เศรษฐกิจโลก(1)
เศรษฐกิจโลกในปี 2559 IMF คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.1 ภาพรวมเศรษฐกิจของโลกยังคงขยายตัว แม้ว่าเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศจะชะลอตัวจากปี 2558 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัว โดยปัญหาการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจสหภาพยุโรปขยายตัวแต่ยังคงมีปัญหาอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ยังคงมีความกังวลในเรื่อง Brexit ที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจสหภาพยุโรป เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวเล็กน้อย สำหรับเศรษฐกิจประเทศจีนยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง
สถานการณ์การเงินโลกธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ และยังคงใช้มาตรการแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกในปี 2559 ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อันเป็นผลมาจากกลุ่มประเทศโอเปกตัดสินใจคงกำลังการผลิต และยังมีผู้ผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale oil) ในสหรัฐฯ และแคนาดา จึงส่งผลให้อุปทานน้ำมันโลกยังคงล้นตลาด โดยราคาน้ำมันดิบ (Dubai) เฉลี่ย 10 เดือน อยู่ที่ 39.9 USD:Barrel โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมกราคม (ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2559) มีราคาอยู่ที่ 50.3 USD:Barrel สำหรับราคาน้ำมันโลกปี 2560 คาดว่าราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มโอเปกบรรลุข้อตกลงการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2560 ทั้งนี้ข้อตกลงของกลุ่มโอเปกอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นมาในระยะสั้นเท่านั้น เพราะหากราคาน้ำมันสูงกว่าระดับ 55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จะส่งผลให้น้ำมันจากชั้นหินดินดานในสหรัฐฯ มีการผลิตเพิ่มขึ้น
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.6 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2558 และแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.2
หมายเหตุ
(1)- ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2559 - ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th/www.quandl.com
(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 2.8 อันเป็นผลมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานลดลง การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเที่ยบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 การลงทุนภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาหดตัวร้อยละ 2.2 ลดลงเมื่อเที่ยบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ระดับ 98.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 98.1
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559อยู่ที่ระดับ 103.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.2
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 หดตัวร้อยละ 4.7 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 6.7 การนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 หดตัวร้อยละ 3.9 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 4.2
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.0 อัตราการว่างงานในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.3
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.25 ทั้งนี้มีแนวโน้มว่า Fed อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนธันวาคม
เศรษฐกิจจีน ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.6 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2558 และแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.2
ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 6.6 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 มูลค่าการค้าปลีกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 10.3 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ระดับ 103.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 106.4
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน
หมายเหตุ
(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 หดตัวร้อยละ 6.9 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.2 การนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 หดตัวร้อยละ 7.4 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 15.6
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.4 อัตราการว่างงานใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 4.35 ธนาคารกลางจีนยังคงดำเนินนโยบายซื้อขายหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของทางการ (open market operation) ที่หลากหลาย เพื่อควบคุมสภาพคล่องในตลาด
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 0.5 ขยายตัวเท่ากับปี 2558 และแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 0.6
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 0.5 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.5 การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 0.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 1.2 การลงทุนในภาคก่อสร้างในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 4.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 4.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 41.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.8
หมายเหตุ
(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 - www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ระดับ 96.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.1
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 หดตัวร้อยละ 9.3 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 การนำเข้าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 หดตัวร้อยละ 17.8 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 7.6
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ -0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.9 อันเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ -0.1 นอกจากนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีการปรับเป้าหมายด้านนโยบายโดยการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยกำหนดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 0 แทนการซื้อสินทรัพย์จำนวนมาก เพื่อยกระดับนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างยั่งยืน
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2558 และแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.5
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในปี 2559 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหภาพยุโรปขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปฟื้นตัวดีขึ้นเล็กน้อยแต่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 2.0 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.7
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 108.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 106.3
หมายเหตุ
(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 - ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 หดตัวร้อยละ 4.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 6.1 การนำเข้าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 หดตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.3
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.0 อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 8.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 และธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มที่จะขยายระยะเวลาการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคมปี 2560
เศรษฐกิจเอเชียในปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.4 เป็นการขยายตัวในระดับเดียวกันกับปี 2558 เศรษฐกิจเอเชียขยายตัวได้ค่อนข้างต่ำในช่วงครึ่งปีแรก 2559 แต่มีแนวโน้มค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของรัฐบาลในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามหลายประเทศยังต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ทั้งนี้ IMF คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2560 ของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 5.3 และมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 2.9
เศรษฐกิจฮ่องกงในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.4 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.9
หมายเหตุ
(6) - ที่มา www.imf.org 7 - ที่มา www.censtatd.gov.hk www.hkeconomy.gov.hk www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงในปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2559 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.6 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากการบริโภคภาครัฐและภาคเอกชนที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง รวมถึงภาคการลงทุนรวมที่หดตัวลงร้อยละ 3.0 ขณะที่การส่งออกที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 0.2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.2
การผลิตภาคอุตสาหกรรม(8)ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ระดับ 89.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.1 จากการผลิตสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม การผลิตกระดาษและสิ่งพิมพ์ และการผลิตเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบที่หดตัวลง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 92.9
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 มีมูลค่า 419,664 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยการส่งออกไปตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นร้อยละ 55.1 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) หดตัวร้อยละ 1.5 ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันขอปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 4.5 ด้านการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 มีมูลค่า 441,254 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 6.4 ภาพรวมการค้าฮ่องกง 10 เดือนแรกปี 2559 ฮ่องกงขาดดุลการค้า 22,094 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หมายเหตุ
- ข้อมูลล่าสุดของการผลิตภาคอุตสาหกรรมฮ่องกง เป็นข้อมูล 6 เดือน ปี 82559
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1 จากราคาอาหาร เครื่องนุงห่ม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และสาธารณูปโภคที่ปรับตัวลดลง ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.5
แนวโน้มภาพรวมปี 2560 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจฮ่องกงจะขยายตัวร้อยละ 1.9 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2559 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 1.9
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.7 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.6 โดยแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 3.0
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวรอยละ 2.7 ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2559 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.5 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงการลงทุนรวมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
หมายเหตุ
(9) - ที่มา ecos.bok.or.kr www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ระดับ 107.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 107.2 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 106.4
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 มีมูลค่า 405,076 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 7.7 จากการส่งออกไปตลาดสำคัญอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นร้อยละ 24.9 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) หดตัวร้อยละ 12.0 ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.9 ด้านการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 มีมูลค่า 330,359 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.0 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 16.6 ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้ 10 เดือนแรกปี 2559 เกาหลีใต้เกินดุลการค้า 74,717 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องนุ่งห่ม รวมถึงค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.25 (เกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.25 เป็นเดือนที่ห้าติดต่อกัน หลังจากได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559) จากแนวโน้มความไม่แน่นอนของปัจจัยทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ของสหรัฐ และผลกระทบจากการที่อังกฤษแยกตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) ทำให้ธนาคารกลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ไม่มาก
แนวโน้มภาพรวมปี 2560 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 3.0 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2559 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 1.9
เศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.0 โดยแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.2
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 2559IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2559 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง รวมถึงการลงทุนรวมที่หดตัวลงร้อยละ 1.6 ตามการลงทุนในหมวดการก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักที่หดตัวลงร้อยละ 1.8 และ 1.0 ตามลำดับ ขณะที่การบริโภคภาครัฐขยายตัว 6.7 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.6
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ระดับ 101.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.2 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 101.3
หมายเหตุ
(10) - ที่มา www.singstat.gov.sg www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกปี 2559 มีมูลค่า 244,461 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.0 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 15.7 การส่งออกไปตลาดหลักหดตัวในหลายตลาด อาทิ จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.3 8.9 12.9 และ 2.1 ตามลำดับด้านการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกปี 2559 มีมูลค่า 208,818 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 19.5 ภาพรวมการค้าสิงคโปร์ 10 เดือนแรกปี 2559 สิงคโปร์เกินดุลการค้า 35,643 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 ติดลบร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ติดลบร้อยละ 0.5 จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ค่าขนส่ง และค่าสาธารณูปโภคที่ลดลง อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มภาพรวมปี 2560 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2.2 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2559 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 1.1
เศรษฐกิจของอินโดนีเซียในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.9 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 5.3
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในปี 2559 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2559 เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.7 เศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคภายในประเทศทั้งจากการบริโภคภาคเอกชน และการบริโภคภาครัฐ รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการส่งออกหดตัว
หมายเหตุ
(11) - ที่มา www.bi.go.id www.ceicdata.com
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกปี 2559 อยู่ที่ระดับ 130.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 124.9 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 1032.9
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 มีมูลค่า 117,094 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.0 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 14.0 ด้านการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกปี 2559 มีมูลค่า 110,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งหดตัวร้อยละ 20.4 ภาพรวมการค้าอินโดนีเซีย 10 เดือนแรกปี 2559 อินโดนีเซียเกินดุลการค้า 6,928 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 4.75 (ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้เริ่มใช้การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายใหม่ หรือ 7-day (Reverse) Repo Rate อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายแรกเริ่มอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ก่อนที่ที่ประชุมธนาคารกลางอินโดนีเซียประจำเดือนกันยายน 2559 จะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 5.00 และลดลงเหลือร้อยละ 4.75 ในเดือนตุลาคม 2559) อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาแล้วทั้งหมด 6 ครั้งในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอ และราคาสินค้าที่ตกต่ำ
แนวโน้มภาพรวมปี 2560 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะขยายตัวร้อยละ 5.3 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2559 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 4.2
เศรษฐกิจมาเลเซียในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.3ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยแนวโน้มปี 2560 จะขยายตัวร้อยละ 4.6
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.3 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2559 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 4.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากการใช้จ่ายของภาครัฐ และการบริโภคของภาคเอกชนเป็นสำคัญ และแนวโน้มปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 4.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่ระดับ 124.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 120.0 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 125.9
หมายเหตุ
(12) - ที่มา www.imf.org www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2559 มีมูลค่า 122,809 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 13.8 ด้านการนำเข้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2559 มีมูลค่า 109,973 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 14.4 ภาพรวมการค้ามาเลเซียในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2559 มาเลเซียเกินดุลการค้า 12,836 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.4 โดยอัตราเงินเฟ้อใน 10 เดือนแรกนี้มาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ ค่าเครื่องแต่งกาย ค่าไฟฟ้าและเครื่องอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางลดลง
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2559 ธนาคารกลางมาเลเซียมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.00 โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นการปรับลดเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ตั้งแต่ปี 2552 ของธนาคารกลางมาเลเซีย เนื่องจากธนาคารกลางกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ปัญหาการส่งออกที่ซบเซา ผลกระทบจากการที่อังกฤษแยกตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit)
แนวโน้มภาพรวมปี 2560 ในปี 2560 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.6 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในปี 255 9 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.4ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.7
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.4 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2559 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 6.7 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.4 จากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาลและการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.7
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่ระดับ 169.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 177.5 โดยดัชนีผลผลิตฯ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 190.0
หมายเหตุ
(13) - ที่มา http://www.bsp.gov.ph/ www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2559 มีมูลค่า 36,480 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.3 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 3.4 ด้านการนำเข้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2559 มีมูลค่า 52,404 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ภาพรวมการค้าฟิลิปปินส์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2559 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 15,924 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.3 โดยอัตราเงินเฟ้อใน 10 เดือนแรกนี้มาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องนุ่งห่ม ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน และค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของค่าไฟฟ้าลดลง
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 4.0 โดยขณะนี้ธนาคารกลางฯ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.0 มาตั้งแต่ ต.ค. 2557
แนวโน้มภาพรวมปี 2560 ในปี 2560 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.7 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.4
เศรษฐกิจอินเดียในปี 255 9 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.6ขยายตัวเท่ากับปี 2558 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.6
หมายเหตุ
(14) - ที่มา www.mospi.gov.in www.ceicdata.com www.gtis.com/gta www.imf.org และ www.bbc.com/news/business-37549158
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดียในปี 2559 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.6 ขยายตัว เท่ากับปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2559 เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวร้อยละ 7.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนและการใช้จ่ายของรัฐบาล และแนวโน้มปี 2560 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 7.6
การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่ระดับ 182.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 182.2 โดยดัชนีผลผลิตตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 179.5
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 มีมูลค่า 197,156.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 มีมูลค่า 258,663.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.4 ภาพรวมการค้าของอินเดียในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 อินเดียขาดดุลการค้า 61,507.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากราคาอาหาร ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 6.5 เมื่อเดือนตุลาคม 2559 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.25 ถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นรอบที่ 2 ในปีนี้(อินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกของปี 2559 เมื่อเดือนเมษายน 2559 จากร้อยละ 6.75 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.50) และเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งเป็นผลจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของอินเดีย
แนวโน้มภาพรวมปี 2560 ในปี 2560 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP อินเดียจะขยายตัวร้อยละ 7.6 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ภายใต้ปัจจัยบวก ได้แก่ การฟื้นตัวทางการค้า นโยบายการปรับโครงสร้าง โดยเฉพาะด้านภาษี และการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ รวมถึงการปรับปรุงบริการของรัฐเพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนในประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--