อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2559 มีการปรับตัวลดลงของการส่งออกและการนำเข้าร้อยละ 2.82 และ 4.10 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในปี 2559 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.88 เมื่อเทียบกับปี 2558 เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังคงฟื้นตัวในอัตราขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ ทั้งในตลาดญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนยังคงอยู่ในช่วงชะลอตัว ประกอบกับนโยบายเศรษฐกิจของจีนที่เน้นการพึ่งพาสินค้าในประเทศและลดการนำเข้าลง
การส่งออกเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2559มีมูลค่ารวม 5,602.237 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 2.82 เมื่อเทียบกับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2558
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าส่งออก 2,854.586 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 5.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงในช่วง 10 เดือนของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์
1.1 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่าส่งออก 1,700.521 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 17.28 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินเดีย และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 31.499.93 และ 8.74 ตามลำดับ
1.2 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ มีมูลค่าส่งออก 459.754ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 2.02 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 14.8611.17 และ 9.73 ตามลำดับ
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าส่งออก 2,747.650 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์สำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วง 10 เดือนของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ปุ๋ยเคมี และสี
2.1 ปุ๋ยเคมี มีมูลค่าส่งออก 146.643 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.52 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และราชอาณาจักรกัมพูชา คิดเป็นร้อยละ 31.4230.53 และ 23.33 ตามลำดับ
2.2 สี มีมูลค่าส่งออก 533.944 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ และสาธารณรัฐอินโดนีเซียคิดเป็นร้อยละ 11.6111.03 และ 9.98 ตามลำดับ
การนำเข้าเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 10,832.480ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 4.10เมื่อเทียบกับในช่วง10 เดือนแรกของปี 2558
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 6,382.296ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 5.06เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้การนำเข้าลดลงในปีนี้ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์
1.1 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า2,558.849ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 10.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนญี่ปุ่น และสาธารณรัฐสิงคโปร์ คิดเป็นร้อยละ 24.11 10.32 และ 9.96 ตามลำดับ
1.2 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ มีมูลค่านำเข้า 1,344.449ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 6.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสหพันธรัฐมาเลเซีย คิดเป็นร้อยละ 42.0612.06 และ 6.85 ตามลำดับ
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่านำเข้า 4,450.180 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้การนำเข้าลดลงได้แก่ ปุ๋ยเคมี และสี
2.1 ปุ๋ยเคมี มีมูลค่านำเข้า 1,314.959 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดนำเข้าสำคัญในปีนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักรซาอุดิอะราเบีย สหพันธรัฐรัสเซีย คิดเป็นร้อยละ 19.11 15.01 และ 12.00 ตามลำดับ
2.2 สี มีมูลค่านำเข้า1,187.125 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 0.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยตลาดนำเข้าสำคัญในปีนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่นสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐอินเดียคิดเป็นร้อยละ 22.07 19.37 และ 7.46 ตามลำดับ
การส่งออกเคมีภัณฑ์ในช่วง10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 5,602.237 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นมูลค่าที่ลดลง 162.35 ล้านเหรียญสหรัฐผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เครื่องสำอาง และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด คิดเป็นประมาณร้อยละ 30.5026.71และ 12.39 ตามลำดับส่วนการนำเข้าเคมีภัณฑ์ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2559 มีมูลค่ารวม 10,832.450 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นมูลค่าที่ลดลง 462.583ล้านเหรียญสหรัฐผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดคิดเป็นประมาณร้อยละ 23.62 และ 22.88 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในปี 2559 สถานการณ์โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะยังคงปรับตัวลดลง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าประมาณ 6,814.347 และ 13,288.652 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เนื่องจากการปรับตัวลดลงของมูลค่าสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น รวมทั้งนโยบายเศรษฐกิจเน้นการพึ่งพาสินค้าในประเทศและลดการนำเข้าของประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย
การส่งออกเคมีภัณฑ์ปี 2560 คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 6,950 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้าเคมีภัณฑ์ปี 2560 คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 13,659 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ หลายโครงการเริ่มก่อสร้างในปี 2560 อาทิ Motorway รถไฟฟ้าในเขตเมือง รถไฟฟ้ารางคู่ เป็นต้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนตาม ซึ่งน่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้การบริโภคเคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายในประเทศเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ แนวโน้มราคาสถานการณ์น้ำมันจะเริ่มคลี่คลายลงมากขึ้นหลังจากการผลิต Shale Oil ในสหรัฐฯ ชะลอลง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันในระยะถัดไปเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์และยางพารา ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันกว่า 13% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--