อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ปริมาณการผลิตชะลอตัวตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของตลาดส่งออกในประเทศแถบยุโรปอเมริกาเหนือ และอเมริกากลางและใต้ตามลำดับ อย่างไรก็ตามตลาดในประเทศขยายตัวเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศกำลังฟื้นตัว ประกอบกับค่ายรถยนต์มีจัดแคมเปญเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.)มีปริมาณการผลิตรถยนต์483,356คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 496,508 คัน ลดลงร้อยละ 2.65 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 218,890และ 10,371 คัน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.46 และ 9.87 ตามลำดับ แต่การผลิตรถปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 254,095 คัน ลดลงร้อยละ 14.11 สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 308,829คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.89ของปริมาณการผลิตทั้งหมดโดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 137,211คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.43และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 171,618คันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.57หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ0.65 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ5.79และ 18.87ตามลำดับแต่การผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ ลดลงร้อยละ 6.20
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 187,895คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 184,723คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.72โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 74,767คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 11,609คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.60 และ 11.40ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 76,907 คันและรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV)24,612คัน ลดลงร้อยละ2.83 และ 10.68 ตามลำดับหากพิจารณาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.44โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.01และ 11.29 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV(รวมรถยนต์ SUV) ลดลงร้อยละ 2.67และ 6.85ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.ก.ย.)มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 305,903คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 329,293คันลดลงร้อยละ7.10โดยมีมูลค่าการส่งออก 161,341.29ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 166,857.19 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.31หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.56แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 8.37
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า8,897.54 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.99ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดิอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.27, 14.21 และ 6.65 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.69, 42.82 และ 155.99 ตามลำดับ
มูลค่าการส่งออกรถแวนของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 10.04 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ95.47 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวน ได้แก่ ตรินิแดดและโตเบโก สิงคโปร์ และพม่า คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ31.76, 12.14 และ 12.10ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนไปตรินิแดดและโตเบโก และสิงคโปร์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 47.38และ 88.85ตามลำดับแต่การส่งออกรถแวนไปพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 245.51
มูลค่าการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.ก.ย.) มีมูลค่า 4,878.81ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 25.66ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 36.47, 6.67และ 6.18 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 9.82 และ 13.32 ตามลำดับแต่การส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกไปซาอุดิอาระเบียมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.93
การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.)มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 250.89และ78.41ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.30และ 18.70ตามลำดับหากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2559เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและ รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 12.71 และ 11.37 ตามลำดับ
มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า718.30 และ 407.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.97 และ 34.45แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) ได้แก่เยอรมนีญี่ปุ่น และ มาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 31.61, 23.08และ 17.17 ตามลำดับโดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.22 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งไปญี่ปุ่นและมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 18.23 และ 2.38ตามลำดับส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญได้แก่สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 33.78, 20.34 และ 12.73 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากสิงคโปร์และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 361.58 และ 19.29 ตามลำดับแต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินโดนีเซียลดลงร้อยละ 16.77
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีปริมาณการผลิตชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการชะลอตัวของตลาดส่งออก อย่างไรก็ตามตลาดในประเทศขยายตัว เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศกำลังฟื้นตัว ประกอบกับค่ายรถยนต์มีจัดแคมเปญเพื่อเป็น การกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง
สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่4ของปี 2559 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาสำหรับประมาณการของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2559 จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1,950,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ1.97 โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 750,000 คัน ลดลงร้อยละ 6.21และเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,200,000 คัน ลดลงร้อยละ 0.41
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 462,865คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 405,394คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.18โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 359,323คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 103,542คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.67และ 38.53 ตามลำดับหากพิจารณาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมามีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.89โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.04 และ 2.10 ตามลำดับ
การจำหน่ายตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 (ก.ค.ก.ย.) มีจำนวน 440,080 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 373,531 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.82 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เปรียบเทียบกับไตรมาส ที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 3.42
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.)จำนวน 194,435 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 60,072 คัน และ CKD จำนวน 134,363 ชุด)เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 196,757คัน ลดลงร้อยละ 1.18หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 8,500.41ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า9,075.96ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.34 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณ การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 8.42หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 18.82
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 774.78ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 11.17 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.95,16.93และ8.19ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ มูลค่าลดลงร้อยละ 7.52 และ 27.79 ตามลำดับแต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักรมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.41
การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2559 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 48.59ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 10.40หากพิจารณาจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.22
มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 132.25ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 15.02เมื่อพิจารณาแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559ได้แก่อินโดนีเซีย เวียดนามและญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 38.46, 24.98และ 17.41 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากอินโดนีเซียและเวียดนาม ลดลงร้อยละ 12.20 และ 40.86 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.06
รถจักรยานยนต์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559การผลิตรถจักรยานยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดในประเทศอย่างไรก็ดี ตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียและจีน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่4ของปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยการคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการว่า ในไตรมาสที่ 4ปี 2559จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 450,000 คันแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 80-85และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า 46,940.46ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 6.67ส่วนการส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 10,415.41ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.38และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 7,802.96ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.46หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.77 แต่มูลค่าการส่งออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ลดลงร้อยละ16.53และ 0.92 ตามลำดับ
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 6,134.62ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ0.06 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.02,10.12และ 8.53ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 3.18, 11.59และ 15.62ตามลำดับ
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า843.99ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.11การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 377.87 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.20หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2559 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.74และ 35.00ตามลำดับ
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 450.04ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ0.31ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่กัมพูชา อินโดนีเซียและเวียดนามคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ24.54, 9.60 และ 8.52 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา อินโดนีเซียและเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ24.75, 1.78 และ 4.46 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า 2,937.46 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.54หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.41
มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 7,785.56 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.59แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 35.34, 24.53 และ 6.48ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.32, 17.98 และ 21.83 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559(ก.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า131.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.08หากพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ3.41
มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559(ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 409.15ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ1.94 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2559 (ม.ค.-ก.ย.) ได้แก่ญี่ปุ่นจีน และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ22.16, 21.53 และ 9.95 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 7.26 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากจีน และไต้หวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.16 และ 13.38 ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)เสนอ ดังนี้
1. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงคมนาคม (คค.)กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ดำเนินการเพื่อให้มาตรการสนับสนุนการผลิตยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยเกิดผลเป็นรูปธรรมเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยซึ่งเน้นการเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์อย่างยั่งยืน
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. คค. วท. และ อก. ดำเนินการเพื่อให้สามารถนำรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้จริงภายในเดือนพฤศจิกายน 2559 (รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.thaigov.go.th)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--