สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2559 (กรกฎาคม – กันยายน 2559)(อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 26, 2016 09:54 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาส 3 ของปี 2559มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ โดยเฉพาะจีน และประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากการใช้จ่ายของภาครัฐการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนและรายได้เกษตรกรที่ทยอยปรับดีขึ้นหลังผลของภัยแล้งคลี่คลายสำหรับไตรมาส 4 ของปี 2559 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์คาดว่าจะมีแนวโน้มการใช้เคมีภัณฑ์ภายในประเทศน่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของปริมาณการใช้ภายในประเทศ

การตลาด

การส่งออก

การส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาส 3 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,689.960 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 2.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2558 และเมื่อเทียบกับไตรมาส 2ของปี 2559ลดลงร้อยละ 0.44

1. เคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าส่งออก 799.537 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 9.62เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 8.83 ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 ได้แก่เคมีภัณฑ์อินทรีย์และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด

1.1 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่าส่งออก 456.524 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 15.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 17.62 โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และอินโดนีเชีย คิดเป็นร้อยละ 14.6211.26 และ 9.66ตามลำดับ

1.2เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มีมูลค่าส่งออก 206.781 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนแต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.55 โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอินเดีย คิดเป็นร้อยละ 13.8711.68 และ 10.89ตามลำดับ

2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าส่งออก 890.424 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.88 ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 ได้แก่เครื่องสำอางสารลดแรงตึงผิวและ สี ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ปุ๋ยมีการส่งออกในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 12.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

2.1 เครื่องสำอางมีมูลค่าส่งออก 499.917 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.73 โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเชีย คิดเป็นร้อยละ 22.33 11.04 และ 6.94 ตามลำดับ

2.2 สารลดแรงตึงผิวมีมูลค่าส่งออก 176.839 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 1.41 โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสาธารณรัฐประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ คิดเป็นร้อยละ 10.18 9.27 และ 8.78 ตามลำดับ

2.3 สี มีมูลค่าส่งออก 165.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ1.46 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.84โดยตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีนประเทศบังคลาเทศและประเทศอินโดนีเชีย คิดเป็นร้อยละ11.5311.21 และ 9.93 ตามลำดับ

การนำเข้า

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 3,484.030 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2558 และเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2559เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.49 เนื่องจากภาพรวมภาคเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน

1. เคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 2,030.010 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.82เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05โดยภาพรวมเคมีภัณฑ์พื้นฐานทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

1.1 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า 444.934 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.65 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสหพันธรัฐมาเลเซียคิดเป็นร้อยละ 42.45 11.86 และ 7.08 ตามลำดับ

1.2 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มีมูลค่านำเข้า 791.276 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.08 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 26.96 16.32 และ 12.62 ตามลำดับ

1.3 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า 793.801 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.91 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 26.9616.32 และ 12.62 ตามลำดับ

2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่านำเข้า 1,454.020 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58 โดยผลิตภัณฑ์สำคัญที่ทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ได้แก่ ปุ๋ยเคมีสารลดแรงตึงผิว และสี

2.1 ปุ๋ยเคมี มีมูลค่านำเข้า 482.836 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 7.44 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีนราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย และ สหพันธรัฐรัสเซียคิดเป็นร้อยละ 18.7115.67และ 11.61ตามลำดับ

2.2 สารลดแรงตึงผิว มีมูลค่านำเข้า 186.723 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.38 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน คิดเป็นร้อยละ 20.57 14.39 และ 12.01 ตามลำดับ

2.3 สี มีมูลค่านำเข้า 368.502 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.53 โดยตลาดนำเข้าสำคัญในไตรมาสนี้ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย คิดเป็นร้อยละ 21.5819.65 และ 7.60 ตามลำดับ

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและแนวโน้ม

การส่งออกเคมีภัณฑ์ไตรมาส 3 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,689.960 ล้านเหรียญสหรัฐฯผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ คิดเป็นประมาณร้อยละ 29.58และ 27.01 ตามลำดับ

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ไตรมาส 3 ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 3,484.030 ล้านเหรียญสหรัฐฯผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ปุ๋ยเคมี และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ คิดเป็นประมาณร้อยละ 22.7822.7113.85 และ 12.77 ตามลำดับ

แนวโน้มไตรมาส 4 ของปี 2559 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 1,848.650 ล้านเหรียญสหรัฐฯและคาดว่าจะมีมูลค่าการนำเข้า 3,285.940ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคาดว่าสถานการณ์ของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์การใช้เคมีภัณฑ์ภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของปริมาณการใช้ภายในประเทศ

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ