน่ายโซดาและน้ำดื่มบริสุทธิ์ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถจักรยานยนต์

การลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ และการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ พบว่า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมมีค่า 123.8 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ระดับ 124.4 และไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ที่ระดับ 124.2

หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศและปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2558

ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558

การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558

ภาวะราคาสินค้า

จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิต โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ พบว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าเท่ากับ 106.7 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ระดับ 106.8 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ที่ระดับ 106.4 การที่ราคาผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลจากการลดลงของราคาอาหารและเครื่องดื่ม ข้าว ผลิตภัณฑ์จากแป้ง นมและผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ รวมทั้งกลุ่มอาหารสดและพลังงาน

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีค่าเท่ากับ 101.9 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ระดับ 102.1 และไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ที่ระดับ 102.5 โดยราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ส่วนราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีค่าคงที่จากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558

แรงงานในภาคอุตสาหกรรม

จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สามของปี 2559 (ข้อมูลเดือนกันยายน2559) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 38.278 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 37.871 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.94 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.33 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.87)

สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่สามของปี 2559 มีจำนวน 6.274 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 16.57 ของผู้มีงานทำทั้งหมด

การค้าต่างประเทศ

มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวประกอบกับเริ่มมีสัญญานบวกจากสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้น สำหรับดุลการค้าในไตรมาสที่ 3 นี้ เกินดุลการค้าเป็นมูลค่า 5,516.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สถานการณ์การค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากมูลค่าการส่งออกขยายตัวขึ้นร้อยละ 1.14 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่การนำเข้ายังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเข้ามีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.21 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าทั้งสิ้น 105,144.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 55,330.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 49,814.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 นั้นมูลค่าการส่งออกและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.84 และร้อยละ 5.80 ตามลำดับ สำหรับดุลการค้าในไตรมาสที่ 3 นี้ อยู่ในสภาวะเกินดุลการค้า โดยมีมูลค่า 5,516.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนสิงหาคมและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนกันยายน โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่า 17,045.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อมาในเดือนสิงหาคมการส่งออกมีมูลค่า 18,824.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และการส่งออกในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 19,460.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 44,654.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็น ร้อยละ 80.71) ซึ่งเป็นหมวดสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด รองลงมาคือสินค้าเกษตรกรรม 4,605.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.32) สินค้าอุตสาหกรรม การเกษตร 4,219.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.63) และสินค้าแร่และเชื้อ เพลิงมีมูลค่าการส่งออก 1,851.2 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.35)

เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะพบว่าการ ส่งออกในหมวดสินค้าสำคัญส่วนใหญ่มีมูลค่าลดลง ยกเว้นการส่งออกในหมวดสินค้า อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 สำ หรับการส่งออกสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ยังคงมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 นี้มีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.8 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าลดลงร้อยละ 7.1 และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร มีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.2

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.33 เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม 10 รายการหลัก ได้แก่ สินค้ายานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบมีมูลค่าการส่งออก 8,684.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 19.45 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 8,646.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 19.36) เครื่องใช้ไฟฟ้า 5,575.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็น ร้อยละ 12.49) อัญมณี และเครื่องประดับ 3,480.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.79) เม็ดพลาสติก 1,923.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.31) ผลิตภัณฑ์ยาง 1,732.3 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.88) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง 1,690.1 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.78) สิ่งทอ 1,635.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.66) เคมีภัณฑ์ 1,507.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.38) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์มี มูลค่าการส่งออก 1,493.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.34) โดยมูลค่าการส่งออกทั้ง 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 36,369.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 81.45 ของมูลค่าการ ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด

ตลาดส่งออก

การส่งออกไปยังตลาดหลักใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 ซึ่งได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นมีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 66.9 ของการส่งออกทั้ง หมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ยกเว้นการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศจีนที่มีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.04 และ 0.38 สำหรับการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.03 ส่วนการส่งออกไปยังสหภาพ ยุโรปและประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.18 และ 0.44 ตามลำดับ

โครงสร้างการนำเข้า

การนำ เข้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า19,716.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 39.58) รองลงมาเป็นการนำเข้าสินค้าทุน โดย มีมูลค่า 14,459.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็น ร้อยละ 29.03) สินค้าเชื้อเพลิง 6,427.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 12.90) สินค้า อุปโภคบริโภค 5,628.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเ ป็นร้อยละ 11.30) สินค้าหมวด ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง 3,514.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.06) และ สินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่นๆ 67.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.13)

โดยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อน พบว่าการนำเข้าสินค้าในหมวดสำคัญส่วนใหญ่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ยกเว้นการนำเข้าสินค้า เชื้อเพลิงมีมูลค่าลดลงร้อยละ 14.16 เป็นผลจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.53 สำหรับสินค้าที่มูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ ร้อยละ 28.22 รองลงมาคือยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งร้อยละ 5.95 และสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค ร้อยละ 2.85 และ 2.67 ตามลำดับ

แหล่งนำเข้า

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่นสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 50.18 เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการนำเข้าสินค้าจากแหล่งนำเข้าสำคัญส่วนใหญ่มีมูลค่าลดลง ยกเว้นการนำเข้าจากสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่นที่มีมูลค่าเพิ่มขึน้ ที่ระดับ ร้อยละ 7.56 และ 0.44 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าลดลงได้แก่ ประเทศ สหรัฐอเมริกามีมูลค่าลดลงร้อยละ 9.36 และกลุ่มประเทศอาเซียนมีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.03

การลงทุนจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทยการลงทุนสุทธิในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมมีมูลค่ารวม -31,384.1 ล้านบาท แสดงว่ามีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศมากกว่าเงินลงทุนที่เข้ามาจากต่างประเทศซึ่งการลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่า -31,178.1 ล้านบาทสำหรับเดือนสิงหาคมมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ -206.0 ล้านบาท เมื่อพิจารณาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้ง 2 เดือนแรกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 นั้นพบว่ามูลค่าการลงทุนในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 12,584.1 ล้านบาทและในเดือนสิงหาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 18,939.0 ล้านบาท โดยการลงทุนรวมในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 31,523.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 196.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 10,644.84 ล้านบาท เนื่องจากในเดือนสิงหาคมของปีก่อนมีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศมากกว่าเงินลงทุนที่เข้ามาจากต่างประเทศค่อนข้างสูง

ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 2559 การลงทุนในกิจกรรมการผลิตหรือสาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีมูลค่าการลงทุนสุทธิมากที่สุดเป็นเงินลงทุน 31,523.1 ล้านบาทโดยเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์มากที่สุดซึ่งมีมูลค่าลงทุนสุทธิ 20,498.5 ล้านบาท รองลงมาคือการผลิตเคมีภัณฑ์มีมูลค่าลงทุนสุทธิ 3,768.7 ล้านบาท การผลิตยานยนต์ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วงมีมูลค่าลงทุนสุทธิ 3,364.2 ล้านบาท และการผลิตยางและพลาสติกมีมูลค่าลงทุนสุทธิ 2,635.7 ล้านบาท สำหรับการลงทุนในกิจกรรมรองลงมาคือกิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 5,990.1 ล้านบาท

ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2559 คือประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีเงินลงทุนสุทธิ 34,613.0 ล้านบาทรองลงมาคือประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมนีโดยมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 10,253.9 ล้านบาทและ 8,983.0 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOl) พบว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOl มีจำนวนทั้งสิ้น 476 โครงการ ซึ่งลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนโครงการ 515 โครงการ โดยในไตรมาสที่ 3 นี้การลงทุนในกิจการต่างๆ มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 379,940 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการลงทุน 252,940 ล้านบาท โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนประกอบด้วยโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 176 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 38,320 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ จำนวน 120 โครงการ เป็นเงินลงทุน 236,810 ล้านบาท และโครงการที่ลงทุนจากไทย 100% จำนวน 180 โครงการ เป็นเงินลงทุน 104,800 ล้านบาท

การส่งเสริมการลงทุนที่มีเงินลงทุนมากที่สุด คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน เมื่อพิจารณาตามหมวดของการเข้ามาลงทุนพบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติ153,720 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดเคมีภัณฑ์ พลาสติกและกระดาษมีเงินลงทุน 112,300 ล้านบาท และหมวดเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตรมีเงินลงทุน 54,890 ล้านบาท

สำหรับแหล่งทุนในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 พบว่านักลงทุนจากประเทศหลักที่มีมูลค่าการลงทุนมากที่สุด คือประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 84 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 43,945 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้รับการอนุมัติลงทุนจำนวน 15 โครงการมีเงินลงทุน 17,143 ล้านบาท ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวน 8 โครงการที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีเงินลงทุน 16,507 ล้านบาท และประเทศจีนมีจำนวนโครงการได้รับอนุมัติ 34 โครงการ โดยคิดเป็นเงินลงทุน 15,471 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ